เผยผลงาน 6 ปี TCELS สามารถจดสิทธิบัตรเป็นสมบัติของชาติได้แล้ว 12 ฉบับ

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย

เผยผลงาน 6 ปี TCELS สามารถจดสิทธิบัตรเป็นสมบัติของชาติได้แล้ว 12 ฉบับ จากครีมหน้าขาวจากยางพาราของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และการค้นพบยีนแพ้ยาต้านไวรัสเอดส์ จากรามาธิบดี ตลอดระยะเวลา 6 ปี เต็มที่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) เกิดขึ้น หลายโครงการ หลายกิจกรรม และหลายนวัตกรรมที่ออกสู่สายตาประชาชนนั้น หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า เป็นผลงานองค์กรมหาชนแห่งนี้เป็นผู้ผลักดันให้เกิดขึ้น นายสุริยัน ปานเพ็ง รักษาการผู้อำนวยการ TCELS เปิดเผยว่า ตนเป็นคนหนึ่งที่เข้ามาทำงาน TCELS เป็นคนแรก ๆ ถือเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ใหม่ ที่ไม่มีสถาบันที่ไหนสอน ตั้งแต่เรื่องการผลิตสัตว์ทดลองให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ การหางานวิจัยใหม่เพื่อต่อยอดการลงทุน โครงใหม่เอี่ยมสำหรับเมืองไทยเช่นโครงการ Climatotherapy คือการรักษาโรคสะเก็ดเงินแนวใหม่ การค้นหายีนแพ้ยา ลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนส่วนไม่คุ้นเคย แต่ก็ได้ผลักดันจนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่หลายโครงการ ในช่วง 6 ปี ของการบริหารงานใน TCELS นายสุริยัน กล่าวว่า ทุก ๆ โครงการในหน่วยงานที่ TCELS เข้าไปร่วมมือนั้น ประสบผลสำเร็จในการต่อยอดและของบประมาณไปยังสำนักงบประมาณ รวมทั้งได้ประสานงานกับต่างประเทศเพื่อผสมผสานเทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้เราสามารถจดสิทธิบัตรแล้วถึง 12 สิทธิบัตร ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของประเทศไทย ไม่เฉพาะ TCELS เท่านั้น 6 ปี TCELS มีผลงานอะไรออกมาบ้าง รักษาการผอ.TCELS แจงให้ฟังว่า โครงการต่อยอดองค์ความรู้ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนได้แก่ 1. โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ประสบความสำเร็จในการค้นพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยาเนวิราปิน เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งได้มีการขอจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่นรวม 2 ฉบับ และในส่วนของยีนแพ้ยาเนวิราปินนั้นได้พัฒนาต่อยอดเป็นชุดตรวจที่สามารถตรวจได้รวดเร็วและราคาถูก สามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายของคนไข้กลุ่มโรคเอดส์ที่เกิดจากการแพ้ยาเนวิราปินไม่ต่อกว่า 80 ล้านต่อปี และผู้ป่วยเองก็ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานและเสี่ยงจากการแพ้ยาอีกต่อไป และขณะนี้ได้มีการค้นพบยีนแพ้ยาต้านไวรัสสตาวูดีน อีก 1 ตัว เป็นครั้งแรกของโลกอีกเช่นกัน และได้จดสิทธิบัตรทั้งในไทยและญี่ปุ่นอีก 2 ฉบับ เช่นกัน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของประเทศไทย ซึ่งการค้นพบดังกล่าว ถือเป็นต้นแบบที่เราสามารถนำองค์ความรู้นั้นไปค้นยายีนแพ้ยาในโรคอื่น ๆ ต่อไปได้ รักษาการ ผอ.TCELS กล่าวว่า อีกหนึ่งโครงการแห่งความภูมิใจคือ โครงการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา ซึ่งเป็นสุดยอดนวัตกรรมที่ TCELS ได้ให้การสนับสนุนต่อยอดงานวิจัยการผลิตสารสกัดและพัฒนาเป็นครีมหน้าขาวจากสารสกัดน้ำยางพารา ซึ่งได้มีการจดสิทธิบัตร จดแจ้งผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งนอกเหนือจากสรรพคุณทำให้หน้าขาวได้แล้ว ยังสามารถต่อยอดเป็นสารสกัดเป็นเวชสำอางบำรุงผิวให้ตึงกระชับ และปรับผิวเป็นสีแทน พร้อมทั้งสามารถสกัดเป็นสารตั้งต้นสำหรับยารักษามะเร็งได้ในอนาคตอีกด้วย ในส่วนของโครงการนี้เราสามารถจดสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศได้ถึง 8 ฉบับ นอกจากนี้ TCELS ยังร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการยกระดับมาตรฐานสปาไทย เพื่อรองรับเพื่อรองรับการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพของเอเชีย ล่าสุดได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลหัวหิน พัฒนารูปแบบในการรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยวิธี Climatotherapy ซึ่งเป็นการนำรูปแบบด้านการบริการ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งศักยภาพด้านทรัพยากรมนุษย์ พร้อมทั้งใช้องค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ซึ่งปัจจุบันวิธีการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายสำหรับทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ขณะเดียวกัน TCELS ยังมีโครงการที่จะสร้างสังคมไทยให้เป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุของเอเชียอีกด้วย นายสุริยัน กล่าวว่า แนวโน้มของการวิจัยทางคลินิกของไทยกำลังไปได้ด้วยดี ซึ่ง TCELS ก็ตระหนักดีว่า การผลักดันนักวิจัยที่อยู่ในโรงพยาบาลเพื่อการทดสอบการใช้ยากับคนไข้ หรือการปฏิบัติงานการผลิตยา เป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุนเพื่อความเป็นนานาชาติต่อไป นอกจากนี้ TCELS ยังผลักดันให้ให้เกิดการผลิตสัตว์ทดลองที่ได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้เราไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ ประหยัดงบประมาณปีละหลายล้านบาท TCELS ยังมีอีกหลายโครงการที่กำลังขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี เช่นการเตรียมสร้างโรงงานต้นแบบกึ่งอุตสาหกรรมผลิตวัคซีนไข้เลือดออก การผลิตชุดทดสอบการแพ้ยา ซึ่งหลาย ๆ โครงการ TCELS ได้นำเสนอผ่านงานสัมมนาระดับโลกอย่าง Bio International ซึ่งเป็นนิทรรศการรวมนวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและจัดขึ้นทุกปีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา งาน Bio Korea ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในเอเชีย ซึ่งในทุกเวทีที่นำเสนอ ประเทศไทยจะได้รับการตอบรับอย่างดี สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...

16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว... TCELS พาผู้ประกอบการไทยบุกตลาดโลก ในงาน Cosmetic 360 ปารีส — 16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นำโดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจ...

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์... TCELS จัดอบรมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา TRIUP Act และ FTO — ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) จัดอบรมหลักสูตร "ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ...