พันธวณิชเผยปัญหาการประมูลออนไลน์ในปี 2551 และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา

กรุงเทพฯ--26 มิ.ย.--พันธวณิช

พ.อ. รังษี กิติญาณทรัพย์ ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจาะปัญหาอัตราการยกเลิกประมูลออนไลน์ภาครัฐสูงขึ้นผิดปกติ หลังจากต้นทุนและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น พร้อมเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาผ่านการปรับราคากลาง และการปรับระเบียบการประมูลออนไลน์เพื่อรักษาผลประโยชน์ในการใช้งบประมาณภาครัฐและเพื่อความอยู่รอดของผู้เข้าร่วมการประมูล ในภาวะเศรษฐกิจที่ราคาน้ำมันและต้นทุนการผลิตสินค้าปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการในหลายภาคอุตสาหกรรมรวมถึงผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว พ.อ. รังษี กิติญาณทรัพย์ ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พันธวณิช จำกัด กล่าวว่า “ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจากการพูดคุยกันในกลุ่มผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์พบว่าอัตราการยกเลิกการประมูลปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือนเมษายนอัตราการยกเลิกการประมูลของพันธวณิชจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7-8 แต่ในระหว่างช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน อัตราการยกเลิกการประมูลกลับปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 19 และ 22 ตามลำดับ โดยงานประมูลที่ถูกยกเลิกไประหว่างช่วงเวลาดังกล่าวมีมูลค่ารวมกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมาถือว่าสูงผิดปกติ” ผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ไม่เข้ามาซื้อซองประกวดราคา เนื่องจากไม่สามารถเสนอราคาตามราคากลางที่กำหนดโดยหน่วยงานเจ้าของโครงการได้ เพราะต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน การขนส่ง และวัสดุอุปกรณ์ ทำให้หน่วยงานต้องยกเลิกการประมูลนั้นไป พ.อ. รังษี กล่าวเสริมว่า “ทางพันธวณิชรู้สึกเป็นกังวลกับปัญหาดังกล่าวและอยากจะเสนอแนะแนวทางที่น่าจะช่วยลดอัตราการยกเลิกการประมูลลง โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอาทิ กระทรวงพาณิชย์ และกรมบัญชีกลาง น่าจะปรับการคิดราคากลางใหม่ซึ่งจะสะท้อนราคาที่แท้จริงในตลาดปัจจุบัน การปรับสูตรสัญญาแบบปรับราคาได้ที่สะท้อนต้นทุนวัสดุที่เพิ่มขึ้นตามจริง หรือการใช้บทเฉพาะกาล ซึ่งการปรับราคากลางจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นประมูลงานใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ภาครัฐควรจะมีการผลักดันให้มีการเร่งรัดการใช้งบประมาณผ่านการประมูลออนไลน์ตั้งแต่ในช่วงต้นปีงบประมาณ 2552 เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากราคาน้ำมันและต้นทุนสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยผู้ประกอบการจะมีเวลาในการสั่งซื้อสินค้าเตรียมไว้ล่วงหน้า ตลอดจนยังช่วยให้มีกระจายงบประมาณลงไปในระบบและจะกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต” นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ปี 2549 ที่ภาครัฐควรที่จะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผ่านมาทางชมรมผู้ให้บริการตลาดกลางเคยได้นำเสนอปัญหาพร้อมแนวทางการดำเนินการแก้ไขระเบียบดังกล่าวกับทางกรมบัญชีกลางในเรื่องสถานที่ประมูลและการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการริบหลักประกันซองเสนอราคา ในประเด็นของสถานที่ประมูล เนื่องจากการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ทางกรมบัญชีกลางควรเพิ่มวงเงินขั้นต่ำสำหรับการประมูลที่ต้องทำการประมูลในสถานที่เดียวกันเป็น 10 ล้านบาท ส่วนการประมูลที่มีวงเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทจนถึง 10 ล้านบาท ควรที่จะเปลี่ยนมาใช้ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ปี 2548 ที่ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตจากสถานที่ใดก็ได้โดยไม่ต้องเดินทางมายังสถานที่ประมูลแทน ซึ่งจะสามารถช่วยภาครัฐประหยัดงบประมาณในการจัดการประมูลได้จำนวนมาก ตลอดจนช่วยย่นระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากการที่ผู้เสนอราคาไม่ต้องเดินทางมายังสถานที่ประมูล รวมถึงดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย พ.อ. รังษี ยังกล่าวถึงข้อเสนอแนวทางในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการริบหลักประกันซองเสนอราคาว่า “ตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ปี 2549 ได้กำหนดว่าหากผู้เสนอราคาไม่ส่งผู้แทนเข้าลงทะเบียนเพื่อเสนอราคาตามวัน เวลาและสถานที่ ที่กำหนด ไม่ทำการ log in เข้าสู่ระบบ หรือ log in เข้าสู่ระบบแต่ไม่มีการเสนอราคา ตลอดจนไม่ลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันราคาสุดท้ายในการเสนอราคา ให้ทางหน่วยงานผู้ซื้อจะสามารถยึดหลักประกันซองเสนอราคาได้ ซึ่งทางเราได้เสนอกรมบัญชีกลางให้ยกเลิกการริบหลักประกันซองเสนอราคาสำหรับกรณีที่ผู้เสนอราคาไม่สามารถมาลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคาได้ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนดไว้ เนื่องจากหลักประกันซองนั้นมีมูลค่าสูงมาก ผู้เสนอราคาบางรายอาจพบกับเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมการประมูลไม่ได้ หรืออาจมาสายกว่าระยะเวลาลงทะเบียนที่กำหนดเพียงแค่ 5 นาที ทำให้ถูกริบหลักประกันซองเสนอราคา ซึ่งการถูกริบหลักประกันซองในงานประมูลที่มีมูลค่าสูงมากๆ อาจส่งผลกระทบถึงสภาพคล่องของผู้ประกอบการ ทำให้ไม่มีเงินสดหมุนเวียนเพื่อดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยทางชมรมผู้ให้บริการตลาดกลางเสนอไม่ให้มีการริบเงินจากหลักประกันซองทั้งหมด แต่อาจริบเงินเพียงจำนวนหนึ่ง เช่น 1% ของหลักประกันซอง ซึ่งมีมูลค่าน้อยกว่าแทนสำหรับกรณีนี้ โดยการแก้ไขระเบียบในประเด็นนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการ สนใจที่จะเข้าร่วมการประมูลมากขึ้น สิ่งที่น่าสังเกตุอีกประการหนึ่ง คือ ยังคงงานที่ประมูลอีกจำนวนหนึ่งที่ประมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ช่วงสองไตรมาสแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 แต่ยังไม่ได้ทำสัญญากับทางหน่วยงานราชการ ซึ่งทำให้ผู้ชนะการประมูลประสบความเดือดร้อน และยังทำให้เงินงบประมาณสำหรับงานดังกล่าวไม่ได้รับการเบิกจ่ายและกระจายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ชนะการประมูลเกิดความไม่แน่ใจที่จะเข้าร่วมงานประมูลอีกต่อไป พ.อ. รังษีกล่าวทิ้งท้ายว่า “ถ้าหากหน่วยงานภาครัฐมีการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ชมรมผู้ให้บริการตลาดกลางเคยได้เสนอไว้ ก็น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและทำให้ผู้ประกอบการกลับมาเข้าร่วมงานประมูลมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อัตราการยกเลิกงานประมูลลดลง” เกี่ยวกับพันธวณิช บริษัท พันธวณิช จำกัด ผู้ให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์( e-Marketplace) และบริการด้านการจัดซื้อ e-Procurement Solution Provider นำเสนอบริการที่สร้างผลกำไรให้ลูกค้าจากการสร้างส่วนประหยัดในการจัดซื้อและบริการที่ช่วยพัฒนากระบวนการจัดซื้อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และให้บริการที่ปรึกษา (Consulting) บริการบริหารการวางยุทธศาสตร์การจัดซื้อ (Strategic Sourcing) บริการรวมปริมาณการจัดซื้อ (Pantavanij Volume Aggregation or PAN) บริการประมูลออนไลน์ (Online Auction) บริการสรรหาผู้ขาย (Sourcing) บริการระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (Online Purchasing) และบริการระบบแลกเปลี่ยนเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (Document Exchange) สำหรับลูกค้าภาคเอกชน นอกจากนี้พันธวณิชมีบริการประมูลออนไลน์ภาครัฐ (Government Procurement) สำหรับลูกค้าภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ บริษัท พันธวณิช จำกัด สุพพตา บัวเอี่ยม Marketing Communications Executive โทรศัพท์ 0 2689 4228 แฟกซ์ : 02-679-7474 e-mail : [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวรังษี กิติญาณทรัพย์+อิเล็กทรอนิกส์วันนี้

