เปิดโลกงานวิจัยทางทะเลแห่งชาติ การประชุมวิทยาศาสตร์ทางทะเล 2553

กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ร่วมกับบริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล 2553 ในหัวข้อ “ความหลากหลายทางชีวภาพทะเลในประเทศไทย : อุปสรรคและโอกาส” ในระหว่างวันที่ 28 – 30 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ จังหวัดภูเก็ต โดย นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุม การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล จำนวน 9 สาขา ดังนี้ สาขาปะการัง : ความหลากหลายทางชีวภาพของปะการังแข็งฝั่งทะเลอันดามัน,การศึกษาการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังในระยะยาวบริเวณอ่าวลิงเกาะพีพีดอน, การคุกคามของโรคสีชมพูและจุดสีชมพูบนปะการังโขด (Porites lutea) เป็นต้น สาขาการจัดการ การอนุรักษ์ และการประเมินความเสี่ยง : เขตการบรรจบกันทางทะเลของชีวภูมิศาสตร์อันดามัน,การศึกษาวิธีที่เหมาะสมในการปล่อยปลาการ์ตูนคืนสู่ธรรมชาติ,ผลกระทบจากการท่องเที่ยวและมาตรการการจัดการแนวปะการังน้ำตื้น เกาะไข่นอก จังหวัดพังงา, การศึกษาจำแนกชนิดและปริมาณของขยะทะเลในแนวปะการัง,,ตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับการจัดการประมงในทะเลสาบสงขลา, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหาการกัดเซาะและฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งทะเลกรณีศึกษาบ้านโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น สาขาสัตว์หน้าดิน : สัตว์ทะเลหน้าดินในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ประชาคมสัตว์พื้นทะเลขนาดกลางในพื้นที่ป่าชายเลน ฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย, การฟื้นฟูหอยมือเสือ บริเวณจังหวัดชุมพร เป็นต้น สาขาแพลงก์ตอน สาหร่าย และแมงกระพรุน : การแพร่กระจายของแมงกะพรุนกล่อง บริเวณเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, การเปรียบเทียบอัตราการนำเข้าระหว่างแอมโมเนีย-ไนโตรเจนและไนเตรต-ไนโตรเจนของสาหร่ายทะเล 2 ชนิด และอัตราส่วนของไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสที่แตกต่างกัน เป็นต้น สาขามลภาวะ : การกระจายตัวของคราบน้ำมัน และความเสี่ยงของพื้นที่ต่อการรั่วไหลของน้ำมันในน่านน้ำทะเลไทย, ปริมาณอินทรีย์สารในตะกอนดินชายฝั่งเกาะแสมสารและเกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรี, การประเมินความเสี่ยงของสารอาหารในน้ำทะเลบริเวณนิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก, ศึกษาคุณภาพน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง เป็นต้น สาขาปลา ปู และหมึก : ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรปลากะพงขาวในประเทศไทยโดยใช้เทคนิคพีซีอาร์-อาร์เอฟแอลพีของไมโตคอน เดรียลดีเอ็นเอ, ผลของระดับความเข้มข้นของออกซิเจนต่อภาวะติดเชื้อในปูแสมที่โตเต็มวัย ในป่าชายเลนอ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น สาขาเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร : การเสริมวิตามินซีชนิด L-Ascorbic Acid ในระดับความเข้มข้นต่างๆ ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกปลาการ์ตูนส้มขาว, กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในทรอสโทไค-ตริดส์ที่คัดแยกได้จากป่าชายเลน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น สาขาสัตว์ถูกคุกคาม : การจำแนกกลุ่มประชากรโลมาอิรวดีในอ่าวไทยตอนบนโดยเปรียบเทียบตำหนิบนครีบหลัง, การจำแนกชนิดโลมาด้วยเทคนิค PCR-RFLP ของบริเวณดีลูปบนไมโตคอนเดรีย, การประเมินมูลค่าที่ไม่ได้เกิดจากการใช้ของสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์: กรณีศึกษาโลมาในประเทศไทย, ความแตกต่างของลักษณะทางเพศบนกระดูกเพววิก (Pelvic) ของพะยูน, หมู่เกาะสิมิลันแหล่งวางไข่เต่าตนุที่ใหญ่ที่สุดของไทยในทะเลอันดามัน, สถานภาพเต่าทะเลเกยตื้นบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก, การศึกษาติดตามการอพยพย้ายถิ่นของลูกเต่าตนุโดยใช้เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น สาขาสมุทรศาสตร์กายภาพ รีโมทเซนซิ่ง และโครงการร่วมไทย-เยอรมัน : การพยากรณ์การเคลื่อนตัวของพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้ด้วยตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียม,การพยากรณ์แนวโน้มของระดับน้ำในทะเลอันดามันด้วยตัวแบบถดถอยบนตัวเองเชิงอนุกรมเวลา, การประยุกต์ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในการทำแผนที่ปะการัง, ภาพรวมชุดโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน เพื่อการศึกษาวิจัยทะเลอันดามัน: ธรณีศาสตร์ นิเวศวิทยา และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติและการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน, การศึกษาผลกระทบจากสึนามิต่อระบบนิเวศป่าชายหาดและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แนวชายฝั่งทะเล บริเวณจังหวัดพังงา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษจากนักวิจัยชาวไทยและชาวต่างชาติ อาทิ หัวข้อ “Thailand Marine Biodiversity Outlooks : Challenges and Opportunities” โดย ดร. สิริกุล บรรพพงศ์ สำนักงานแผนและนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , หัวข้อ“Ocean Observing System” และ “Thirty years of experiences in marine biodiversity studies in Thailand : Lessons learned” บรรยายโดย Professor Jorgen Hylleberg จาก Arrhus University, Denmark ตลอดจนการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล รวมทั้งนิทรรศการของหน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ด้วย นายวรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ ทช. กล่าวว่า ทะเลเป็นแหล่งกำเนิดของทรัพยากรเกือบทุกประเภท จึงนับได้ว่าทะเลเป็นแหล่งอาหารที่มีความมั่นคงสำคัญแห่งหนึ่งของโลก ทะเลยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของโลก ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของทะเลจึงเป็นหนทางที่จะทำให้รู้จักทะเลมากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อมนุษย์ การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ศึกษาวิจัยในหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ได้นำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแนวทางการศึกษาวิจัย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยวันนี้

