นายอนันต์ รุ่งพรทวีวัฒน์ รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจและการตลาด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวชี้แจงผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาผลงานในรอบปี 2552 ว่า สามารถผลิตผลงานเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งภายในประเทศและ
ส่งออกต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบความร่วมมือเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมย้อนรอยเพื่อการแพทย์ไทยในการสร้าง
ความมั่นคงด้านวัคซีนป้องกันโรคระบาด ด้านกายภาพบำบัดเพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์พื้นฐาน นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหารไทยลดการนำเข้าเทคโนโลยี
จากต่างประเทศ โครงการบูรณาการไพลเพื่อการใช้ประโยชน์สมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน รวมทั้งการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิดและสัตว์ชนิดใหม่ของโลก 1
ชนิด อันเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย นอกจากนี้ยังประสบผลสำเร็จในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์เพื่อการจำหน่าย
ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 4 ผลงาน ช่วยสร้างธุรกิจใหม่ สร้างอาชีพ ลดการนำเข้าเวชภัณฑ์และเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
ผลงานเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ใหม่
วิศวกรรมย้อนรอยเพื่อการแพทย์ไทย วว. ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริษัทเอ็นอาร์ อินดัสทรีส์ จำกัด และศูนย์
บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วิจัยและพัฒนา “เครื่อง Freeze Dryer เพื่อใช้ในการผลิตวัคซีนและเซรุ่ม” มีประสิทธิภาพในการทำแห้งด้วยความเย็น
สูง เป็นการรักษาคุณภาพของวัคซีนและเซรุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความมั่นคงด้านวัคซีนป้องกันโรคระบาด ลดการนำเข้าเครื่องจักรและวัคซีน
จากต่างประเทศ เทคโนโลยีกายภาพบำบัด วว. ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา “เครื่อง CPM เข่าสำหรับกายภาพบำบัด” ซึ่งตัวเครื่องมีราคาถูกกว่า
เครื่องนำเข้าจากต่างประเทศกว่า 50% มีประโยชน์ช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องหลังการผ่าตัด ฟื้นฟูสภาพข้อเข่ากลับสู่ปกติได้เร็ว ลดระยะ
เวลาในการพักฟื้นและเวลาการทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการผ่าตัด นับเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในด้านบริการทาง
การแพทย์พื้นฐานสู่พื้นที่ต่างๆของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างฐานเทคโนโลยีกายภาพบำบัดสำหรับส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป ได้แก่ ไหล่ นิ้วมือ
และข้อเท้า เป็นต้น และวิจัยพัฒนา “แผ่นประคบร้อน Tistra – Pack” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ความร้อนลดอาการปวดในบริเวณที่ต้องการบำบัด เป็น
อุปกรณ์ที่มีการใช้ทั่วไปในสถานพยาบาลที่มีแผนกกายภาพบำบัด โดย วว. ทำการพัฒนาวัสดุบรรจุแผ่นประคบร้อนจากแร่ธรรมชาติ ที่สามารถเก็บความร้อนได้นาน
และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมอาหารไทย วว. ประสบผลสำเร็จในการพัฒนา “เครื่องปอกเปลือกกระเทียม” สามารถปอกกระเทียมได้ดีทุกขนาดทั้งกระเทียม
ไทยหรือกระเทียมจีน กำลังการผลิต 20 กิโลกรัม/ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการปอกเปลือกกระเทียมสูงมากกว่า 90% โดยไม่มีการช้ำ แตก หัก เสียหายของเนื้อ
กระเทียม สามารถแยกเปลือกกระเทียมและเนื้อกระเทียมออกจากกันได้อย่างสมบูรณ์ และประสบผลสำเร็จพัฒนา “เครื่องสกัดน้ำผลไม้ ” คั้นน้ำผลไม้ได้หลาย
ชนิด อาทิ ลองกอง ลำไย องุ่น เป็นต้น ใช้หลักการกรองหยาบและละเอียด โดยสามารถแยกกากและน้ำออกจากกันได้อย่างสมบูรณ์ สะอาด ถูกสุขอนามัย มีกำลังการ
ผลิต 300 ลิตร/ ชั่วโมง โดยไม่ทำให้เมล็ดแตก ส่งผลให้รสชาติของน้ำผลไม้ที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
บูรณาการไพลเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทย วว. ดำเนินการจัดทำชุด “โครงการบูรณาการไพล” ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร
เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จาก “ไพล” อย่างครบวงจร ซึ่งผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นถึงสรรพคุณอันหลากหลายของไพลมากขึ้น และประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเป็น
ผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 ชนิด คือ “ผลิตภัณฑ์ไพลจีนิค” เป็นผลิตภัณฑ์แผ่นผ้าอนามัยเช็ดทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นภายนอกสำหรับสตรี มีผลในการยับยั้งและฆ่า
เชื้อแบคทีเรียก่อโรคสตรี เช่น เชื้อก่อโรคในช่องคลอด เป็นต้น และยังสามารถใช้กำจัดเชื้อที่ปนเปื้อนตามพื้นผิวสุขภัณฑ์ ซึ่งมีลักษณะเด่นของ
ผลิตภัณฑ์คือ มีน้ำมันไพลเป็นองค์ประกอบหลัก และมีความเป็นกรดอ่อนใกล้เคียงกับสภาวะภายในปรกติของช่องคลอด
และประสบผลสำเร็จในการวิจัยพัฒนา “ผลิตภัณฑ์ไพลซิดัลกำจัดเห็บ หมัด สำหรับสุนัข” มีจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แชมพู สเปรย์ และโลชั่น มี
ประสิทธิภาพในการกำจัดเห็บและหมัดสำหรับสุนัขได้ 100% ภายใน 30-60 นาที ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิดได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยตามวิธีมาตรฐาน OECD พบว่า
ไม่ก่อความระคายเคืองต่อผิวหนังและมีความปลอดภัยสูงทั้งจากการกินหรือซึมผ่านทางผิวหนัง
ค้นพบพืชและสัตว์ชนิดใหม่ของโลก วว. ประสบผลสำเร็จในการค้นพบพืชและสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าประเทศไทยมีความหลาก
หลายของพรรณไม้และสัตว์นานาชนิด รวมทั้งเป็นเครื่องการันตีว่านักสำรวจและนักวิจัยของไทยมีศักยภาพในการปฏิบัติงานให้เป็นผลสำเร็จ
ในปี 2552 วว. ค้นพบพืชและสัตว์ชนิดใหม่ ดังนี้
ลำดับ โครงการวิจัย ผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลาดจำหน่าย
1 เครื่องอัลตราโซนิกส์กายภาพบำบัด บริษัทบุญซับพลาย จำกัด ประเทศไทย
2 ผลิตภัณฑ์แผ่นผ้าอนามัยไพลจีนิค หจก.ฟ้าใสสมุนไพร ประเทศไทย สปป.ลาว ญี่ปุ่น ยุโรป
3 ผลิตภัณฑ์ไพลซิดัล บริษัทไทยโปรดักส์ ประเทศไทย ญี่ปุ่น
อินโนเวชั่น จำกัด
4 ผลิตภัณฑ์แผ่นประคบร้อน บริษัทบุญซับพลาย จำกัด ประเทศไทย
พืชชนิดใหม่ของโลก ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. และทีมวิจัย ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเรื่อง “ การรวบรวมและจำแนกพรรณ
ไม้วงศ์กระดังงา” จาก โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) ค้นพบ “ปาหนันชนิดใหม่ของโลก” จำนวน 3 ชนิด
ได้แก่
- ปาหนันเมืองกาญจน์ ค้นพบที่อำเภอสังขละและทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีฤดูดอกในเดือนมีนาคม ดอกจะบานอยู่ได้ 2-3 วัน เมื่อดอกบานจะมี
กลิ่นหอม ชอบขึ้นในพื้นที่ป่าดิบชื้นตามริมลำธารบริเวณเขาหินปูน ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดแก่หรือต้นกล้าจากถิ่นกำเนิดไม่สามารถปรับตัวใน
พื้นที่เพาะปลูกใหม่ได้ จึงยังไม่ประสบผลสำเร็จในการนำไปเพาะปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง
- ปาหนันแม่วงก์ ค้นพบที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขตจังหวัดกำแพงเพชร มีฤดูดอกในเดือนมีนาคม ดอกบานอยู่ได้ 2-3 วัน มีผลแก่ในช่วงเดือน
กันยายน ชอบขึ้นในพื้นที่ป่าดิบเขาที่มีระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ตามริมลำธารบนภูเขาที่มีอากาศเย็นและชื้น ยังไม่ประสบผล
สำเร็จในการนำต้นกล้าและเมล็ดแก่ไปเพาะปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง
-ปาหนันร่องกล้า ค้นพบที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก มีฤดูดอกในเดือนมีนาคม ดอกบานอยู่ได้ 2-3 วัน เมื่อดอกบานจะมี
กลิ่นหอม มีผลแก่ในช่วงเดือนกันยายน ชอบขึ้นในพื้นที่ป่าดิบชื้นและป่าดิบเขาที่มีระดับความสูง 600-1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ตามริมลำธารบนภู
เขาที่มีอากาศเย็นและชื้น ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการนำต้นกล้าและเมล็ดแก่ ไปเพาะปลูกในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง
