กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดประชุมทางวิชาการ ประจำปี ๒๕๕๒ เรื่อง การวิจัย : นวัตกรรมการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

31 Aug 2009

กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--พม.

สป.พม. ขอส่งวาระงาน จัดประชุมทางวิชาการ ประจำปี ๒๕๕๒ เรื่อง การวิจัย : นวัตกรรมการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๓-๔ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ห้องราชา ๑ ชั้น ๑๑ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ

วันพฤหัสบดีที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น.

  • ลงทะเบียนรับเอกสารการประชุมทางวิชาการ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๐๐ น.
  • พิธีเปิดการประชุมทางวิชาการเรื่อง การวิจัย : นวัตกรรมทางการพัฒนา สังคมที่ยั่งยืน

โดย ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๐.๑๕ น.

  • พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.
  • การเสวนาทางวิชาการในหัวข้อเรื่อง “การวิจัยในฐานะนวัตกรรมการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน”

โดย เลขาธิการคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ

ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ดร. อุทัย ดุลยเกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

รศ. สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการโดย รศ.สุพรรณี ไชยอำพร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.

  • พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
  • ภาคบ่ายเป็นการอภิปราย (นำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย) และเปิดเวที

ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยจัดแบ่งเป็น ๒ ห้อง ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเลือกเข้าฟัง

ได้ตามความสนใจ

ห้องที่ ๑ องค์ความรู้ชุด “ปกป้องคุ้มครองเด็ก” ประกอบด้วย

๑. เรื่องการศึกษาความคุ้มครองเด็กภายใต้การปฏิบัติงานสหวิชาชีพตามพระราชบัญญัติ

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ ๒๐ พ.ศ.๒๕๔๒

โดย อาจารย์ชานนท์ โกมลมาลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๒. เรื่องผลการคุ้มครองเด็กที่ถูกทารุณกรรมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖

โดย รศ. รัชนีกร โชติชัยสถิตย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

๓. เรื่องการทบทวนรูปแบบโปรแกรมการป้องกันหรือแทรกแซงพฤติกรรมเสี่ยง

ทางเพศของเยาวชน โดย อาจารย์ ดร. กุลกานต์ อภิวัฒนลังการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

๔. เรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาเยาวชนไทย : เด็กดี V-Star

โดย ผศ.ดร. ทิพวรรณ สีจันทร์ คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. สุวัจฉรา เปี่ยมญาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ห้องที่ ๒ องค์ความรู้ชุด “เพิ่มพลังครอบครัวไทย” ประกอบด้วย

๑. เรื่องการศึกษาและพัฒนาสถาบันครอบครัวเชิงบูรณาการ

โดย รศ.ดร. จิตตินันท์ เดชะคุปต์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

๒. เรื่องรูปแบบความเป็นสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืน

โดย ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี

๓. เรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในจังหวัดนครสวรรค์

โดย ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์

๔. เรื่องพัฒนามาตรฐานครอบครัวเข้มแข็ง

โดย รศ. ระพีพรรณ คำหอม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย รศ. สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันศุกร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.

  • ภาคเช้าเป็นการอภิปราย (นำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย) และเปิดเวที

ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยจัดแบ่งเป็น ๒ ห้อง ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเลือกเข้าฟัง

ได้ตามความสนใจ

ห้องที่ ๑ องค์ความรู้ชุด “ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ : ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ประกอบด้วย

๑. เรื่องการสำรวจคนไร้สัญชาติและคนชายขอบในจังหวัดกาญจนบุรี

โดย ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาญจนบุรี

๒. เรื่องการต่อสู้กับปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการของเด็กและเยาวชนไร้รัฐ บ้านแม่สามแลบ

อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ

มนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน

๓. เรื่องคนพิการไร้สัญชาติ โดยผู้แทนนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสานมิตร

ดำเนินรายการโดย ดร. ไพรัช บวรสมพงษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ห้องที่ ๒ องค์ความรู้ชุด “ผู้สูงอายุ : ความมั่นคงในชีวิต” ประกอบด้วย

๑. เรื่องตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีในครอบครัวและชุมชนในชนบทไทย

โดย รศ. ศศิพัฒน์ ยอดเพชร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๒. เรื่องสถานการณ์ความรุนแรงในผู้สูงอายุไทย โดย รศ.ดร. จิราพร เกศพิชญวัฒนา

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๓. เรื่อง การเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว : กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร

โดย ผศ.ดร. วรเวช สุวรรณระดา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๔. เรื่องแนวทางการดำเนินงานกองทุนผู้สูงอายุ โดย รศ. เล็ก สมบัติ

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.

  • พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
  • ภาคบ่ายเป็นการอภิปราย (นำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย) และเปิดเวทีร่วมแสดง

ความคิดเห็น โดยจัดแบ่งเป็น ๒ ห้อง ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเลือกเข้าฟังได้ตามความสนใจ

ห้องที่ ๑ องค์ความรู้ชุด “สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน” ประกอบด้วย

๑. เรื่องกระบวนการขอทาน โดย ผู้แทนของสำนักงานพัฒนาสังคมและความ

มั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์

๒. เรื่องการพัฒนาขีดความสามารถเครือข่ายการเฝ้าระวังปัญหาการค้ามนุษย์

แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดยโสธร โดย ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยโสธร

๓. เรื่องชีวิตยามตะวันรุ่ง และยามราตรีของผู้คนในซอยคาวบอย สุขุมวิท ๒๓

โดย ผศ. จารุวรรณ ขำเพชร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ห้องที่ ๒ องค์ความรู้ชุด “รวมพลังร่วมสร้างสังคม” ประกอบด้วย

๑. เรื่องการสังเคราะห์แนวคิด ระบบ รูปแบบสวัสดิการชุมชนและรูปแบบสวัสดิการเพื่อคนไทย

โดย อาจารย์ภีม ภคเมธาวี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

๒. เรื่องความมั่นคงของประชาชนในชุมชนกลายเป็นเมือง โดย ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคม

และความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองบัวลำภู

๓. การพัฒนาแนวทางในการทำงานร่วมกันขององค์กรเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมการดำเนินงาน

ด้านผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาองค์กรเครือข่ายผู้สูงอายุในจังหวัดอำนาจเจริญ

โดย ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอำนาจเจริญ

ดำเนินรายการโดย อาจารย์สฤษดิ์ ศรีโยธิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต