ซีไอเอ็มบี ไทย ตั้งเป้าปี 53 เป็นปีแห่งการเตรียมความพร้อมเพื่อเดินหน้ามุ่งสู่การเป็นธนาคารครบวงจรระดับภูมิภาค

กรุงเทพฯ--8 ก.พ.--ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

ซีไอเอ็มบี ไทย ตั้งเป้าปี 53 เป็นปีแห่งการเตรียมความพร้อมเพื่อเดินหน้ามุ่งสู่การเป็นธนาคารครบวงจรระดับภูมิภาค วาง 3 กลยุทธ์หลักในการเพิ่มรายได้และเสริมสร้างศักยภาพให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เร่งวางรากฐานเพื่อดำเนินธุรกิจเชิงรุกอย่างเต็มที่ เตรียมออกผลิตภัณฑ์ ตลอดปี 2553 พร้อมทั้งเน้น3 กลยุทธ์หลัก เพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียม และรายได้จากดอกเบี้ยสินเชื่อ ควบคู่กับการบริหารจัดการต้นทุน นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) นำทีมผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแถลงถึงทิศทางและแผนธุรกิจของธนาคารในปี 2553 ว่าหลังจากที่เมื่อปี 2552 ธนาคารได้พัฒนากระบวนการและระบบงานภายใน ตลอดจนจัดการปัญหาหลักๆ อันได้แก่ การแก้ไขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ( NPL) การปรับโครงสร้างเงินฝากให้มีสัดส่วนเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ (CASA) อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึงการเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียม โดยเฉพาะในด้านบริหารเงินและด้านวาณิชธนกิจซึ่ง ธนาคารได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าสถาบันหลายรายในการทำธุรกรรม อีกทั้งยังเป็นปีแรกที่ธนาคารสามารถพลิกมีกำไรสุทธิหลังจากที่ขาดทุนต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปี สำหรับแผนธุรกิจหลักในปี 2553 นี้ธนาคารจะยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้โดยผ่านการบริหารจัดการใน 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ การจัดการต้นทุนเงินฝาก โดยจะมุ่งเพิ่มสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวันอย่างต่อเนื่อง จากต้นปี 52 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 15-16% และได้ปรับมาเป็น 25% ในปลายปี 52 ซึ่งในปี 53 นี้ ตั้งเป้าหมายที่จะปรับขึ้นมาเป็นประมาณ 30% โดยธนาคารจะเร่งขยายบริการด้าน Cash Management l การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์โดยผสมผสานเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวันในการให้บริการด้าน Wealth Management การออกตั๋ว BE และขยายฐาน Structured Deposit ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาดเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา ประการที่ 2 คือการเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยสินเชื่อ ซึ่งจะมุ่งขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ กล่าวคือด้านรายย่อย รุกขยายเน้นสร้างฐานสินเชื่อเคหะ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและสามารถต่อยอดในการทำธุรกิจ เช่น Cross-Sale ได้ ควบคู่ไปกับการขยายสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loan) ต่างๆ ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารมีแผนจะออกบริการใหม่ๆ เพื่อรองรับการขยายฐานลูกค้าในกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมที่มีวงเงินต่ำกว่า 20 ล้านบาทเพิ่มมากขึ้น และในส่วนของสายบรรษัทธุรกิจ (Corporate) ซึ่งเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมากนั้น จะเน้นที่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับลูกค้าองค์กรระดับกลาง รวมถึงลูกค้ากลุ่มที่เน้นด้านอนุรักษ์พลังงาน และผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่มีอนุพันธ์แฝง ซึ่งเป็นจุดเด่นของกลุ่มซีไอเอ็มบีอีกด้วย ประการที่ 3 การเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียม ประกอบด้วย ธุรกรรมด้าน Transaction Banking, บริการด้านรายย่อย เช่น Structured notes, กองทุน, ธุรกิจประกัน ( Bancassurance ) บัตรเครดิต และบริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ขณะที่ด้านเอสเอ็มอี จะเน้นกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมการส่งออก และ Cash Management ตลอดจนการนำเสนอผลิตภัณฑ์แบบเกี่ยวเนื่องกัน ( Cross Product ) ส่วนลูกค้าองค์กร ( Corporate ) จะเน้นธุรกิจส่งออกและอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ รวมถึงการหารายได้จากธุรกรรมบริหารเงิน (Treasury) พร้อมทั้งการปล่อยกู้ในโครงการที่เป็น Project Financing ที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านสาธารณูปโภคของรัฐบาล การเพิ่มธุรกิจด้านวาณิชธนกิจ และการออกพันธบัตรอิสลาม ( Sukuk Bond ) ซึ่งถือเป็นธุรกรรมใหม่สำหรับประเทศไทย “ ธนาคารได้วางเป้าการเติบโตของสินเชื่อรวมในปี 53 นี้ไว้ประมาณ 10-15% ขณะที่ตั้งเป้าอัตราการเติบโตด้านเงินฝากประมาณ 10-15% เช่นกัน ส่วนอัตราการขยายตัวของรายได้จากค่าธรรมเนียมใหม่อยู่ประมาณ 35-40% “ นายสุภัค กล่าว นายสุภัค ยังกล่าวว่า ในปี 2553 นี้ ถือได้ว่าเป็นปีแห่งการวางรากฐานของธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกธุรกิจอย่างเต็มที่ ซึ่งนอกจากแผนงานด้านธุรกิจต่างๆแล้ว ธนาคารยังต้องเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น กระบวนการบริหารความเสี่ยง การพัฒนาด้าน IT, การผนึกกำลังร่วมกับบริษัทในเครือ และการสร้างความเป็นปึกแผ่นในเชิงธุรกิจของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบีในประเทศไทย นอกจากนี้ธนาคารจะพยายามใช้ประโยชน์จากการเป็นเครือข่ายในกลุ่ม CIMB ให้เต็มที่มากขึ้น เช่น การแนะนำลูกค้าในกลุ่ม หรือการเข้าไปหาตลาดใหม่ๆ ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ เพื่อให้ชื่อของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ธนาคารยังได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากคุณจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ที่ตอบรับมาเป็นประธานกรรมการของธนาคาร ซึ่งด้วยประสบการณ์และความรอบรู้ของท่าน โดยเฉพาะในแวดวงด้านเศรษฐกิจและการลงทุน อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อธนาคาร “ ผมเชื่อว่า หากธนาคารสามารถดำเนินการตามแผนงานๆ ที่ได้วางกลยุทธ์ไว้ แล้ว ก็จะทำให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งด้านสถานะทางการเงินและมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นธนาคารที่ให้บริการแบบครบวงจรในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ในที่สุด ซึ่งตามนโยบายของกลุ่มซีไอเอ็มบีที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ธนาคารมีเป้าหมายหลักที่ต้องบรรลุในปี 2556 อันได้แก่ การเป็น 1 ใน 3 ธนาคารที่มีผลตอบแทนที่ดีที่สุด รวมถึงเป็นผู้นำในตลาดธุรกิจอย่างน้อย 3 ประเภท และเป็นธนาคารที่พนักงานเลือกที่จะทำงานด้วย ( High Performance Culture) “ นายสุภัค กล่าว ข้อมูลเกี่ยวกับ ซีไอเอ็มบี ไทย ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มี 147 สาขาทั่วประเทศ และให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายแก่ทั้งลูกค้าบรรษัทและลูกค้ารายย่อย ธนาคารยังให้บริการค้าหุ้น (stockbroking) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่บริษัท ให้บริการกองทุนรวม การจัดการสินทรัพย์ และผลิตภัณฑ์ประกันภัย และบริการต่างๆผ่านสาขาที่มีอยู่ ซีไอเอ็มบี ไทย เดิมรู้จักกันในชื่อ ไทยธนาคาร ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ กลุ่มซีไอเอ็มบี ในปี 2552 เมื่อกลุ่มซีไอเอ็มบี ได้เข้าถือหุ้น 93.15% สินทรัพย์และกองทุนผู้ถือหุ้นของ ซีไอเอ็มบี ไทย มีมูลค่าคิดเป็น 126,000,000,000 และ 7,700,000,000 บาทตามลำดับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: สำนักสื่อสารองค์กร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) นางกานต์พิชชา ธนจินดาเลิศ นางสาวมรกต จิรนิธิรัตน์ โทรศัพท์ 0-2638-8249, 8259 โทรสาร 0-2633-9053 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวการบริหารจัดการ+สุภัค ศิวะรักษ์วันนี้

