“กลุ่มน้ำตาลมิตรผล” ใช้การบริหารจัดการเทคโนโลยี ยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย

กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี

“มิตรผล” นำการบริหารจัดการเทคโนโลยี กับ “อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล” ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการผลิต เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน พร้อมตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จากพันธุ์อ้อย สู่อาหารคุณภาพ ต่อยอดด้วยเอทานอลตอบโจทย์วิกฤตพลังงานโลก ระบุชัด “การวิจัยและพัฒนา” คือหัวใจที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ตอกย้ำความแข็งแกร่งภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ยิ่งผันผวนธุรกิจยิ่งต้องตื่นตัวกับการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและผู้บริโภค จากการสั่งสมประสบการณ์ในธุรกิจน้ำตาลมากว่า 50 ปี “กลุ่มน้ำตาลมิตรผล” ได้ขยายกิจการอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างเข้มแข็งกลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทย จนก้าวสู่บริษัทชั้นนำอันดับหนึ่งของเอเชีย และเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยการปฏิรูปเทคโนโลยีและการบริหารจัดการด้านวิจัยและพัฒนาให้มีประสิทธภาพ ดร.พิพัฒน์ วีระถาวร ผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด เปิดเผยถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและน้ำตาล รวมทั้งผลผลิตต่อเนื่องของกลุ่มน้ำตาลมิตรผลว่า ธุรกิจน้ำตาลมีการแข่งขันที่สูงมาก ยิ่งสถานการณ์เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงการแข่งขันยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันผลิตภัณฑ์น้ำตาลของกลุ่มน้ำตาลมิตรผลจึงเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี ( TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นับตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านมา กลุ่มน้ำตาลมิตรผลได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือทางด้านงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล ร่วมกับ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขึ้นเพื่อให้การวิจัย พัฒนาเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีความร่วมมือในการพัฒนาเครื่องจักรการเกษตรร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การวิเคราะห์ดินและน้ำตาล ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ของสวทช. โดยบริษัทฯ ได้เข้ารับการสนับสนุนจากกลไกลต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สวทช. อาทิ โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (CD) เพื่อนำมาจัดตั้งห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา , ห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุล , ห้องปฏิบัติการตรวจสอบวิเคราะห์น้ำตาล การตรวจสอบธาตุอาหารในดินและการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม รวมถึงการวิจัยพัฒนาเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ที่มีคุณภาพ ให้ความหวาน มีความต้านทานโรคและแมลงศัตรูอ้อย และให้ผลผลิตต่อไร่สูง อันเป็นปัจจัยหลักที่นำมาซึ่งน้ำตาลคุณภาพ ปัจจุบันบริษัทฯ ได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการดังกล่าวขึ้น 5 แห่ง รวมเป็นเงินกู้ที่ได้รับการสนับสนุนครั้งนี้มากกว่า 30 ล้านบาท และการได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 200 % จากกรมสรรพกร ในโครงการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา ( RDC) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับคำปรึกษา และการจัดหาผู้เชี่ยวชาญจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ในการพัฒนามีดตัดอ้อยและการพัฒนาสูตรยางหุ้มด้ามมีดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของเครื่องมือในการเก็บเกี่ยวให้กับชาวไร่อ้อย ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำตาลและรายได้ที่ดีขึ้นของเกษตรกร รวมถึงต้นทุนของวัตถุดิบลดลง ซึ่งถือเป็นแหล่งต้นน้ำของการผลิตน้ำตาล ปัจจุบันมีการนำมีดตัดอ้อยที่บริษัทพัฒนาขึ้น ไปใช้อย่างแพร่หลายในพื้นที่เพาะปลูกอ้อยทั่วประเทศแล้วกว่า 50,000 เล่ม ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า “ สาเหตุที่ต้องมีการปรับปรุงพันธุ์อ้อย เนื่องจากให้ผลผลิตและความหวานต่ำ ปัญหาการระบาดของโรคและแมลงศัตรูอ้อย ประกอบกับพื้นที่ในการเพาะปลูกอ้อยที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำตาลในประเทศ จึงต้องมีการปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่มีผลผลิตและคุณภาพดี ให้ความหวานสูง ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น มีความต้านทานโรคแมลงศัตรูอ้อย และเหมาะสมในแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่ในการเพาะปลูกอ้อยของไทยมีทั้งสิ้นกว่า 6 ล้านไร่ แบ่งเป็น ภาคกลางร้อยละ 35 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 30 ภาคเหนือร้อยละ 25 และภาคตะวันออกร้อยละ 4 ของพื้นที่เพาะปลูกอ้อยทั่วประเทศ” “ ผลที่ได้รับจากการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัด TMC นอกจากจะเป็นการสร้างองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำสามารถปลูกอ้อยได้อย่างยั่งยืน และมีรายได้ที่ดีขึ้น จากพันธุ์อ้อยที่มีคุณภาพดี การให้ปุ๋ยที่ถูกต้อง และการเก็บเกี่ยวอ้อยได้อย่างถูกต้องทำให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น นับเป็นการสนับสนุนการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ของเกษตรกรเพื่อการปลูกอ้อยได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันโรงงานเองจะได้อ้อยที่มีคุณภาพเข้าสู่โรงงานเพื่อผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพต่อไป ” ดร.พิพัฒน์ กล่าว สำหรับแนวทางในการพัฒนาของบริษัทฯนั้น ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า บริษัทฯ มีแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลในโรงงานในฐานะอุตสาหกรรมกลางน้ำ โดยพัฒนาเครื่องวัดปริมาณน้ำตาล (ซูโครส) ที่จะเป็นเครื่องมือช่วยติดตามการสูญเสียความหวานของน้ำตาลในกระบวนการผลิต ขณะเดียวกันบริษัทยังได้เตรียมต่อยอดผลิตภัณฑ์น้ำตาลจากอาหารคุณภาพไปสู่อาหารเพื่อสุขภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในอนาคต เช่น การพัฒนาพลาสติกจากอ้อย เป็นต้น ปัจจุบัน บริษัทฯ สามารถผลิตน้ำตาลได้ 2.5 ล้านตันต่อปี ซึ่งผลผลิตน้ำตาลที่ได้จะส่งออกถึง ร้อยละ 70 ทั้งนี้ ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า การไปสู่ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลระดับชั้นนำยิ่งต้องอาศัย “งานวิจัยและพัฒนา” เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น และมีต้นทุนที่ต่ำลง เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า “การวิจัยและพัฒนา” เป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพราะการทำวิจัยฯ ทำให้รู้ถึงทิศทางและแนวโน้มของสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ธุรกิจเกิดการตื่นตัวและปรับตัวให้พร้อมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจะต้องเร่งพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกและความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่เคยหยุดนิ่ง งานประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี โทร. 0 2564-7000 ต่อ 1476-8 www.tmc.nstda.or.th สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ : ธณาพร (เอ็ม), สุธิดา (ไก๋) โทร. 0 2270 1350-4 ต่อ 104-105 มือถือ 08 6612 0912, 08 5930 7166 อีเมล : [email protected]

ข่าวกลุ่มน้ำตาลมิตรผล+การบริหารจัดการวันนี้

ภาพข่าว: สแกนเนีย สยาม พร้อม สแกน สยาม ลิสซิ่ง ร่วมกันส่งมอบรถหัวลาก Scania P410 ชุดแรกจำนวน 6 คัน จากทั้งหมด 50 คัน แก่ โอ.เอ็น.เค (เลย) ทรานสปอร์ต

มร.มาร์ติน นีลสัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ พร้อมด้วยพนักงานบริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด และ บริษัท สแกนเนีย สยาม ลิสซิ่ง จำกัด ร่วมกันส่งมอบรถบรรทุกหัวลากประสิทธิภาพสูง สแกนเนีย รุ่น P410 LA6x2MSZ ชุดแรกจำนวน 6 คัน จากทั้งหมด 50 คัน แก่ คุณกรินทร ทองปัชโชติ ประธานกรรมการ และ ตัวแทนพนักงาน บริษัท โอ.เอ็น.เค.(เลย) ทรานสปอร์ต จำกัด เพื่อใช้ในการขยายธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งแร่และจัดขนส่งกระจายสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าทั่วประเทศ อาทิเช่น ดีเอชแอล/แม็คโคร ลินฟ้อกซ์/เทสโก้โลตัส กลุ่มน้ำตาลมิตรผล

ภาพข่าว: กลุ่มน้ำตาลมิตรผล รับมอบรางวัล Superbrands Thailand 2013

คุณอัมพร กาญจนกำเนิด รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการตลาด ธุรกิจน้ำตาลกลุ่มมิตรผล (ซ้าย) รับมอบรางวัลซุปเปอร์แบรนด์ (Superbrands Thailand 2013)จากคุณปรีชา แก่นพรม ผู้อำนวยการซุปเปอร์แบรนด์ ประเทศไทย (ขวา) เมื่อเร็วๆ นี้ ...

ภาพข่าว: สัมมนาความก้าวหน้าเพื่อการผลิตและเครื่องจักรในอุตสาหกรรมน้ำตาล

นายณัฐพงศ์ อัศวทองกุล ผู้จัดการฝ่ายขายน้ำมันหล่อลื่น บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ร่วมจัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “เทคโนโลยีของสารหล่อลื่นและน้ำมันเชื้อเพลิงในอนาคตเพื่อ...

กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายไทย จัดพิธี "กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายไทยบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย ผ่านนายกรัฐมนตรี"

เนื่องด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายไทย นำโดย คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ และ คุณกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ผู้บริหารกลุ่มน้ำตาลมิตรผล คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ผู้บริหาร...

ภาพข่าว: กลุ่มน้ำตาลมิตรผลมอบโมลาส 4,000 ลิตร เพื่อผลิตหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ

นางสาวชุรี นาคทิพวรรณ ผู้อำนวยการ ด้านสื่อสารองค์กร บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และนายศิริศักดิ์ เตียเจริญกิจ รองผู้อำนวยการโรงงานน้ำตาลสิงห์บุรี พร้อมด้วยนายพจนา จันทร์แสงศรี ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน โรงงานน้ำตาลสิงห์บุรี...

ภาพข่าว: ไทยพาณิชย์นำทัพภาคเอกชนผ่ามุมมมองโอกาสและอนาคตภาคธุรกิจไทยภายใต้รัฐบาลใหม่

ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “โอกาสของธุรกิจไทยภายใต้รัฐบาลใหม่” แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายทางธุรกิจของประเทศไทยภายใต้นโยบายของรัฐบาลใหม่ รวมถึง...

“มิตรผล” เปิดเกมรุกตลาดน้ำเชื่อม สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับลูกค้า เผยโฉมมิตเต้ (Mitte’) น้ำเชื่อมแต่งกลิ่นระดับพรีเมียม

น้ำตาลมิตรผล เตรียมบุกตลาดน้ำเชื่อมระดับพรีเมียม เผยโฉมน้ำเชื่อมแต่งกลิ่น ภายใต้ แบรนด์มิตเต้ (Mitte’) เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเครื่องดื่มด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า แต่ให้ความมีระดับ...

ภาพข่าว: เปิดตัวหนังสือ “วางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน”

อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มน้ำตาลมิตรผล และรองประธานกรรมการหอการค้าไทย ปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการและกรรมการบริหาร – การเงิน บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่...

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดงานเปิดตัวหนังสือและฟังเสวนา “วางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน”

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ขอเชิญท่านหรือผู้แทนร่วมงาน...

น้ำตาลมิตรผล ปรับแพ็กเกจจิ้งรับเทรนด์ใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ชูคอนเซปต์ “เติมหวาน เติมชีวิตกับมิตรผล”

กลุ่มน้ำตาลมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลภายใต้แบรนด์ “มิตรผล” ตอกย้ำความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ปรับแพ็คเกจจิ้งอิงกระแสลดโลกร้อน ชูคอนเซ็ปต์ใหม่ “Love Life, Love Food, Love Nature: เติมหวาน ...