รามาจับมือTCELSอบรมผู้บริหารรพ.ฝึกใช้ระบบจัดการข้อมูลผู้ป่วยแบบดิจิตอล

กรุงเทพฯ--30 ต.ค.--

นายสุริยัน ปานเพ็ง รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) กล่าว ภายหลังจากที่ TCELS ให้ การสนับสนุนงบประมาณให้กับ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งคือปรับข้อมูล อิเล็คตรอนิคของคนไข้ในโครงการอิงมาตราฐาน “HL7” พร้อมกับการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลอิเล็คตรอนิคใน รพ. ที่มีการรับและส่งข้อมูลอิเล็คตรอนิคอิงมาตราฐานใหม่ “CONNECT”ซึ่ง จะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ภายในรพ. หรือองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศสามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไร้ปัญหาความแตกต่างด้านระบบปฎิบัติการ หรือโปรแกรมบริหารข้อมูลของรพ. อีกทั้งยังปลอดภัยในจากการโจรกรรมข้อมูลจากฐานข้อมูล (hard drive) โดยตรงหรือขณะส่งข้อมูลผ่านตามสาย (LAN) หรือไร้สาย (Wireless) เนื่องจากจากข้อมูลที่ส่งผ่านกันจะถูกเข้ารหัส (Encrypt) ผู้ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้รับเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัสได้ (Decrypt) ขณะ นี้โครงการฯ กำลังพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในโรงพยาบาลที่สามารถเชื่อมโยง ถ่ายโอน ข้อมูลผู้ป่วยพร้อมผลการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางอณูชีววิทยา อาทิ รหัสพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ การกลายพันธุ์ การแสดงออกของยีน และโปรตีนโดยอิงมาตราฐาน HL7 และ CONNECT ข้อมูลดิจิตอลที่เกิดขึ้นในรพ.หากปรับให้ได้มาตรฐาน HL7 และการถ่ายโอน ข้อมูลดังกล่าวยึดตามมาตราฐาน “CONNECT” แล้ว ในทุก รพ. จะช่วยให้เราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยระหว่างรพ.หรือหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช) ประกันสังคมและกรมบัญชีกลาง สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรทางการแพทย์อื่น ๆ ฯลได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งเดียว รวมทั้งอาจมีใช้สิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลในหลายรูปแบบ เช่นเดิมทำงานบริษัทเอกชนใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาล แต่เมื่อลาออกจากงานก็กลับมาใช้สิทธิ สปสช เป็นต้น ซึ่งในอนาคตหากแต่ละองค์กรสาธารณสุขสามารถตกลงกันได้ในเรื่องของมาตราฐาน กลางของข้อมูลดิจิตอลและมาตราการกลางการส่งรับข้อมูลดิจิตอล จะทำให้ในอนาคตเราจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานพยาบาลต่างประเทศ กับองค์กรดูแลสิทธิการรักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนไข้ในประเทศ รวมไปถึงชาวต่างประเทศที่เข้ามารักษาตัวในประเทศไทย ซึ่ง รพ.ในประเทศไทยสามารถส่งข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยเพื่อไปเบิกค่ารักษา พยาบาลจากต้นสังกัดในต่างประเทศได้อันจะเป็นการสนับสนุนโครงการ Medical Hub ได้อย่างดีอีกด้วย” นายสุริยัน กล่าว นายสุริยัน กล่าวว่า เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เรื่องระบบมาตราฐานข้อมูลอิเล็คตรอนิค “HL7” พร้อมการส่งและรับข้อมูลอิเล็คตรอนิคภายใต้มาตราฐานใหม่ “CONNECT” ให้กับผู้บริหารด้านสารสนเทศของโรงพยาบาลต่าง ๆ นักพัฒนาโปรแกรม บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตลอดจนผู้สนใจ ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น จึงได้จัดอบรมการใช้โปรแกรมที่อิงมาตราฐาน HL7 และมาตราฐานการเชื่อมต่อแบบ CONNECT ภายใต้หัวข้อฝึกอบรม “LEAP-FROG STRATEGY for Thailand; A National Health Information Network for Health Information Exchange - A Step Closer to the Reality of Online Medical Records “ ขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2552 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS)ชั้น 22 อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 69 ถนนวิภาวดีรังสิต สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+โรงพยาบาลรามาธิบดีวันนี้

ศลช. ส่งมอบกำลังใจ นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ตอบรับวิถีชีวิตใหม่

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์, ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและนวัตกรรมศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ นำคณะผู้บริหาร ศลช. ร่วมด้วย ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และทีมวิจัยเทคโนโลยีโปรตีโอมิกส์เชิงหน้าที่ กลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชันและนวัตกรรมอาหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรม

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... ทีเซลส์ ผนึกกำลังร่วมกับ มหิดล ต่อยอดผลกระชายขาวต้าน COVID-19 — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...