บลจ.กสิกรไทย คว้า 5 รางวัลยอดเยี่ยม Best of the Best Awards 2025 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกองทุนของไทย

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติถึง 5 รางวัล จากงาน Best of the Best Awards 2025 ได้แก่ รางวัล Best Asset Management Company (30 Years), Best Asset Management Firm for Digital Marketing, Best Alternatives Manager, Best ESG Manager และ Best Multi-Asset Manager ทั้งนี้ รางวัลที่ บลจ.กสิกรไทย ได้รับทั้ง 5 สาขา แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ บลจ.กสิกรไทย ในการพัฒนาและนำเสนอบริการด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ รวมถึงการปรับตัว

ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบ... ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 — ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 หนุนโดยการบริหารจัดการด้าน...

ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินธุรกิ... 5 ข้อควรระวัง! ตรวจดูให้แน่ใจว่า ใบแจ้งหนี้ควรต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง — ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่ช่วยให้การบริหารจัดการทางการเงินเป็นไปอย...

ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในความท้าทาย... เทคโนโลยีเอไอ VS ภัยพิบัติ เอไอเข้ามามีบทบาทได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน — ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ตั้งแต่ไฟป่า แผ่...

POP MART THAILAND ภายใต้การบริหารจัดการโด... POP MART THAILAND เดินหน้าบุก CENTRAL WESTGATE ปักหมุดเปิดสาขาแรกกรุงเทพฯ โซนตะวันตก — POP MART THAILAND ภายใต้การบริหารจัดการโดย POP MART INTERNATIONAL ผ...