"ททบ.5-กาแล็กซี่ มัลติมีเดียฯ" จับมือผลิตรายการข่าวมิติใหม่ ดันเรทติ้งปี 65

"ททบ.5-กาแล็กซี่ มัลติมีเดียฯ" จับมือผลิตรายการข่าว ททบ. 5 มิติใหม่ ดึง 4 พิธีกรข่าวดัง เสริมทัพ หวังดัน เรทติ้งปี 2565 พร้อมจัดทีมข่าวและทีมโปรดิวเซอร์สร้างสรรค์เนื้อหา เสิร์ฟข่าวแบบเจาะลึกในหลากหลายมิติ ยืนยันให้ข้อเท็จจริงครบทุกด้าน ไม่สร้างความแตกแยก วันนี้ (30 กันยายน 2564) พลโทรังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) และ นายแพทย์ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กาแล็กซี่ มัลติมีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ร่วมกั... ททบ.5 ร่วมใจบริจาคโลหิต — สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต ณ ชั้น G อาคาร...

พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยก... สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมไทย-จีน พร้อมพันธมิตร มอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชน — พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (กอญ...

กองทัพบก โดย พลโทรังษี กิติญาณทรัพย์ ผู้แ... เครือ CP จับมือ กองทัพบก มอบถุงยังชีพ 15,000 ถุง หนุนชุมชนคลองเตย สู้ภัยโควิด-19 ต่อเนื่อง — กองทัพบก โดย พลโทรังษี กิติญาณทรัพย์ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก...

ททบ.5 พบพนักงานติดโควิด 3 ราย ไม่เกี่ยวข้... ททบ.5 วางมาตรการเข้มรับมือโควิด หลังพบพนักงานติดเชื้อ — ททบ.5 พบพนักงานติดโควิด 3 ราย ไม่เกี่ยวข้องกับการออกอากาศ สั่งพนักงานที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ติด...

พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ (ที่ 6 จากซ้าย) ... "ททบ.5" จับมือ "เจ ดับบลิว เอส" ลงนาม MOU ออกแบบนิคมอุตสาหกรรมโซล่าฟาร์ม — พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ (ที่ 6 จากซ้าย) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทั...

"ททบ.5-ก.เกษตรฯ" ดึง "JD" ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีน คัดสินค้าเกษตร-สินค้าไทยระดับพรีเมียม บุกตลาดจีน เพิ่มรายได้ผู้ผลิตสินค้าเกษตร

"ททบ.5-ก.เกษตรฯ" ประกาศจับมือ "JD" ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซประเทศจีน นำสินค้าเกษตรไทย เช่น ทุเรียน ข้าวหอมมะลิ อีกทั้ง ผ้าไหมไทย เครื่องสำอาง เครื่องหนัง ขายผ่าน...

พลโท รังษี กิติญาณทรัพย์ (ที่ 6 จากขวา) ก... "ททบ.5-ก.เกษตร-JD.com" ผนึกกำลัง ช่วยเหลือผู้ผลิตสินค้าเกษตร เจาะตลาดจีน — พลโท รังษี กิติญาณทรัพย์ (ที่ 6 จากขวา) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศ...