คณิตศาสตร์ใส ๆ ในธรรมชาติ กับความคิดเห็นของวัยซน

กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--สสวท.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับเว็บไซต์วิชาการดอทคอม (www.Vcharkarn.com) จัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ใส ๆ ในธรรมชาติ ในวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2551 ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ซึ่งเลื่อนจัดกิจกรรม มาเป็นวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 25511 ตั้งแต่เวลา 8.00 – 16.30 น. (จากเดิมจะจัดวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2551) ลองมาดูความคิดเห็นของวัยซนบอกเล่าถึงคณิตศาสตร์ที่แฝงอยู่ในธรรมชาติกันดีกว่าเด็กหญิงอัจฉรา เฉลียวจิตติกุล ป. 4 โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์ คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญ สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์เราจะได้เรียนการเขียน การอ่าน การวาดรูป การฝึกพัฒนาความคิดและได้เรียนวิทยาศาสตร์ไปในตัวด้วย เวลามีโจทย์ หรือคำถามให้ใช้รูปภาพธรรมชาติก็สามารถแตกโจทย์ได้ง่ายมากขึ้น เราเริ่มเรียนคณิตศาสตร์ตั้งแต่ตื่นนอน การนับกลีบดอกไม้ นำใบไม้มาประกอบเป็นรูปเรขาคณิต เเสงของเงา การเปลี่ยนสีของใบไม้ การเจริญเติบโตของพืช การบอกเวลาของพระอาทิตย์ เเนวสีของรุ้ง นกออกหากิน นกกลับรัง ไก่ขัน ฤดูต่างๆ น้ำขึ้นน้ำลง ก็เป็นส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์ด้วย เด็กหญิงวทัยพรรณ วงศ์วิเศษกุล ป. 4 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญวิชาหนึ่งและเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเราด้วย เริ่มตั้งแต่ตอนเช้าเมื่อเราตื่นขึ้นมา เราก็จะเห็นพระอาทิตย์ดวงกลมโตเหมือนรูปทรงเรขาคณิตรูปวงกลมและวงกลมสามารถเปลี่ยนเป็นของอย่างอื่นได้ เช่น แตงโม ส้ม เป็นต้น พอตอนเย็นหน่อยเราก็อาจนึกอยากจะออกไปชมดอกไม้ต้นไม้ เมื่อเรามองไปที่ต้นไม้ที่มีผลดกอยู่เราก็จะนึกถึงการบวกหรือลบของวิชาคณิตศาสตร์เช่น บวกลบ ความสูงของต้นไม้ บวกลบจำนวนผลของต้นไม้ เป็นต้น สรุปได้ว่าวิชาคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเราตลอดเวลา เด็กชายจาตุรนต์ จีนจิตรมั่น ป.6 โรงเรียนดาราสมุทร ผมคิดว่า คณิตศาสตร์เป็น สิ่งที่เชื่อมโยง กับธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในชีวิตประจำวันเรามีความสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์ มากมายหลายอย่างและนำมาเป็นแนวทางในการเรียน การสอนและการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและทุกๆ คน อย่างเช่น ตื่นมานั่งฟังข่าวตอนเช้าเกี่ยวกับเรื่องพยากรณ์อากาศว่า วันนี้มีเกิดฝนตก น้ำท่วม หรือ พายุ สึนามิหรือไม่ คำนวณหาความแรงและความสั่นสะเทือน วัดความชื้นของอากาศ หรือเวลาคนเราไม่สบาย ไปหาหมอก็ต้องวัดอุณหภูมิของร่างกาย และการทำสวนทำไร่ ก็ต้องมีคำนวณหาพื้นที่ ว่า เท่าไหร่ ต้องใช้ต้นไม้กี่ต้น หรือการวัดระยะทางของถนน เป็นต้น ดังนั้นทุกอย่างๆ ล้วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติทั้งสิ้น เด็กชายเจตนิพิฐ แสงเพชร ป. 6 โรงเรียนไผทอุดมศึกษา เล่าว่า ความสนใจเรื่องคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติของผมคือ ในธรรมชาติสิ่งต่างๆถูกแบ่งแยกโดยตัวเลข เช่น เรานับจำนวนกลีบดอก เพื่อแบ่งแยกพืชว่าเป็นใบเลื้ยงเดี่ยวหรือใบเลี่ยงคู่ และที่ผมสนใจก็คือใบไม้ ในใบไม้ธรรมดาใบหนึ่งทำให้คนเราคิดถึงคณิตศาสตร์ได้ เช่น การหาพื้นที่หรือแม้แต่การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ ทำให้เรียนได้เข้าใจ สนุก มีการคิดแบบไหวพริบ เช่นกบขึ้นบ่อน้ำ การที่เราได้ดูสิ่งต่างๆในธรรมชาติที่มีลักษณะภายนอกคล้ายตัวเลข ทำให้มีจินตนาการทางคณิตศาสตร์ มากกว่าเรียนในตำราและทำให้เกิดข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ ทำให้อยากรู้อยากศึกษาให้มากขึ้นต่อไป เช่นการหาความสูงของต้นไม้ การที่เราสงสัยเรื่องต่างๆเหล่านี้ทำให้เราอยากจะเรียนให้สูงขึ้นไปถึงระดับหนึ่ง เช่น การหาความสูงของต้นไม้ที่ต้องใช้ ตรีโกณ ทำให้มีแรงจูงใจในการศึกษาไปจนถึงระดับตรีโกณ และสูงขึ้นต่อๆไป เด็กหญิงอรจิรา อิทธิไมยยะ ป. 5 โรงเรียนไผทอุดมศึกษา เล่าว่า ความเห็นของหนู เข้าใจว่าโดยปกติในชีวิตประจำวันของเรา จะเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัน เวลา จำนวนนับ ระยะทาง รูปทรงเรขาคณิต ตัวอย่างเช่น วันนี้เป็นวันอะไร ขณะนี้เป็นเวลาเท่าไหร่ ในห้องเรียนหนูมีเพื่อนกี่คน แบ่งเป็นผู้ชาย-ผู้หญิงกี่คน เดินทางจากบ้านไปโรงเรียนต้องใช้ระยะทางและเวลาเท่าไหร่เท่าใด พระอาทิตย์ พระจันทร์ มีรูปร่างเป็นวงกลม กระบอกน้ำดื่มเป็นทรงกระบอก จักรยานที่หนูขี่มีล้อเป็นวงกลม วิ่งได้ด้วยการใช้แรง ความอยากรู้อยากเห็น ช่วงสงสัย ช่างสังเกต บวกกับจินตนาการ ความอดทนพยายามที่จะแสวงหาคำตอบให้กับความสงสัยของตัวเองจะเป็นต้นทุนที่ดีในการเรียนและการใช้ชีวิตของน้อง ๆต่อไปในอนาคต สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์วันนี้

นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ คว้ารางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และรางวัลต่าง ๆ จากการนำเสนอโครงการในจัดการประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (International Conference of Young Scientists : ICYS) ครั้งที่ 31 หรือ ICYS 2025 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ณ จังหวัดระยอง รศ.ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยเป็น

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโน... สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education" — ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... อ่านฟรีรับปีใหม่ นิตยสารสสวท.ออกแล้ว — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนอ่านฟรี นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251 พบกับเนื้อหาน่าสนใจ "การ...

สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือ... เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 เริ่มแล้ว — สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือข่ายพาชมฟรีหนังวิทย์ชั้นดีนานาชาติ หัวข้อ "การป...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานมหกรรมหนังสือ... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เปิดตัว "เก่งสอบ" แพลตฟอร์มข้อสอบออนไลน์ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิ...

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู... เด็กไทยคว้า 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง คอมพิวเตอร์โอลิมปิกจากอียิปต์ — รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์แ...