ไอบีเอ็มร่วมแก้วิกฤติข้าวขาดแคลน ด้วยพลังประมวลผลระดับ “ซูเปอร์คอมพิวเตอร์”

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ระบบกริดเพื่อมนุษยธรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ใช้คอมพิวเตอร์ที่ลงทะเบียน 1 ล้านเครื่อง สามารถดำเนินโครงการให้เสร็จภายใน 2 ปี แทนที่จะต้องใช้เวลา 200 ปี ในขณะที่ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกับประเด็นเรื่องวิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารกันอย่างกว้างขวาง ไอบีเอ็มและคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตันจึงได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการใหม่เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่มีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตและสารอาหาร ด้วยพลังในการประมวลผลที่สูงถึง 167 เทราฟลอปส์ (teraflops) ซึ่งเท่ากับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงที่สุดในโลก 3 อันดับแรก โครงการ World Community Grid ของไอบีเอ็มจะใช้ประโยชน์จากพลังการประมวลผลที่ไม่ได้ใช้และที่ได้รับบริจาคจากเครื่องพีซีเกือบ 1 ล้านเครื่อง เพื่อรองรับโครงการใหม่ "Nutritious Rice for the World" ซึ่งจะศึกษาข้าวที่ระดับอะตอม แล้วผสานเข้ากับเทคนิคดั้งเดิมในการผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งเกษตรกรได้ใช้เทคนิคเหล่านี้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โครงการดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเวลาไม่ถึง 2 ปี ในขณะที่การใช้ระบบรุ่นเก่าจะต้องใช้เวลากว่า 200 ปีในการประมวลผลข้อมูล โรเบิร์ต ซีกเลอร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า “โลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับวิวัฒนาการ 3 ด้านที่เกิดขึ้นควบคู่กันไป นั่นคือ ชีววิทยาระดับโมเลกุลและพันธุกรรม พลังการประมวลผลและพื้นที่ความจุสำหรับการจัดเก็บข้อมูล และการสื่อสาร วิวัฒนาการด้านการประมวลผลช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก โดยอาศัยการประมวลผลในรูปแบบของชุมชนในลักษณะเรียลไทม์ แม้ว่าจะไม่มีทางออกที่รับรองผลได้อย่างแน่ชัด แต่เราสามารถปรับปรุงการผลิตข้าวโดยอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ และประชาคมโลกจำเป็นที่จะต้องลงทุนอย่างจริงจังทั้งในวันนี้และวันหน้า” World Community Grid จะรันโปรแกรมแบบจำลอง 3 มิติ ซึ่งสร้างขึ้นโดยนักชีววิทยาด้านการประมวลผลคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เพื่อศึกษาโครงสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของข้าว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างนับว่าจำเป็นอย่างมากสำหรับการระบุหน้าที่ของโปรตีนดังกล่าว ทั้งยังช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุได้ว่าโปรตีนชนิดใดจะช่วยเพิ่มผลผลิต ป้องกันแมลงศัตรูพืช ต้านโรค หรือเพิ่มสารอาหาร และในท้ายที่สุด โครงการนี้จะจัดทำแผนผังที่ใหญ่ที่สุดและครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุดเกี่ยวกับโปรตีนข้าวและหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรสามารถระบุได้ว่าควรจะเลือกข้าวพันธุ์ใดสำหรับการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อปรับปรุงผลผลิต ดร. แรม ซามูดราล่า รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า “ปัญหาก็คือ เราจะต้องศึกษาโครงสร้างโปรตีนที่แตกต่างกัน 30,000 ถึง 60,000 โครงสร้าง ดังนั้นถ้าเราใช้วิธีการทดลองแบบเก่าภายในห้องปฏิบัติการเพื่อระบุโครงสร้างโดยละเอียดและหน้าที่ของโปรตีนสำคัญๆ ก็จะต้องใช้เวลาหลายทศวรรษเลยทีเดียว การรันโปรแกรมซอฟต์แวร์ของเราบนระบบ World Community Grid จะช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินการจาก 200 ปีให้เหลือเพียง 2 ปีเท่านั้น” โครงการนี้ใช้เงินทุนเริ่มต้น 2 ล้านดอลลาร์จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) โดยจะช่วยให้ประเทศผู้ผลิตข้าวสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยจะสามารถค้นหาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมสำหรับการผสมข้ามสายพันธุ์ และพัฒนาข้าวพันธุ์ผสมที่ทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป คุณธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “โครงการนี้จะช่วยให้เกษตรกรทั่วโลกสามารถปรับปรุงผลผลิตและแก้ไขภาวะอดอยากในบางประเทศ ผมจึงอยากจะขอให้คนไทยให้ความร่วมมือกับโครงการนี้ ด้วยการบริจาคช่วงเวลาที่คอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้งาน เพื่อช่วยให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้ประสบภาวะขาดแคลนอาหาร” ใครก็ตามที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ หากต้องการบริจาคช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะต้องลงทะเบียนที่ www.worldcommunitygrid.org และทำการติดตั้งโปรแกรมซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่ปลอดภัยไว้บนคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอบีเอ็ม โปรดเยี่ยมชม www.ibm.com หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ โปรดเยี่ยมชม www.irri.org หากต้องการดูข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบวิดีโอ โปรดเยี่ยมชม: http://www.youtube.com/watch?v=pWTc6GHIR1k ข้อมูลติดต่อ: กุลวดี เกษมล้นนภา บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด โทร. 02 2734013 อีเมล: [email protected] สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ Adam Barclay โทร. +63-2-580-5600 อีเมล [email protected]