แจงกรอบวิจัยปีงบ 61 มุ่ง เดินหน้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 หนุนเครือข่ายรัฐ-เอกชน พัฒนาสังคมเศรษฐกิจมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ในการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2561 จัดโดยเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (สพภ.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ร่วมกับมหาวิทยาลั... ราชภัฏพระนครจับมือเครือข่ายวิชาการและงานวิจัยจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ I-SEEC 2017 — มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิ...

กยท. ร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับแผนงานวิจัยฯ ดึงงานวิจัยยางชั้นเลิศ มอบทุนวิจัยต่อยอดการพัฒนา

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมหน่วยงาน 6 ส. ตั้ง "เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ" มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนทุนแผนงานวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ด้าน กยท. ร่วม สวก....

ขับเคลื่อนโลจิสติกส์-โซ่อุปทาน สศก. เตรียมคลอดรายงานฉบับสมบูรณ์พัฒนาสินค้า 5 ชนิด พ.ย.นี้

สศก. จับมือ วช. และ สกว. รุกโครงการศึกษาวิจัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรสำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ทุเรียน และหน่อไม้ฝรั่ง พร้อมจัดเวทีสัมมนาระดมสมอง ก่อนคลอดรายงานฉบับสมบูรณ์...

3 องค์กรผนึกจัดประชุม “เพิ่มมูลค่าจากไขอ้อย”

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการสกัดไขอ้อยจากกากหม้อกรอง...

คอบช. จัดงานแถลงข่าวเรื่อง “ผลวิจัยโลจิสติกส์ของเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการ 2 ล้านล้านบาท”

เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ร่วมกับ สำนักประสานงานโครงการวิจัยด้านโลจิสติกส์ ร่วระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ...

วช. และ สกว. ประชุมสัมมนา เรื่อง “งานประชุมเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภายใต้บริบทประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

ปฎิทินข่าวประชาสัมพันธ์ วช.และสกว ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC) วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 08.30-16.30 น. ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ...

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของ... วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย — สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธาร...

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...