ปี 50 ไทยเจ๋งส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นอันดับสองของอาเซียนและเป็นอันดับ 7 ของเอเชีย

กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยผลการตรวจสอบข้อมูลการนำเข้าของประเทศต่างๆ ชี้ปี 50 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย ด้านเวียดนามมาแรงแม้ส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ น้อยแต่มีอัตราการนำเข้าจากสหรัฐฯ สูง และเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าทุกประเทศสมาชิกอาเซียน นายวีระชัย นพสุวรรณวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยผล การตรวจสอบข้อมูลการนำเข้าของประเทศต่างๆ จาก “ฐานข้อมูลบอกเหตุทางการค้า” ของกรมฯพบว่า ปี 2550 ไทยสามารถส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯได้เป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจาก มาเลเซีย ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 32,789 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสัดส่วนการครองตลาดสหรัฐฯ อยู่ร้อยละ 1.68 ถึงแม้จะมีสัดส่วนถือครองมากที่สุดในกลุ่มอาเซียน แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านสหรัฐฯ มีแนวโน้มการนำเข้าจากมาเลเซียในอัตราที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยในปี 2549 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8.45 แต่ปี 2550 ลดลงถึงร้อยละ 10.25 ในส่วนของไทยในปี 2550 สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย 22,752 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสัดส่วนการครองตลาดร้อยละ 1.16 ไทยมีแนวโน้มการถือครองตลาดสหรัฐฯ ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง โดยในปี 2548 ร้อยละ 1.19 ปี 2549 ร้อยละ 1.21 และอัตราการนำเข้าของสหรัฐฯจากไทยยังคงเพิ่มขึ้นในปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.95 ส่วนปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.28 เมื่อเปรียบเทียบกับ 10 อันดับแรกของโลก จีนยังคงเป็นประเทศที่ครองตลาดสหรัฐฯได้เป็นอันดับหนึ่ง โดยในปี 2550 สหรัฐฯ นำเข้าจากจีนมูลค่า 321,507 ล้านเหรียญสหรัฐ จีนครองตลาดสหรัฐฯได้ถึงร้อยละ 16.5 รองลงมา คือ แคนาดา ร้อยละ 16.03 เม็กซิโก ร้อยละ 10.8 ญี่ปุ่นร้อยละ 7.45 เยอรมัน ร้อยละ 4.83 อังกฤษ ร้อยละ 2.91 เกาหลีใต้ ร้อยละ 2.43 ฝรั่งเศส ร้อยละ 2.13 เวเนซูเอล่า ร้อยละ 2.04 และไต้หวัน ร้อยละ 1.96 สำหรับประเทศไทยเป็นอันดับที่ 18 ร้อยละ 1.16 หากเปรียบเทียบเฉพาะในเอเชีย พบว่า ปี 2550 สหรัฐฯ มีการนำเข้า 5 อันดับแรกจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และมาเลเซีย ส่วนอันดับ 6 และอันดับ 7 คือ อินเดีย และไทย ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียน 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯ นำเข้ามาก คือ มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ตามลำดับ และถึงแม้เวียดนามซึ่งเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ห้าของอาเซียน และในระยะ 3-4 ปี ที่ผ่านมามีสัดส่วนการถือครองตลาดเพียงประมาณร้อยละ 0.3 - 0.5 แต่อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีอัตราการนำเข้าจากสหรัฐฯ ในอัตราที่สูงขึ้น คือ จากปี 2547 – 2550 อัตราการนำเข้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.82,25.70 ,29.19 และ 24.12 ตามลำดับซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าทุกประเทศสมาชิกอาเซียน นายวีระชัย นพสุวรรณวงศ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีฐานข้อมูลบอกเหตุทางการค้า นำเสนอสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทยให้แก่ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ส่งออก ฯลฯ เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรมฯ (http://www.dtn.go.th) รวมทั้งทำการติดตามความเคลื่อนไหวทางการค้าระหว่างประเทศและสถานะของไทยในเวทีโลกได้อย่างใกล้ชิด หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 02-5077453 , 02-5077508 ,02-5077354

ข่าวกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ+วีระชัย นพสุวรรณวงศ์วันนี้

ภาพข่าว: “ประตูการค้าอเมริกาใต้”

วีระชัย นพสุวรรณวงศ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเวทีสาธารณะเรื่อง “FTA ไทย-เปรู เปิดประตูการค้าอเมริกาใต้” และ “ FTA ไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป” จัดโดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยมี บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าฯ, ฐิติเศรษฐ์ เศรษฐบุตร นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมเจรจาการค้าฯ, สุรชัย ภักดิ์วิไลเกียรติ สภาธุรกิจไทย-ลาตินอเมริกา สภาหอการค้าไทย, รศ.ดร.สมจินต์ สันถวรักษ์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช และ

ภาพข่าว: เปิดการสัมมนา

วีระชัย นพสุวรรณวงศ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “รู้ทันเปิดเสรีโลจิสติกส์ในอาเซียน” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จัดโดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ณ ห้องควีนส์ปาร์ค 1 โรงแรมอิมพี...

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกั... DEK ธุรกิจระหว่างประเทศ SPU บุกงาน FTA Fair เปิดโลกการเรียนรู้ ธุรกิจส่งออก Soft Power ไทยสู่สากล — คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ กรมเจรจาการ...

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย... เชิญร่วมงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา FTA ไทย-กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (Pacific Alliance) — กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลย...