ปวดหลัง ปวดคอ...อาการปวดที่ไม่ควรมองข้าม!

กรุงเทพฯ--26 ส.ค.--โรงพยาบาลกรุงเทพ

คุณเคยสังเกตไหมว่าอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ร้าวลงไปถึงแขนหรือบางครั้งอาจจะแผ่ซ่านขึ้นไปถึงศีรษะ จนบางครั้งคุณเข้าใจไปว่าปวดไมเกรน? และไม่ว่าคุณจะทานยาเท่าไร อาการปวดก็ไม่หาย ซ้ำยังจะกลับมาใหม่หลังจากยาแก้ปวดหมดฤทธิ์ หากชีวิตประจำวันของคุณคือนั่งทำงานในออฟฟิศทั้งวัน และห่างไกลการออกกำลังกายเป็นประจำ กลับมีอาการปวดร้าวตามแขน ขา บ่า ไหล่ ที่ไม่หายขาด ซึ่งคุณอาจจะนึกไม่ถึงว่าอาการปวด ที่ว่านั้นอาจจะมีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลัง! นายแพทย์ทายาท บูรณกาล ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง ศูนย์รักษากระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า อาการปวดร้าวไปตามแขน ขา หลายครั้งพบว่าเกิดจากปัญหาของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะปัญหา การหดเกร็งของกล้ามเนื้อแบบ Office Syndrome ซึ่งเป็นโรคของคนเมือง ที่ทำงานออฟฟิศขะมักเขม้น ไม่ได้ออกกำลังกาย คุณภาพชีวิตไม่ดี พักผ่อนน้อย อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อนี้ อาจจะรุนแรงน้อยหรือทรมานมาก และยาแก้ปวดก็ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ เนื่องจากการปวดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งตัวนี้ มีอาการคล้ายกับกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรืออาจพบทั้งสองโรคพร้อมกัน เนื่องจากปัญหาของกล้ามเนื้อ และกระดูกสันหลังนั้นมีความสัมพันธ์กัน โรคกระดูกสันหลังที่สามารถกดทับเส้นประสาทที่พบบ่อยในคนทำงาน และมักจะถูกวินิจฉัยบ่อยๆได้แก่ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้น (HNP) ช่องกระดูกเสื่อมตีบทับเส้นประสาท (Spinal Stenosis) กระดูกเสื่อมทับไขสันหลังส่วนคอ (CSM) หมอนรองกระดูกเอวเสื่อม (DDD) กระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนทับเส้น เป็นต้น ซึ่งอาการปวดร้าวไปตามแขน และขานั้น สามารถเป็นได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นปวดมากจนเดินไม่ได้ก็มี “กลุ่มโรคที่พบบ่อยในคนวัยทำงานที่นั่งทำงานทั้งวัน ได้แก่ ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท โดยปัญหาเล็กน้อยที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อในชีวิตประจำวัน อาทิ ปวดหัว ปวดคอ ปวดไหล่เรื้อรัง และปวดแก้มก้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เกิดอาการปวดร้าว คล้ายการปวดร้าวตามเส้นประสาทได้เช่นกัน บางครั้งการบาลานซ์กล้ามเนื้อคอที่ไม่เท่ากัน มีผลไปยังเส้นประสาท มีอาการชาตามแขนขา บางคนปวดแขนปวดขานึกว่าเป็นกระดูกคอทับเส้นประสาท แต่ทำ MRI แล้วอาจจะไม่พบ ซึ่งในกรณีนี้ต้องทำการรักษาด้วยการกายภาพบำบัด หรือ การรักษาด้วยเทคนิค Intervention spine pain management” สำหรับการรักษาอาการเจ็บป่วยจากโรคทางกระดูกสันหลังนั้นไม่ได้มีแค่การผ่าตัดเพียงเท่านั้น “การรักษาอาการปวดจากโรคกระดูกสันหลัง และกล้ามเนื้อรอบๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1. Non-surgical อาทิ การรักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด (NSAID) การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยการบริหาร (Exercise) การกายภาพบำบัด การ mobilization กล้ามเนื้อ-กระดูกสันหลังให้คลายจากการเครียดตึง ซึ่ง 50-60 % ของผู้ป่วยจะหายดีในขั้นตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยเทคนิคใหม่เช่นการทำ Intervention Spine Pain Management เป็นการรักษาอาการปวดด้วยการใช้เข็ม เช่น การฉีดยาต้านการอักเสบรอบเส้นประสาท (SNRB) การลดการกดทับจากหมอนรองกระดูกด้วยเข็มคลื่นความถี่สูง (Nucleoplasty) การลดการไวของเส้นประสาทด้วยเข็มคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency needle) หรือการฝังเข็มเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้ากระตุ้นในจุดที่เป็นสาเหตุ เป็นต้น และการรักษาประเภทที่ 2. ได้แก่การผ่าตัด อาทิ ผ่าหมอนรองกระดูกแบบแผลเล็ก (Microdiscectomy) ผ่าตัดขยายช่องทางออกของเส้นประสาท (Laminectomy) การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) อาจจะใส่หรือไม่ใส่สกรูไททาเนียม การผ่าตัดเชื่อมข้อที่คอด้านหน้า(Robinson Fusion) การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม(TDR) เป็นต้น ซึ่งแนวทางการผ่าตัดนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความ ชำนาญของแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย” ด้วยการรักษาโรคกระดูกสันหลังนั้นมีหลายวิธี และเพราะ “การรักษาในคนไข้คนหนึ่ง ใช้ไม่ได้กับคนไข้ อีกคน” ดังนั้นที่ ศูนย์รักษากระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ จึงเป็นศูนย์กลางข้อมูล ให้คำปรึกษาและรักษาโรคกระดูกสันหลังและคอที่ทันสมัย และให้การรักษาอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นที่การรักษาแบบองค์รวม เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับคำปรึกษาที่เหมาะสมกับอาการ “เนื่องจากหนทางการรักษาโรคจากกระดูกสันหลังนั้นมีมากมาย ในการรักษาไม่มีวิธีใดดีที่สุดสำหรับคนไข้ทุกคน แต่วิธีใดจะเหมาะสมกับคนไข้รายไหนมากที่สุด ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาจะได้รับประโยชน์สูงสุด และได้รับการรักษาที่ถูกต้องที่สุด เรามุ่งเน้นที่การรักษาแบบองค์รวม โดยมีผู้เชี่ยวชาญครบทุกด้านทั้งแพทย์กระดูกสันหลัง แพทย์ผ่าตัด ระบบประสาท แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด ซึ่งในกรณีที่ผู้ป่วยต้องรับการผ่าตัด หมอก็จะประชุมร่วมกันว่าควรจะผ่าตัดไหม เราจะไม่ใช้วิธีการเดียวในการรักษา แต่จะมีการบูรณาการทุกวิธีมารักษาร่วมกัน” “อีกทั้งเรานำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสมอ และทีมแพทย์จะต้องทำหน้าที่เลือกการรักษา เหมือนวัดตัวตัดเหมือนชุดสูท (Tailor Made) ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ผู้ป่วยเป็นนักกีฬา หากจำเป็นต้องผ่าตัด จะไม่สามารถผ่าตัดด้วยการใส่เหล็กแบบผู้สูงอายุได้ อาจจะต้องเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม เป็นต้น ดังนั้นศูนย์ฯ นี้ จะต้องเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้ป่วยแต่ละรายโดยการร่วมมือกันของทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโดยตรง” นายแพทย์ทายาทกล่าว ข้อมูลจาก... โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร1719 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 023103000 mascot สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวทายาท บูรณกาล+ออกกำลังกายวันนี้

Reboot Your Balance เคลื่อนไหวอย่างสมดุล มั่นใจ ด้วย ERAS

มร.ไมเคิล เดวิด มิตเชลล์ ผู้อำนวยการ รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล เป็นประธานเปิดงาน “Reboot Your Balance เคลื่อนไหวอย่างสมดุล มั่นใจ ฟื้นตัวไว ไร้กังวล ด้วย ERAS (อีราส) หรือ (Enhanced Recovery After Surgery) รูปแบบการส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังแบบองค์รวม ร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่งผลให้เจ็บน้อยลง ลดอาการแทรกซ้อน มีอัตราการฟื้นตัวที่เร็วขึ้น โดยมี นพ.สาริจฉ์ ศรีสุภาพ ผู้อำนวยการศูนย์กระดูกสันหลัง นพ.ทายาท บูรณกาล นพ.คณิต จำรูญธเนศกุล นพ.ชัยเดช สระสมบูรณ์

โชว์ฝีมือคุณหมอไทย...รักษาหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาทด้วย “การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอเทียม”

นายแพทย์ทายาท บูรณกาลผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ อาการปวดคอร้าวไปที่สะบัก แขนหรือมืออ่อนแรง อันมีสาเหตุมาจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท ซึ่งพบได้บ่อยในบริ...

โชว์ฝีมือคุณหมอไทย

สร้างความฮือฮาให้กับวงการกีฬาไทยเป็นอย่างมาก เมื่อนายแพทย์ทายาท บูรณกาล ผ.อ.สถาบันโรคกระดูกสันหลัง รพ.กรุงเทพ โชว์ฝีมือรักษาอาการหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท ให้กับยอดขุนพลนักฟุตซอลทีมชาติไทย เลิศชาย อิสราสุวิภากร ด้วยเทคโนโลยีเปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอเทียมพิเศษเฉพาะสำหรับ...

ภาพข่าว: รพ.กรุงเทพเปิดตัวเทคนิคใหม่ของการผ่าตัดโรคปวดหลัง แบบ DLIF

นพ.ทายาท บูรณกาล ผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ พร้อมด้วย นพ. สุปรีชา กาพิยะ ศัลยแพทย์ระบบประสาท และพญ. สุชีลา จิตสาโรจิตโต ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูกรุงเทพ แถลงความสำเร็จเปิดตัว “เทคนิคการผ่าตัดรักษา...

ภาพข่าว: ประชุมวิชาการ DLIF แก้ไขหมอนรองกระดูกสันหลังทรุด

นพ.พุทธิพร เธียรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส และนพ.ทายาท บูรณกาล ผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นประธานในการประชุมวิชาการและผ่าตัด “การแก้ไขหมอนรองกระดูกสันหลังทรุดหรือกระดูกสันหลังผิดรูป แบบแผลเล็กโดย...

ภาพข่าว: สัมมนา “เปิดโลกกระดูกสันหลัง”

นายแพทย์สมชาย จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “เปิดโลกกระดูกสันหลัง” เพื่อไขความลับเรื่องกระดูกสันหลัง โดยมี นายแพทย์พุทธิพร เธียรประสิทธิ์ ผู้อำนวยการอาวุโสสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ นาวาเอกนายแพทย์ทายาท บูรณกาล และทีม...

โรงพยาบาลกรุงเทพ จัดงาน “เปิดโลกกระดูกสันหลัง”

เนื่องในวันกระดูกสันหลังโลก สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ขอเชิญท่านที่สนใจร่วมงาน “เปิดโลกกระดูกสันหลัง” พบกับการบรรยายสาระสุขภาพ Healthy Talk :ไขความลับโรคกระดูกสันหลัง กับทีมแพทย์กระดูกสันหลังกว่า 10 ท่าน ในหัวข้อ “ปวดคอ...สัญญาณ...

ภาพข่าว: พิธีเปิดเครื่อง O-ARM

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดเครื่อง O-ARM เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ O-Arm และเครื่องนำวิถี Stealth 7 เพื่อใช้ในการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังและโรคสมอง โดยมีนายแพทย์พุทธิพร ...

ภาพข่าว: พิธีเปิดเครื่อง O-ARM

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดเครื่อง O-ARM เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ O-Arm และเครื่องนำวิถี Stealth 7 เพื่อใช้ในการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังและโรคสมอง โดยมีนายแพทย์พุทธิพร ...

โรงพยาบาลกรุงเทพฉลองครบ 38 ปี เน้นความเป็นผู้นำด้านวิทยาการทางการแพทย์และเทคโนโลยี

โรงพยาบาลกรุงเทพเผยนโยบายปี 2553 เน้นย้ำการพัฒนาประสิทธิภาพในการรักษาระดับสากลและพร้อมลงทุนเพิ่มเพื่อเสริมศักยภาพความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีการแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพจัดงานแถลงข่าวในโอกาสครบ 38 ปีของการดำเนินการ ณ อาคาร...