ข่าวมหาวิทยาลัยวอชิงตัน+คอมพิวเตอร์วันนี้

ผลการวิจัยเผยการศึกษาสำหรับผู้ปกครองช่วยเพิ่มโอกาสให้เด็กๆ มีชีวิตอยู่รอดได้มากขึ้น

หนึ่งในงานวิจัยที่มุ่งเน้นเก็บข้อมูลเรื่องการศึกษาของบิดาและมารดา โดยพบว่าไม่ว่าจะเป็นการศึกษาของฝ่ายใด ก็สามารถการป้องกันการเสียชีวิตในเด็กได้ ผลการศึกษาใหม่ซึ่งจัดทำโดยนักวิจัยจากสถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (IHME) แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน และศูนย์วิจัยด้านความไม่เสมอภาคทางสาธารณสุขโลก (CHAIN) พบว่า ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของเด็กลดลง โดยแปรผกผันกับจำนวนปีที่ผู้ปกครองได้รับการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง (Parental education) ที่เพิ่มขึ้น ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาสำหรับมารดา

โควิด-19 คร่าชีวิตราว 6.9 ล้านคนทั่วโลก มากกว่าตัวเลขทางการกว่า 2 เท่า

บทวิเคราะห์ใหม่จาก IHME พบยอดผู้เสียชีวิตที่แท้จริงจากโรคโควิด-19 บทวิเคราะห์ฉบับใหม่โดยสถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตันพบว่า โรคโควิด-19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ...

IHME เผยคาดการณ์สถานการณ์โควิด-19 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน คาดยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกทะลุ 3.5 ล้านราย

การฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็วและการสวมหน้ากากเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยควบคุมการแพร่ระบาด สถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน คาดการณ์ว่า จำนวนผู้...

ครั้งแรกของโลกกับการคาดการณ์การเสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นรายประเทศจนถึงสิ้นปีนี้

IHME จัดงานแถลงข่าวในเวลา 11.00 น. (ตะวันออก) ของวันศุกร์ที่ 4 กันยายน สถาบัน Institute for Health Metrics and Evaluation (IHME) แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน แถลงข่าวเรื่องการคาดการณ์สถานการณ์โรคโควิด-19...

IHME เผยตัวเลขประมาณการโควิด-19 เป็นครั้งแรกของโลก คาดระหว่างนี้จนถึง 1 มกราคมอาจช่วยได้เกือบ 770,000 ชีวิต

มีการคาดการณ์ว่าเดือนธันวาคมเป็นเดือนมรณะ หรือ 'Deadly December’ ซึ่งจะมีผู้เสียชีวิตเกือบ 30,000 รายในแต่ละวัน เมื่อลมหนาวเยือนซีกโลกเหนืออีกครั้ง ในการคาดการณ์สถานการณ์โรคโควิด-19 รายประเทศ...

อิทธิพล คุณปลื้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระท... ภาพข่าว: ดิ เอมเมอรัลด์ต้อนรับผู้ช่วยรมต.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา — อิทธิพล คุณปลื้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เกียรติมาเป็นปร...

มหาวิทยาลัยวอชิงตันทัศนศึกษาดูงานภายใต้การดูแลของมูลนิธิ EDF

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (มูลนิธิ EDF) จัดทัศนศึกษาภายใต้โครงการ University of Washington Exploration Seminar 2015 ขึ้น โดยมีคณาจารย์ และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย นำโดยดร.แสงจันทร์ รุ่ง...

ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวอชิงตัน...ห้ามพลาด

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวอชิงตัน (ประเทศไทย) และนายสุรพล ขวัญใจธัญญา รองประธานกรรมการบริหาร บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ขอเรียนเชิญศิษย์เก่าทุกท่านร่วมงานสังสรรค์ประจำปี ณ ห้องหรรษา ชั้น 8 โรงแรมหรรษา ในวัน...

ภาพข่าว: คณะนักศึกษาพยาบาลอเมริกันดูงานมูลนิธิ EDF

นายสรรเพชร นิลรัตน์ กรรมการผู้จัดการ (แถวยืน ที่ 4 จากขวา) มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (มูลนิธิ EDF) และ นางสาวจารุรัตน์ บุษมาลี (แถวยืนหลัง – ซ้ายสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการ มูลนิธิ EDF ...

ภาพข่าว: เหมราชฯ ต้อนรับนักศึกษาจากวอชิงตัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางสาวจิณณพัต ทองวิเศษกุล (แถวหน้า ที่ 2 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์โครงการที่พักอาศัย บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนให้การต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาภาควิชาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน...