กทม. นัดผู้รับเหมา500 คนแจงข้อปฏิบัติควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง

กรุงเทพฯ--26 มิ.ย.--กทม.

กทม. จัดประชุมผู้ประกอบการ หน่วยงานสาธารณูปโภค หารือแนวทางควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง หลังพบถนน 5 สายฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน พร้อมกำหนดข้อปฏิบัติเบื้องต้น 12 ประการร่วมลดมลพิษ หยุดเพิ่มความร้อนใส่กรุงเทพฯ และก้าวเป็นเมืองสิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกระดับ โดยปลายปี 51 เตรียมเวิร์คช้อปนานาชาติถกปัญหามลพิษทางอากาศในเขตเมือง เพื่อให้เกิดความร่วมมือแก้ไขและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน รศ.ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อหารือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการก่อสร้าง ซึ่งสำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักการโยธา กทม. ร่วมกันจัดขึ้นโดยเชิญผู้ประกอบการก่อสร้าง ภาคเอกชน หน่วยงานสาธารณูปโภค และสำนักงานเขต รวมจำนวน 500 คน ร่วมหารือถึง “แนวทางการควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง” เพื่อควบคุมมลพิษ และลดปัญหาฝุ่นละออง ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เขตวัฒนา พร้อมลงพื้นที่ตรวจอาคารก่อสร้างของบริษัท แอล แอนด์ เอช พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ซ.สุขุมวิท 19 เขตคลองเตย รองผู้ว่าฯ บรรณโศภิษฐ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมลพิษทางอากาศในเขตกรุงเทพมหานคพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นปัญหาจากฝุ่นละออง เนื่องจากการตรวจวัดฝุ่นละอองริมถนนในเขตกรุงเทพมหานคร 60 จุด พบถนนที่มีฝุ่นละอองเกินมาตรฐานมากที่สุด 5 ลำดับ ได้แก่ ถ.ประชาชื่น เขตบางซื่อ ถ.บางนา-ตราด เขตบางนา ถ.เกษตรนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม ถ.พระรามที่ 4 เขตคลองเตย และ ถ.สุขุมวิท เขตวัฒนา ดังนั้นจำเป็นยิ่งที่จะต้องเร่งกำหนดแนวทางและวิธีการที่จะใช้เพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า100 ไมครอน หรือ PM10 ที่เกิดจากการก่อสร้างและฝุ่นควัน เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของเมืองในปัจจุบันส่งผลให้กิจกรรมการก่อสร้างในกรุงเทพมหานครมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2550 มีสถานที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครถึง 11,000 แห่ง ซึ่งหากไม่มีการควบคุมและจัดการที่ดีจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในกรุงเทพฯ และสุขภาพของประชาชนโดยตรง โดยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบได้ง่าย ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด ไข้หวัดใหญ่ และโรคหืด เป็นต้น สำหรับข้อปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการก่อสร้างในการลดมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ประกอบด้วย 1. กำหนดขอบเขตก่อสร้างอย่างชัดเจน 2. จัดทำรั้วทึบรอบบริเวณการก่อสร้างมีความสูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร 3. หากมีการเปิดหน้าผิวดิน ให้ทำเป็นช่วงๆ เท่าที่จำเป็น และมีมาตรการควบคุมฝุ่นจากการดำเนินงาน เช่น การฉีดน้ำป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย และต้องไม่ให้น้ำที่ฉีดไหลออกนอกบริเวณที่ก่อสร้างลงสู่ผิวถนน 4. จัดทำผ้าใบทึบแสงหรือโปร่งแสงปกคลุมตัวอาคารจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ 5.บริเวณปากทางเข้าออกจะต้องทึบตลอดเวลา และเปิดเฉพาะมีรถเข้าออก 6.ฉีดน้ำ หรือปิดคลุมกองวัสดุให้มิดชิดป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย 7.ทำความสะอาดเศษหิน โคลน ทรายที่ตกหล่นนอกรั้วโครงการทุกวัน 8.หากพื้นที่โครงการไม่ได้ใช้งานก่อสร้างเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่าควรดำเนินการปลูกหญ้า หรือฉีดทับด้วยสารเคมีที่ช่วยลดการกระจายของฝุ่น 9.จัดให้มีที่ลำเลียงสำหรับการทิ้งขยะและเศษวัสดุที่เกิดจากการทำงาน 10.ล้างทำความสะอาดตัวรถและล้อรถทุกชนิดก่อนออกนอกโครงการ 11.ล้างทำความสะอาดชั้นต่างๆ ในอาคารที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 12.หากมีโรงคอนกรีตผสมเสร็จตั้งอยู่ในพื้นที่ก่อสร้าง ให้เพิ่มเติมมาตรการควบคุมฝุ่นละอองตามเงื่อนไขและข้อกำหนดตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย ทั้งนี้กรุงเทพมหานครจะจัดเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบการก่อสร้างในพื้นที่อย่างเข้มงวดต่อไป รองผู้ว่าฯ บรรณโศภิษฐ์ กล่าวในตอนท้ายว่า การจัดการปัญหามลพิษและเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพอากาศที่ดี เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะหยุดเพิ่มความร้อนใส่กรุงเทพฯ และทำให้กรุงเทพมหานครสามารถยกระดับเป็นเมืองสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยในปลายปี 2551 กรุงเทพมหานครยังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ หรือ Better Air Quality Workshop 2008 (BAQ) เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ข่าวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร+บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัยวันนี้

CPF เปิดบ้าน จัดงาน 'CP SPLASH IN SPACE' ปลุกพลัง Soft Power ชวนคนไทยฉลองสงกรานต์ เสิร์ฟความมันส์ ทะลุอวกาศบนถนนสีลม

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จัดงาน CP SPLASH IN SPACE เนรมิตหน้าอาคารซีพี ทาวเวอร์ ฉลองสงกรานต์บนถนนสีลม ในธีมอวกาศ ผลักดันวัฒนธรรมไทยสู่ Soft Power สร้างสุดยอดอีเว้นต์ระดับโลก พร้อมรณรงค์ 'สงกรานต์ไร้ขยะ' ตั้งจุดรับทิ้งขันและถังพลาสติก เพื่อมอบแก่มูลนิธิกระจกเงา โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางพรพัน วัฒนสินธุ์ ผู้อำนวยการเขตบางรัก นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร และนายวรวิทย์ เจนธนากุล กรรมการบริหาร ซีพีเอฟ ร่วมเปิดงาน นายชัชชาติ

นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ... กทม. คุมเข้มร้านอาหาร-หาบเร่แผงลอยไม่ปล่อยทิ้งไขมัน-น้ำเสียลงคลองและท่อระบายน้ำ — นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ (สนท.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเพิ...

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... กลุ่มบริษัทบางจาก ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ที่ศูนย์กีฬาเบญจกิติ — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนแล...

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจต... ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมแสดงความยินดีเป็นส่วนหนึ่งของภาพประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียม — ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจตนารมย์ในการสนับสน...

กทม. เตรียมสรุปผลสอบวินัยร้ายแรงโครงการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายฯ

นางฐิติชยา อนันต์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่ (สกจ.) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญกระทำผิดวินัยในการดำเนินโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์...

นายสมพล ตรีภพนารถ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร... เอ็ม บี เค ร่วมมูลนิธิช่วยการศึกษา กทม.สนับสนุนทุนการศึกษา 404 ทุน — นายสมพล ตรีภพนารถ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจศูนย์การค้า (ที่ 7 จากซ้าย) จำกัด เป็น...