ครม.เห็นชอบเงินค่าตอบแทนกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ เสริมศักยภาพการทำงานคณะกรรมการ ก.พ.ค.

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--สำนักงาน ก.พ.

ครม. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเงินค่าตอบแทนกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ ตามแนวทางพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) พิจารณาเรื่องอุทธรณ์ ร้องทุกข์ ของข้าราชการพลเรือนสามัญ พร้อมกำหนดให้มีกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ ปฏิบัติหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาด นางจรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ในฐานะโฆษก ก.พ.ค. กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะได้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและดำเนินการต่อไป สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับนี้ อาทิ กำหนดให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มเป็นรายเดือน ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกาตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง กำหนดให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มีสิทธิได้รับ ค่ารักษาพยาบาล หรือการประกันสุขภาพตามที่จ่ายจริงในอัตราเบี้ยประกันคนละไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี กำหนดให้นำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้บริการวิทยุ โทรศัพท์เคลื่อนที่ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดมาใช้บังคับกับการเบิกจ่ายของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์โดยอนุโลม นอกจากนี้ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จตอบแทน โดยให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มีสิทธิได้รับบำเหน็จตอบแทนเป็นเงินซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนด โดยให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งกำหนดให้สิทธิในบำเหน็จตอบแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้ ทั้งนี้ กรณีที่กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำเหน็จตอบแทนแก่ทายาทโดยธรรม ขณะเดียวกัน ยังกำหนดให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามพระราชกฤษฎีกานี้ นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พร้อมทั้งกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ ตามพระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว สืบเนื่องจากได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2551 และได้มีการออกกฎ ระเบียบ เพื่อใช้บังคับ ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งรวมถึงกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2551 และกฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการ ร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2551 ที่ได้ประกาศใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 เป็นต้นมา โดยจากข้อกำหนดในกฎ ก.พ.ค. ดังกล่าว ยังกำหนดให้กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ปฏิบัติหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาด ต้องทำงาน เต็มเวลา และจะประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอย่างอื่นอันมีลักษณะต้องห้ามมิได้ ซึ่งหลักการดังกล่าวมีลักษณะทำนองเดียวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ก.พ.ค. “ขั้นตอนหลังจากนี้ ก.พ.ค. จะเริ่มกระบวนการคัดเลือกกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และ ร้องทุกข์รวม 14 ตำแหน่ง ซึ่งจะช่วยให้งานของ ก.พ.ค. เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะงานวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ต้องเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดตามกฏหมายคือ 120 วัน และขยายเวลาออกไปได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละ 60 วัน รวมแล้วไม่เกิน 240 วัน ซึ่งในการทำงานปีแรกนี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเรื่องอุทธรณ์ร้องทุกข์ที่ส่งมายัง ก.พ.ค. ไม่ต่ำกว่า 700 เรื่อง” โฆษก ก.พ.ค. กล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1786 กลุ่มสื่อสารองค์กร สำนักงาน ก.พ.

ข่าวข้าราชการพลเรือน+จรวยพร ธรณินทร์วันนี้

ก.พ.ค. ออกโรงเตือนแต่งตั้งข้าราชการไม่คำนึงถึงระบบคุณธรรมระวังขัดต่อกฎหมาย

ก.พ.ค. เตือนการแต่งตั้งข้าราชการ โดยเฉพาะปลัดกระทรวง อธิบดี และ ผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้คำนึงถึงระบบคุณธรรมตามมาตรา 42 หลังใกล้ถึงฤดูแต่งตั้ง พร้อมระบุ ได้จัดทำคู่มือ “ก.พ.ค. ขอตอบ” เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการอุทธรณ์และร้องทุกข์ ที่อยู่ในอำนาจ ก.พ.ค. ให้เป็นไปอย่างทั่วถึงมากขึ้น นางจรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ในฐานะโฆษก ก.พ.ค. กล่าวว่า ภายหลัง ก.พ. ได้ประกาศบัญชีจัดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และยกเลิกระบบซี เมื่อวันที่ 11

นายปนายุ ศิริกระจ่างศรี ประธานเจ้าหน้าที่... TBN เปิดเทรนด์สำคัญ Mendix Low-Code คีย์หลักเปลี่ยนผ่านรัฐ สู่ยุคดิจิทัล — นายปนายุ ศิริกระจ่างศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำ...

ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ใ... กระทรวงวัฒนธรรมเสริมสร้างวินัย — ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจใน "...

มูลนิธิ ICDL แห่งสหภาพยุโรป นำโดย มร. ดาเ... ICDL สหภาพยุโรปเยือนไทยหารือความร่วมมือยกระดับทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลภาครัฐและภาคการศึกษา — มูลนิธิ ICDL แห่งสหภาพยุโรป นำโดย มร. ดาเมียน โอซัลลิแวน ประธานบ...