สภากทม. แนะทบทวนก่อสร้างทางลอด ถ.จรัญสนิทวงศ์-พรานนก พร้อมมีมติตั้งคกก.วิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบโครงการ

กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--กองประชาสัมพันธ์ กทม.

สภากทม. หวั่นโครงการก่อสร้างทางลอดจรัญสนิทวงศ์-พรานนก ส่งผลกระทบต่อประชาชน กระทุ้งผู้บริหารทบทวนโครงการ พร้อมตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบโครงการก่อสร้าง ด้าน ส.ก.เขตบางกอกน้อย แจงเหตุพบว่าไม่ได้เกิดประโยชน์กับประชาชนหรือแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์อย่างแท้จริง ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครสมัยประชุมสามัญ สมัยที่ 1 (ครั้งที่ 4) ประจำปี พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร ในที่ประชุม นายนภาพล จีระกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางกอกน้อย ได้ยื่นญัตติด่วนด้วยวาจาขอให้กรุงเทพมหานครชะลอโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด ถนนจรัญสนิทวงศ์-พรานนก และขอให้สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบโครงการก่อสร้างดังกล่าวอย่างรอบคอบ เนื่องจากพบว่าโครงการก่อสร้างดังกล่าวไม่ได้เกิดประโยชน์กับประชาชนหรือแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์อย่างแท้จริง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวนั้นมีจุดตัดหลายแห่ง ประกอบกับมีเส้นทางรถไฟสายธนบุรีตัดผ่านทำให้รถเกิดการชะลอตัว และในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะมีการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค การขนส่งเพิ่มขึ้น เช่น รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนตัดใหม่ จากถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ถนนตัดใหม่เลียบทางรถไฟ ถนนพรานนก-สะพานพระราม 8 หากกทม.ต้องการทำอุโมงค์เท่ากับว่าเป็นการลดช่องทางการจราจร และไม่สามารถรองรับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้จากการศึกษากรุงเทพมหานคร ควรมีนโยบายก่อสร้างทางยกระดับ ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่า เพราะเป็นการเพิ่มช่องทางการจราจร อีกทั้งทางยกระดับดังกล่าวยังสอดคล้องกับเส้นทางยกระดับลอยฟ้าที่เชื่อมเส้นทางไปถึงสะพานพระราม 8 อีกด้วย นายนภาพล จีระกุล ส.ก.เขตบางกอกน้อย กล่าวเพิ่มว่า ประชาชนในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ระบุถึงสาเหตุหากมีการก่อสร้างทางลอดแล้วไม่สามารถแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ได้ อีกทั้งจะเกิดอุปสรรคกับถนนตัดใหม่เลียบทางรถไฟ รางรถไฟสายธนบุรี สี่แยกบางขุนนนท์ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดขึ้น-ลงทางลอดประมาณ 100-200 เมตร นอกจากนี้เมื่อสร้างทางลอดจะทำให้ช่องทางจราจรลดจาก 6 ช่อง เหลือเพียง 2 ช่องทางเท่านั้นซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบกับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่ตั้งแผงค้าขายของริมทางเท้า สำหรับโครงการก่อสร้างทางลอดถนนจรัญสนิทวงศ์ กับถนนพรานนก มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทางลอดสำหรับ รถยนต์ขนาด 3 ช่องจราจร โดยกำหนดโครงสร้างความกว้าง ประมาณ 12 เมตร ความยาวทั้งโครงการ 1,250 เมตร ซึ่งโครงการก่อสร้างประกอบด้วย ระบบระบายน้ำ ป้ายและเครื่องหมายจราจร ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 820 วัน ทั้งนี้ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบในญัตติดังกล่าว และแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาผลกระทบ จำนวน 29 คน โดยไม่กำหนดระยะเวลาในการพิจารณา

ข่าวกรุงเทพมหานคร+นภาพล จีระกุลวันนี้

เขตวัฒนาเร่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำรางสาธารณะใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 20 ตามคำพิพากษาศาลปกครอง

นางสาวสุชิรา ศิลานนท์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กทม. กล่าวกรณีศาลปกครองกลางมี คำพิพากษาให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตวัฒนา รื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างของโรงเรียนนานาชาติในซอยปรีดีพนมยงค์ 20 เขตวัฒนา ที่รุกล้ำลำรางสาธารณะภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดว่า สำนักงานเขตฯ ได้เร่งดำเนินการตามคำพิพากษาดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 68 เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างตามรายการที่ 22 ซึ่งเป็นรั้วคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) จำนวน 3 จุด พบว่า ยังมีรั้วส่วนล่างที่ยังไม่

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด... เชฟรอน มอบน้ำมันไฮดรอลิค คาลเท็กซ์ แก่กรุงเทพมหานคร สนับสนุนภารกิจทีมกู้ภัยแผ่นดินไหว — เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิต...

สมาคมสตรีไทยสากลฉลองตราสัญลักษณ์พระแม่ธรณ... วศิน วรรณพฤกษ์ คว้ารางวัลดาวแห่งจักรวาล สาขาผู้บริหารความคิดสร้างสรรค์แห่งปี ประจำปี 2568 — สมาคมสตรีไทยสากลฉลองตราสัญลักษณ์พระแม่ธรณีบีบมวยผม ประกาศเกียร...

วันที่ 19 -20 เม.ย.นี้ เตรียมพาน้อง ๆ ชาวศรีนครินทร์ ร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดตื่นเต้นใน Roadshow พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร @ พาราไดซ์ พาร์ค

พาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร ขอเชิญชวน น้อง ๆ หนู ๆ มาร่วมสัมผัสประสบการณ์งาน Roadshow พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร ภาย...