สัตว์ชนิดใหม่ของโลก ทีมนักวิจัยสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา และ Mr. DAVID S.McLEOD นักวิจัยระดับปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยแคนซัส ค้นพบ “กบหัวใหญ่โคราช” สัตว์ชนิดใหม่ของโลก บริเวณพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช กบหัวใหญ่โคราช หรือ กบปากใหญ่โคราช มี
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Limnonectes megastomias McLEOD, 2008 มีชื่อสามัญว่า Khorat big - headed frog มีลักษณะเด่นคือ ขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ ลำตัวยาว
และส่วนของหัวค่อนข้างกว้าง บนหัวระหว่างตาทั้งสองข้าง มีรอยพับของแผ่นหนังพาดขวางด้านท้ายของตาหรือตรงขอบท้ายของแถบสีดำ และมีรอยพับของผิวหนัง
จากด้านท้ายตาลงไปที่ส่วนต้นของขาหน้า ทั้งนี้มีการตีพิมพ์เป็นกบพันธุ์ใหม่ของโลกในวารสาร ZOOTAXA
โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพเสริมสร้างมิตรภาพความร่วมมือไทย-เกาหลี
วว. ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการดำเนินโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ : ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อร่วมฉลองครบรอบ
50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เกาหลี ณ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้แทนเยาวชนไทย-เกาหลีเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน
ก่อให้เกิดต้นแบบของค่ายวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ และเกิดแนวความคิดของชิ้นงานวิทยาศาสตร์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนสร้างความตระหนักในการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของทั้งสองประเทศ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ จำนวน 4 ผลงาน สร้างธุรกิจใหม่ ช่วยลดการนำเข้าเวชภัณฑ์และเทคโนโลยี รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้
ประกอบการไทยและเศรษฐกิจโดยรวม ดังนี้
ความร่วมมือกับต่างประเทศ วว. แสวงหาความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำจากนานาประเทศ เพื่อเสริมศักยภาพด้านการวิจัยในหลากหลายสาขา ดังนี้
- พัฒนาเทคโนโลยีก๊าซสังเคราะห์คุณภาพสูงจากชีวมวลเพื่อประยุกต์ใช้ในประเทศไทย กับ University of California Riverside ประเทศ
สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะนำไปสู่การก่อตั้งศูนย์ต้นแบบระบบผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวลในอนาคต
- ดำเนินการวิจัยการผลิตเชื้อเพลิงจากพืชสบู่ดำ กับ Science and Technology Research Institute (STRI) ,สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
-ดำเนินการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเมมเบรน กับ Tianjin Motian Membrane Eng.&Tech.Co.Ltd. (TMMETC) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
จีน และจะมีการจัดตั้งห้องปฏิบัติทดสอบคุณภาพเมมเบรน ณ วว. เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี เพื่อนำร่องโครงการฯ
-พัฒนาเทคโนโลยีก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวลให้มีคุณภาพสูงทัดเทียมกับก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ผลิตจากเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น
กับ Kansai Corporation ประเทศญี่ปุ่น
-ดำเนินการวิจัยผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลที่ไม่ใช่อาหารเพื่อใช้กับรถยนต์ กับ Japan International Corporation Agency (JICA) ประเทศญี่ปุ่น
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ขอรับบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วว. ได้ที่ เลขที่ 35 หมู่ 3 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0
2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 หรือที่ E-mail :
[email protected] http// www.tistr.or.th
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net