ปี 2552 สัดส่วนการใช้สิทธิ GSP เพิ่มขึ้น : ผู้ประกอบการเห็นประโยชน์ใช้เป็นแต้มต่อฝ่าวิกฤตส่งออก

กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--คต.

นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า ในปี 2552 ผู้ส่งออกมีการใช้สิทธิ GSP ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.49 ในปี 2551 เพิ่มเป็นร้อยละ 54.38 โดยมีมูลค่าการใช้สิทธิ GSP ทั้งหมดในปี 2552 10,672.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.72 เมื่อเทียบกับมูลค่า 12,662.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2551 ทั้งนี้เป็นผลจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าโดยรวมของไทย ไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) รวม 44 ประเทศ ประกอบด้วย สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ตุรกี กลุ่ม CIS (รัสเซียและรัฐอิสระที่แยกออกจากสหภาพโซเวียดรัสเซีย รวม 11 ประเทศ) และนอร์เวย์ ประเทศที่ใช้สิทธิ GSP สูง ได้แก่ สหภาพยุโรป (6,654.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สหรัฐฯ (2,886.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตุรกี (359.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สวิตเซอร์แลนด์ (241.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) แคนาดา (205.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) กลุ่ม CIS (140.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ญี่ปุ่น (91.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นอร์เวย์ (53.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิพิเศษฯ GSP สูง ได้แก่ เครื่องประดับทำจากเงิน เลนส์แว่นตา ยางเรเดียลรถยนต์นั่ง น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ยานยนต์ขนส่ง ถุงมือยาง เครื่องปรับอากาศ กุ้งปรุงแต่ง กุ้งแช่แข็ง กรดเทเรฟทาลิก สับปะรดกระป๋อง ยางเรเดียลรถบรรทุก รองเท้ากีฬา รองเท้าไม่หุ้มข้อ เป็นต้น หากพิจารณาการใช้สิทธิ GSP ใน 2 ตลาดหลักของไทย เป็นดังนี้ ตลาดสหภาพยุโรป ใช้สิทธิ GSPคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.85 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP โดยมีมูลค่าลดลง 958 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าที่ใช้สิทธิสูง ได้แก่ เลนส์แว่นตา น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ยานยนต์สำหรับขนส่ง เครื่องปรับอากาศ กุ้งปรุงแต่ง ถุงมือยาง เป็นต้น ตลาดสหรัฐอเมริกา ใช้สิทธิ GSP คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.91 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP โดยมีมูลค่าลดลง 647 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์การใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ ปี2552 ไทยมีสินค้าจำนวน 2 รายการที่มีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ เกินระดับเพดาน CNL ที่สหรัฐฯ กำหนด ได้แก่ สินค้ายางเรเดียลรถยนต์นั่ง ซึ่งมีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ 154.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องประดับทำจากโลหะเงิน ซึ่งไทย ได้รับผ่อนผัน CNL Waiver มาแล้ว 5 ปี (407.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) กรมการค้าต่างประเทศจะได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิ GSP 1) กรณี De Minimis Waiver 2) ขอคืนสิทธิกรณี Redesignation 3) ยื่นคำร้องไม่ให้ระงับสิทธิ GSP สินค้าเครื่องประดับเงิน (CNL Waiver) ซึ่งสหรัฐฯ จะประกาศประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2553 และกำหนดรับคำร้องประมาณเดือนมีนาคม 2553 ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ โทร. 1385 หรือที่ www.dft.go.th

ข่าวกรมการค้าต่างประเทศ+วิจักร วิเศษน้อยวันนี้

"พิชัย" นำพาณิชย์ ผนึกกำลังรัฐ-แพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่ 16 หน่วยงาน เดินหน้าคุมเข้มมาตรฐานสินค้า ปกป้องผู้บริโภคและ SME ไทย

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานพิธีประกาศเจตจำนงความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานบนแพลตฟอร์ม e-Commerce ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์ม โดยมีนายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมด้วย ซึ่งจัดโดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างความร่วมมือในการกำกับดูแลสินค้าที่วางขายบนแพลตฟอร์ม e-Commerce รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นของการ

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดสัม... กรมการค้าต่างประเทศ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เสริมพลัง SMEs เกษตรนวัตกรรมไทยสู่สากล — กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "เสริมพลัง...

กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ผนึกกำลังหน่วยง... คต. เดินหน้าดันต่อยอดงานวิจัย หวังสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรไทยบุกตลาดเชิงพาณิชย์ — กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ผนึกกำลังหน่วยงานพันธมิตร จัดงาน "Agri Inno-Tech...

กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวั... ไต้หวัน เอ็กซ์โป 2023 ประกาศความสำเร็จจัดงานในไทย — กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (BOFT) และสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกไต้หวัน (TAITRA) ...