พันธวณิชจับตาทิศทาง e-Procurement หลังการเลือกตั้ง

กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--พันธวณิช

นายไตร กาญจนดุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พันธวณิช จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการใช้การจัดซื้อจัดหาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถขยายตัวได้อีกมากจากปัจจัยหนุนด้านเศรษฐกิจ ส่วน พ.อ. รังษี กิติญาณทรัพย์ ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหารเสนอรัฐบาลใหม่กระตุ้นการใช้การประมูลออนไลน์ และการแก้ไขระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง ขณะที่ ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ที่ปรึกษาบริษัท พันธวณิช ชี้สิ่งที่ภาคเอกชนจะสามารถทำได้ในระหว่างการรอมาตรการ หรือนโยบายเศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่ คือการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ผ่าน e-Procurement ในปัจจุบันการนำเอาระบบระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างนั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในภาครัฐและเอกชน เนื่องจากการจัดซื้อจัดหาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถสร้างประโยชน์ในด้านของการบริหารต้นทุนในการดำเนินงานและการลดระยะเวลาในการจัดซื้อจัดหา รายงานจาก Aberdeen Benchmark ได้พิสูจน์ว่าการใช้ระบบ e-Procurement นั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ในหลายด้าน โดยในทวีปอเมริกาเหนือนั้นสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในการจัดซื้อผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 65 และสามารถลดขั้นตอนในการดำเนินงานและต้นทุนได้มากกว่า 50% ส่วนในทวีปยุโรปสามารถลดระยะเวลาการดำเนินงานได้ร้อยละ 45 และลดค่าใช้จ่ายลงถึงร้อยละ 69 จากรายงานการสำรวจพบว่าแนวโน้มการใช้ e-Procurement ในตลาดโลกนับวันจะการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้คณะกรรมาธิการยุโรปได้ริเริ่มโครงการ European Information Society 2010 หรือ EU i2010 ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกหันมาใช้การการจัดซื้อจัดหาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักภายในปี ค.ศ. 2010 ส่วนในภาคเอกชนนั้นร้อยละ 86 ของผู้บริหารระดับสูงในบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ 2000 อันดับแรกของโลก (โดยนิตยสารฟอร์บส์) นั้นมีความสนใจที่จะใช้การจัดซื้อจัดหาผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในอีก 1 ปีข้างหน้า จากมุมมองของพันธวณิช ตลาดการจัดซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยนั้นยังสามารถขยายตัวได้อีกมาก จากการสำรวจบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กว่า 500 บริษัท พบว่าจำนวนบริษัทที่ใช้ระบบ e-Procurement นั้นยังมีสัดส่วนที่น้อยมาก และจากการพูดคุยกับบริษัทต่างๆ ปัจจุบันความสนใจของผู้บริหารบริษัทได้เปลี่ยนจากการลดต้นทุนไปเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการจัดซื้อให้กับบริษัทมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันที่ยังคงตัวอยู่ในระดับสูงและอัตราเงินเฟ้อที่อาจไม่เป็นไปตามกรอบเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์เอาไว้นั้นทำให้องค์กรต่างๆ ของประเทศหันมาลดต้นทุนในการดำเนินงาน ดังจะเห็นได้จากการที่เครือซิเมนต์ไทยประกาศให้เป็นปีแห่งการลดต้นทุน “ดังนั้นการจัดซื้อจัดหาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกหนึ่งคำตอบในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อ รวมทั้งลดต้นทุนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อรักษากำไรของกิจการในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ทำให้พันธวณิชมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นที่จะขยายการให้บริการ e-Procurement ผ่านบริการอันหลากหลายของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการประมูลออนไลน์ การวางแผนการจัดซื้อ และบริการวิสาหกิจร่วมซื้อ” นายไตร กล่าว ส่วน พ.อ. รังษี กิติญาณทรัพย์ ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาจำนวนการประมูลออนไลน์ภาครัฐนั้นมีปริมาณลดลง โดยงบประมาณที่มีการใช้จ่ายผ่านการประมูลออนไลน์ของภาครัฐลดลงจากร้อยละ 62 ในปี 2549 เหลือเพียงร้อยละ 48 ในปี 2550 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและปัญหาความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปี 2550 สิ่งที่น่าสังเกตคือในขณะที่จำนวนการประมูลออนไลน์ของภาครัฐลดลงนั้น อัตราการคอร์รัปชั่นกลับปรับตัวสูงขึ้นจากการสำรวจล่าสุดของเพิร์ก “ดังนั้นรัฐบาลชุดใหม่จึงควรที่จะส่งเสริมการใช้การประมูลออนไลน์ในกระบวนการจัดหาของภาครัฐเพื่อทำให้ใช้งบประมาณนั้นมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มความโปร่งใส โดยในปีนี้ถ้ารัฐบาลสามารถผลักดันให้มีการใช้จ่ายงบประมาณผ่านวิธีประมูลออนไลน์ได้ถึงร้อยละ 60 ของงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนทั้งหมด และถ้าส่วนประหยัดอยู่ที่อัตราร้อยละ 8 รัฐบาลจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 19,000 ล้านบาทซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 5,000 ล้านบาท” พ.อ.รังษี กล่าว นอกจากนี้รัฐบาลชุดใหม่ควรที่จะควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงบประมาณฯ ที่ตั้งไว้เพื่อผลักดันให้กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างกระจายออกจากส่วนกลางและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต การแก้ไขระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างนั้นเป็นอีกประเด็นสำคัญที่รัฐบาลชุดใหม่ควรที่จะพิจารณาแก้ไขโดยปรับลดงบประมาณขั้นต่ำลงจาก 2 ล้านบาทเหลือเพียง 1 ล้านบาท เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้งบประมาณในหน่วยงานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พ.อ.รังษี กล่าวเสริม ขณะที่ ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ ที่ปรึกษาบริษัท พันธวณิช ชี้ทิศทาง e-Procurement หลังการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาว่า สิ่งที่จะต้องจับตาหลังการประกาศจัดตั้งรัฐบาลของ 6 พรรคการเมืองนั้นคือ โฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมเศรษฐกิจที่จะมาดูแลและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยขณะนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 3.8 – 5.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากสหรัฐอเมริกา ประกอบกับต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความเป็นไปได้สูงที่อัตราเงินเฟ้ออาจไม่เป็นไปตามกรอบเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์เอาไว้ การใช้มาตรการหรือนโยบายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการแทรกแซงราคาจะเป็นภาระงบประมาณในอนาคต แม้ฐานะของงบประมาณจะยังสามารถทำขาดดุลเพิ่มเพื่อดูแลเศรษฐกิจได้ก็ตาม แต่ควรใช้งบขาดดุลเพื่อการลงทุน มากกว่า การใช้จ่ายเงินเพื่อแทรกแซงราคา เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ขณะที่นโยบายการเงินแบบเข้มงวดเพื่อควบคุมเงินเฟ้อก็ควรจะดำเนินการอย่างระมัดระวังในสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้นสิ่งที่ภาคเอกชนจะสามารถทำได้ในระหว่างการรอมาตรการ หรือนโยบายเศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่ คือการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การทำงาน รวมทั้งลดต้นทุน เพื่อรักษากำไรของกิจการไม่ให้ลดต่ำมากเกินไป การจัดซื้อจัดหาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะช่วยให้ภาคเอกชนรับมือกับภาวะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นและสถานการณ์เงินเฟ้อสูงได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุพพตา บัวเอี่ยม บริษัท พันธวณิช จำกัด โทร: 02-654-1499 ต่อ4288, มือถือ: 081-694-6056 แฟกซ์ : 02-679-7474 อีเมลล์: [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวรังษี กิติญาณทรัพย์+นโยบายเศรษฐกิจวันนี้

"ททบ.5-กาแล็กซี่ มัลติมีเดียฯ" จับมือผลิตรายการข่าวมิติใหม่ ดันเรทติ้งปี 65

"ททบ.5-กาแล็กซี่ มัลติมีเดียฯ" จับมือผลิตรายการข่าว ททบ. 5 มิติใหม่ ดึง 4 พิธีกรข่าวดัง เสริมทัพ หวังดัน เรทติ้งปี 2565 พร้อมจัดทีมข่าวและทีมโปรดิวเซอร์สร้างสรรค์เนื้อหา เสิร์ฟข่าวแบบเจาะลึกในหลากหลายมิติ ยืนยันให้ข้อเท็จจริงครบทุกด้าน ไม่สร้างความแตกแยก วันนี้ (30 กันยายน 2564) พลโทรังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) และ นายแพทย์ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กาแล็กซี่ มัลติมีเดีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ร่วมกั... ททบ.5 ร่วมใจบริจาคโลหิต — สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต ณ ชั้น G อาคาร...

พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยก... สมาคมการค้าและอุตสาหกรรมไทย-จีน พร้อมพันธมิตร มอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชน — พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (กอญ...

กองทัพบก โดย พลโทรังษี กิติญาณทรัพย์ ผู้แ... เครือ CP จับมือ กองทัพบก มอบถุงยังชีพ 15,000 ถุง หนุนชุมชนคลองเตย สู้ภัยโควิด-19 ต่อเนื่อง — กองทัพบก โดย พลโทรังษี กิติญาณทรัพย์ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก...

ททบ.5 พบพนักงานติดโควิด 3 ราย ไม่เกี่ยวข้... ททบ.5 วางมาตรการเข้มรับมือโควิด หลังพบพนักงานติดเชื้อ — ททบ.5 พบพนักงานติดโควิด 3 ราย ไม่เกี่ยวข้องกับการออกอากาศ สั่งพนักงานที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ติด...

พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ (ที่ 6 จากซ้าย) ... "ททบ.5" จับมือ "เจ ดับบลิว เอส" ลงนาม MOU ออกแบบนิคมอุตสาหกรรมโซล่าฟาร์ม — พล.ท.รังษี กิติญาณทรัพย์ (ที่ 6 จากซ้าย) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทั...

"ททบ.5-ก.เกษตรฯ" ดึง "JD" ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีน คัดสินค้าเกษตร-สินค้าไทยระดับพรีเมียม บุกตลาดจีน เพิ่มรายได้ผู้ผลิตสินค้าเกษตร

"ททบ.5-ก.เกษตรฯ" ประกาศจับมือ "JD" ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซประเทศจีน นำสินค้าเกษตรไทย เช่น ทุเรียน ข้าวหอมมะลิ อีกทั้ง ผ้าไหมไทย เครื่องสำอาง เครื่องหนัง ขายผ่าน...

พลโท รังษี กิติญาณทรัพย์ (ที่ 6 จากขวา) ก... "ททบ.5-ก.เกษตร-JD.com" ผนึกกำลัง ช่วยเหลือผู้ผลิตสินค้าเกษตร เจาะตลาดจีน — พลโท รังษี กิติญาณทรัพย์ (ที่ 6 จากขวา) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศ...