เอสเอ็มอี แบงก์ เดินหน้าลุยโครงการ“Machine Fund” ระยะที่ 2 ฟื้นฟูเครื่องจักร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--เอสเอ็มอี แบงก์

เอสเอ็มอี แบงก์ จับมือ สสว. สถาบันไทย-เยอรมัน(TGI) สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน และสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดินหน้าโครงการ “Machine Fund” ระยะที่ 2 ผลักดัน SMEs ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร แถมลดดอก 3% ยาวนานถึง 5 ปี นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆนี้ คณะกรรมการจัดการธนาคารมีมติเห็นชอบให้ธนาคารเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการปรับปรุง-ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่ SMEs (Machine Fund) ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอี แบงก์ - สสว. - สถาบันไทย-เยอรมัน(TGI) - สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน และสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีระยะเวลาสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2552 สำหรับปีนี้ได้มีการปรับหลักเกณฑ์และอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน โดยผู้ประกอบการจะได้รับการสนับสนุนดอกเบี้ยจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รายละ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่ทำนิติกรรมสัญญาเงินกู้ ซึ่งเป็นมาตรการพิเศษให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs หันมาปรับปรุงฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัยมากขึ้น ก่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนและแข่งขันได้ในอนาคต นอกจากการให้ความช่วยเหลือด้านดอกเบี้ยแล้ว ยังเพิ่มการสนับสนุนทางด้านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง Hardware และ Soft ware มาใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งได้มีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลัก ๆ ที่ทำรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล ประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรแปรรูป เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, เซรามิค/เครื่องเคลือบดินเผา, ชิ้นส่วนยานยนต์, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อะไหล่และเครื่องจักรกล, ท่องเที่ยวและบริการ, อุตสาหกรรมเกี่ยวกับ Life Style เช่น แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน เครื่องประดับ เป็นต้น นายโสฬส กล่าวว่า ผู้ประกอบการ SMEs จงมองภาวะวิกฤติเศรษฐกิจขณะนี้ให้เป็นโอกาสเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้งานมานานอาจชำรุดหรือประสิทธิภาพการผลิตลดลง ดังนั้นการปรับปรุงฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยลดต้นทุนและรองรับการผลิตที่มากขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนี้ธนาคารและหน่วยงานภาครัฐก็ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ทั้งด้านเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าตลาดทั่วไป โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นความจำนงขอสนับสนุนสินเชื่อโครงการฯได้ที่เอสเอ็มอีแบงก์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามฝ่ายสินเชื่อโครงการและกิจการภาครัฐโทร.0-2265-4023-5

ข่าวธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย+ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางวันนี้

SME D Bank ลุยโครงการเติมความรู้บัญชีภาษี ปูทางพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำเพียง 3%ต่อปี

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า SME D Bank เดินหน้าภารกิจธนาคารเพื่อการพัฒนา จับมือกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ กรมสรรพากร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม "Nex Gen Commerce" จัดโครงการ "ทุนก็มี ภาษีก็รู้ ก้าวสู่ความยั่งยืน" เดินสาย Road Show ในรูปแบบ One Stop Service

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่... SME D Bank รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ องค์กรโดดเด่นขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน — ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ห...