เทรนด์ ไมโคร รายงานสถานการณ์ภัยคุกคามข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2553

กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--คอร์ แอนด์ พีค

อาชญากรไซเบอร์กำลังเดินหน้าหาประโยชน์ทั้งในรูปของตัวเงินและผลกำไรจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในกระแสด้วยการใช้พาดหัวข่าวและแนวโน้มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีล่าสุด และด้วยความนิยมของระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งและระบบเสมือนจริงที่กำลังขยายตัวมากขึ้นในกลุ่มบริษัทต่างๆ ทำให้เป็นที่สนใจอย่างมากจากอาชญากรที่กำลังวางแผนหลอกลวงทางไซเบอร์ในอนาคต นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ กล่าวว่า “จากรายงานสถานการณ์ภัยคุกคามข้อมูลปี 2553 ของบริษัท เทรนด์ ไมโคร ระบุว่าระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งและระบบเสมือนจริงนั้นมีข้อดีและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก โดยการย้ายเซิร์ฟเวอร์ออกไปนอกเขตการรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิม ซึ่งมีข้อเสียคือเป็นการขยายพื้นที่การทำงานให้อาชญากรไซเบอร์มากขึ้น และทำให้ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากภัยคุกคามข้อมูลมากขึ้นตามไปด้วย บริษัท เทรนด์ ไมโคร เชื่อว่าอาชญากรไซเบอร์จะทำการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมต่อไปยังระบบคลาวด์ หรืออาจทำการโจมตีศูนย์ข้อมูลและระบบคลาวด์ด้วยตัวเอง” โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้สร้างโอกาสให้กับอาชญากรไซเบอร์มากขึ้น อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เวอร์ชัน 6 (IPv6) ซึ่งเป็นโปรโตคอล "รุ่นใหม่" ที่ออกแบบโดยคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต หรือไออีทีเอฟ (Internet Engineering Task Force: IETF) กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการขั้นทดลองเพื่อนำมาใช้แทนที่ IPv4 ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งใช้มา 20 ปีแล้ว เมื่อใดที่ผู้ใช้เริ่มเข้าสู่ระบบ IPv6 ทั้งอาชญากรไซเบอร์และผู้ใช้งานก็คาดหวังที่จะเห็นองค์ประกอบต่างๆ ของแนวคิด IPv6 ที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้งานเพื่อหาประโยชน์ในทางที่ผิดๆ รวมถึงเป็นช่องทางหลบซ่อนใหม่ๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ได้ แต่อย่าเพิ่งคาดหวังกำหนดการใช้งานของ IPv6 เพราะอย่างน้อยก็คงไม่ใช่ในอนาคตอันใกล้นี้ โดเมนเนมกำลังกลายเป็นระบบสากลมากขึ้น และการเปิดตัวของโดเมนระดับสูงสุดของภูมิภาค (ตัวอักษรรัสเซีย จีน และอารบิค) จะสร้างโอกาสใหม่ที่นำไปสู่การโจมตีแบบเดิมโดยใช้โดเมนที่มีลักษณะคล้ายกันเพื่อล่อลวงเหยื่อ เช่น การใช้อักษรซีริลลิกแทนอักษรที่มีลักษณะคล้ายกับละติน ทั้งนี้บริษัท เทรนด์ ไมโคร คาดว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่ปัญหาใหญ่และถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งจะสร้างความท้าทายให้กับบริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยต่างๆ อาชญากรไซเบอร์จะใช้สื่อทางสังคมและเครือข่ายทางสังคมเพื่อนำผู้ใช้งานเข้าสู่ “วัฎจักรของความเชื่อใจ” ในปี 2553 นี้ เทคนิคกลลวงทางสังคมจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการแพร่กระจายภัยคุกคามข้อมูลต่างๆ แต่ด้วยสื่อทางสังคมที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยสามารถใช้เนื้อหาร่วมกันได้ผ่านการโต้ ตอบทางสังคมออนไลน์ ทำให้อาชญากรพยายามแทรกซึมและสร้างภัยอันตรายให้กับชุมชนออนไลน์ที่ได้รับความยอดนิยมมากกว่าที่เคยเกิดขึ้น นอกจากนี้ เครือข่ายทางสังคมยังเป็นสถานที่พบปะที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการขโมยข้อมูลที่ระบุตัวบุคคล จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่โพสต์กันอย่างเปิดเผยโดยเฉพาะในส่วนของโปรไฟล์ (ข้อมูลส่วนตัว) ของผู้ใช้งานก็ดูน่าเชื่อถืออย่างมาก และเมื่อรวมเข้ากับข้อมูลการโต้ตอบบนเครือข่ายก็เพียงพอแล้วสำหรับอาชญากรที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและโจมตีด้วยเทคนิคกลลวงทางสังคมแบบมีเป้าหมาย สถานการณ์เช่นนี้จะเลวร้ายมากขึ้นในปี 2553 โดย ข้อมูลส่วนบุคคลที่ปรากฏต่อสาธารณชนจะถูกอาชญากรนำไปใช้ในการปลอมตัวเป็นเหยื่อหรือใช้ในการขโมยบัญชีธนาคารออกมาได้ การโจมตีแบบแพร่ระบาดไปทั่วโลกจะหมดไป และการโจมตีแบบเฉพาะเจาะจงและแบบมีเป้าหมายจะขยายตัวมากขึ้น พื้นที่ของการเกิดภัยคุกคามได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และเราจะไม่พบการแพร่ระบาดทั่วโลกเหมือนอย่างเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ Slammer หรือ CodeRed อีกต่อไป อย่างในกรณีของ Conficker ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2551 และต้นปี 2552 ที่อาจไม่ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก แต่เป็นการโจมตีที่ถูกวางแผนและออกแบบมาอย่างระมัดระวัง ซึ่งคาดว่าการโจมตีขั้นสูงแบบเฉพาะเจาะจง และแบบมีเป้าหมายจะขยายตัวและมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การคาดการณ์ที่สำคัญเพิ่มเติมสำหรับปี 2553 และปีต่อๆ ไป? ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเงิน จะยังคงมีอาชญากรรมไซเบอร์เคียงข้างอยู่ด้วย - การลดความเสี่ยงไม่ใช่ตัวเลือกที่ใช้ได้อีกต่อไป แม้แต่การใช้บราวเซอร์อื่น หรือระบบปฏิบัติการทางเลือก - มัลแวร์จะเปลี่ยนรูปแบบไปในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง - การติดเชื้อมัลแวร์โดยทั่วไปเป็นเรื่องปกติ แค่คลิกเว็บไซต์เดียวก็ทำให้คุณติดมัลแวร์ได้แล้ว - การโจมตีแบบใหม่ๆ จะเพิ่มมากขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบเสมือนจริงและระบบคลาวด์ - ไม่มีสิ่งใดหยุดยั้งบ็อตได้อีกต่อไป และจะกระจายอยู่ทั่วไป - เครือข่ายบริษัทหรือเครือข่ายทางสังคมจะยังคงถูกก่อกวนจากอาชญากรที่จะขโมยข้อมูลไปใช้หาประโยชน์ สำหรับรายงานสถานการณ์ภัยคุกคามฉบับสมบูรณ์ของเทรนด์ ไมโคร ปี 2553 ผู้สนใจสามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่: http://us.trendmicro.com/us/trendwatch/research-and-analysis/threat-reports/index.html สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บุษกร สนธิกร โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8202 อีเมล [email protected] ศรีสุพัฒ เสียงเย็น โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8300 อีเมล [email protected]

ข่าวบริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์+บริษัท เทรนด์ ไมโครวันนี้

เทรนด์ไมโครจับมือตำรวจสากลหนุนการบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก เพื่อต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ (TYO: 4704; TSE:4704) ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และโซลูชั่นรักษาความปลอดภัย ประกาศความร่วมมือกับองค์การตำรวจสากล (INTERPOL) ในการสนับสนุนโครงการบังคับใช้กฎหมายทั่วโลกเพื่อต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันได้กลายภัยคุกคามแบบมีเป้าหมายและมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นภายใต้เครือข่ายอาชญากรรมที่พร้อมปฏิบัติการทั่วโลก และเครือข่ายดังกล่าวยังสามารถผนึกกำลังกันเพื่อสร้างภัยคุกคามแบบเจาะจงเป้าหมายที่มีความซับซ้อนอย่างมากได้ในระดับเวลาไม่กี่นาที

เทรนด์ ไมโคร เตือนระวังอาชญากรไซเบอร์ใช้ข้อความสแปมโอลิมปิก ลอนดอน 2012 เพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัวและขโมยเงิน

รายงานล่าสุดจากศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า อาชญากรไซเบอร์ได้ชื่อว่าเป็นนักฉวยโอกาสตัวยงที่มักจะใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่ในกระแส เช่น ในช่วงมหกรรมการ...

เทรนด์ ไมโคร ประกาศแต่งตั้งผู้บริหารใหม่

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ ประกาศแต่งตั้งนายธนัท เศรษฐโอภาส ดำรงตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลรับผิดชอบด้านงานขาย การตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย และลูกค้าสัมพันธ์ในไทย...

เทรนด์ ไมโคร เผยผลวิจัยล่าสุดพบว่าสาเหตุของการละเมิดข้อมูลมาจากพนักงานในองค์กร

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์. (TYO: 4704;TSE: 4704) ผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ เผยผลสรุปรายงานวิจัยเรื่อง“ปัจจัยด้านมนุษย์ในการปกป้องข้อมูล”(The Human Factor in Data Protection) จากสถาบันโพเนมอน...

เทรนด์ ไมโคร แนะเคล็ดลับ 5 ข้อสำหรับการชอปปิ้งออนไลน์อย่างปลอดภัย

ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า เทศกาลแห่งการจับจ่ายในช่วงวันหยุดสำคัญกำลังจะมาถึง และแน่นอนว่าเหล่าอาชญากรไซเบอร์ก็กำลังเตรียมซุ่มโจมตีนักชอปที่นิยมซื้อสินค้าทางออนไลน์อยู่ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับห้าประการที่...

เทรนด์ ไมโคร เผยพบผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวอิหร่าน ตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามล่าสุด

เมื่อเร็วๆ นี้ เฟเก้ แฮกเกอบอร์ด นักวิจัยอาวุโสด้านภัยคุกคาม ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ ระบุว่า จากรายงานของเทรนด์ ไมโครพบหลักฐานที่เป็นรูปธรรมของภัยคุกคามล่าสุดที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานออกใบรับรองในเนเธอร์...

เทรนด์ ไมโคร เตือนระวังภัยลวงแจกของฟรีใน Facebook

นายคริสโตเฟอร์ ทาแลมปัส นักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า พบการหลอกลวงล่าสุดผ่าน Facebook ด้วยการใช้ประโยชน์จากภาพยนตร์เรื่อง Breaking Dawn Part 2 ซึ่งจะนำคุณไปยังเพจแบบสำรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการข...

ภาพข่าว: เทรนด์ ไมโคร มอบซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสให้โครงการไอทีเพื่อเด็กป่วยในรพ. 16 แห่ง

เมื่อเร็วๆ นี้ นายโก๊ะ ชี โฮะ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ (ที่ 2 จากซ้าย) มอบซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เทรนด์ไมโคร ไททาเนียม อินเทอร์เน็ต ซิเคียวริตี้ และหนังสือ “วิธีดูแลเยาวชน...

เทรนด์ ไมโคร แนะนำเคล็ดลับความปลอดภัยในการให้ข้อมูลทางออนไลน์

โรเบิร์ต แมคอาร์เดล นักวิจัยอาวุโสด้านภัยคุกคาม ศูนย์วิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมาถ้าคุณไม่เคยกังวลเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล คุณควรเริ่มกังวลได้แล้วในตอนนี้ เพราะดูเหมือนว่าปัญหาเกี่ยวกับการรั่ว...

เทรนด์ ไมโคร เตือนผู้ใช้ระวังความเสี่ยงจากการใช้อีเมลผ่านเว็บในที่ทำงาน

พอล โอลิเวอเรีย นักวิจัยเทรนด์แล็บส์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า บริการอีเมลผ่านเว็บช่วยให้ผู้ใช้สามารถเปิดบัญชีอีเมลของตนได้อย่างสะดวกจากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้พนักงานใช้งาน...