ผู้ประกอบกิจการโรงงานฯ พร้อมใจเร่งยกระดับ เตรียมรับใบเกียรติบัตร ความภาคภูมิใจของการมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืน

กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--เบรนเอเซีย

โครงการยกระดับการประกอบกิจการโรงงาน ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานโรงงานชั้นดี ปี 2550 โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม แนะแนวทางการยกระดับการประกอบกิจการโรงงานเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการ พร้อมมอบใบเกียรติบัตรรับรองแก่ผู้ประกอบการโรงงานขนาดย่อมที่เข้าร่วมโครงการและพัฒนายกระดับสู่ความก้าวหน้ายั่งยืน หลังการร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการยกระดับการประกอบกิจการโรงงาน ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานโรงงานชั้นดี ซึ่งมีผู้ประกอบการมาร่วมงานกว่า 100 ราย นายรัชดา สิงคาลวณิช อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการว่า จากการดำเนินงานโครงการยกระดับการประกอบกิจการโรงงาน ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานโรงงานชั้นดี ปี 2550 ซึ่งเป็นโครงการนำร่องระยะ 6 เดือน เมื่อเดือนเมษายนเป็นต้นมา ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการมาสู่ช่วงสุดท้ายของโครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างการยกระดับโรงงานทั้ง 4 กลุ่ม ตามประเภทอุตสาหกรรม คือ 1. กลุ่มโรงงานประเภทไม้แปรรูปและของใช้จากไม้ โรงผลิตโลหะ(กลึง ขึ้นรูป) โรงหล่อโลหะ 2. กลุ่มโรงงานประเภท พลาสติก สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 3. กลุ่มโรงงานประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องประดับ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 4. กลุ่มโรงงานประเภทอาหาร โรงน้ำแข็ง และอื่น ๆ ทีมผู้เชี่ยวชาญได้เข้าตรวจเยี่ยมโรงงานขนาดย่อม 3 ครั้ง โดยให้คำแนะนำปรึกษาและความรู้เกี่ยวกับการพัฒนายกระดับแก่โรงงาน ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในโรงงานจะแตกต่างกันไปตามประเภทของอุตสาหกรรม ได้แก่ ปัญหาผลผลิตต่ำเพราะใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม ปัญหาการขาดองค์ความรู้ที่จะเกื้อหนุนการพัฒนาการผลิต ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองและเสียงที่ก่อความรำคาญให้ชุมชน ปัญหาความปลอดภัยและมลภาวะที่มีผลกระทบสุขอนามัยของพนักงาน ปัญหาความสะอาดและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ผู้ประกอบการโรงงานขนาดย่อมต่างพร้อมใจให้ความร่วมมือในการพัฒนาปรับปรุงโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี เพราะตระหนักว่า การเข้าร่วมโครงการฯ นี้ มีส่วนช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนและเสริมประสิทธิภาพผลิตผล ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ระบบการจัดการ เสริมสร้างความปลอดภัย สุขอนามัยที่ดี ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงและมีการแข่งขันกันสูง สำหรับแนวทางการยกระดับการประกอบกิจการโรงงานนั้น เริ่มจาก 1.กรมโรงงานอุตสาหกรรมจะให้ที่ปรึกษาตรวจสอบโรงงานที่ได้รับเกรด D ทั้งหมด 491 ราย เพื่อประเมินผลว่าโรงงานแต่ละรายมีข้อบกพร่องในเรื่องใด โดยการทำ Gap Analysis 2.จัดระดับความสำคัญของข้อบกพร่องที่ควรดำเนินการเร่งด่วนก่อนรวมทั้งความสมัครใจของ ผู้ประกอบการด้วย 3.ยกระดับโดยการจัดกิจกรรม แนวทางปฏิบัติที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้ความช่วยเหลือและให้การปรึกษา ช่วยแก้ปัญหา จนกระทั่งสภาพการประกอบการดีขึ้นตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ 4.ตรวจประเมินผลเพื่อจัดระดับอีกครั้งโดยผู้ชำนาญการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบเพื่อการยืนยันว่าผู้ประกอบการได้มีการประกอบกิจการที่ดีขึ้นจริง โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้คำแนะนำและวิธีการปฏิบัติในการยกระดับโรงงานเพื่อประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ ความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการยกระดับเพิ่มเติม ได้แก่ 1.โรงงานถูกจัดระดับให้เป็น โรงงานชั้นดี โดยมีเอกสารรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2.ได้รับการผ่อนผันการตรวจสอบกำกับดูแลโรงงาน 3.ได้รับการบริการจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รวดเร็ว ไม่ต้องตรวจสอบโรงงานก่อน เช่น การต่ออายุใบอนุญาตโรงงานดำเนินการได้ภายใน 1 ชั่วโมง 4.สภาพแวดล้อมและสุขอนามัยภายในโรงงานดีขึ้น ลดต้นทุน สร้างมูลค่าและผลผลิตเพิ่มมากขึ้น 5.ได้รับการส่งเสริมการพัฒนาในโครงการต่าง ๆ ของกรมโรงงาน อุตสาหกรรมเพื่อให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กำหนดจัดงานมอบใบเกียรติบัตรรับรองแก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการยกระดับ ฯ ปี 2550 พร้อมทั้งการแถลงผลงานของโครงการ รวมถึงความต่อเนื่องถึงแผนงานในอนาคตของโครงการยกระดับ ฯ ปีต่อไป ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันของผู้ประกอบการโรงงานที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่าและก้าวไกลไปกับโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นการผนึกกำลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ประกอบการในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยที่ยั่งยืน

ข่าวกรมโรงงานอุตสาหกรรม+กระทรวงอุตสาหกรรมวันนี้

กทม. เข้มตรวจใบอนุญาตฯ-สุขลักษณะโรงเชือดไก่ 8 รายใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 44

นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อร้องเรียนจากการประกอบกิจการโรงงานเชือดไก่ในซอยปรีดีพนมยงค์ 44 เขตวัฒนาว่า จากการตรวจสอบสถานที่ถูกร้องเรียนคือ โรงฆ่าไก่ 8 ราย มีใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ อภ.2 จากสำนักงานเขตวัฒนา กทม. และมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สนอ. ได้ประสานแนะนำแจ้งให้สำนักงานเขตประสานกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมตรวจสอบด้านสุขลักษณะ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหก... ดานิลี่ ได้รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 — กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จัดพิธีมอบรางวัล CSR-DIW Continuous...

บริษัทยูนิไทยชิปยาร์ดฯ รับรางวัลสถานประกอ... บริษัทยูนิไทยชิปยาร์ดฯ รับรางวัลสถานประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 — บริษัทยูนิไทยชิปยาร์ดฯ รับรางวัลสถานประกอบการที่มีความรับผ...

นางสาวปาร์ย อรรถพิสาล รองประธานเจ้าหน้าที... NER รับรางวัล CSR-DIW Award 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สะท้อนความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน — นางสาวปาร์ย อรรถพิสาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานพัฒ...

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดกา... ดั๊บเบิ้ล เอ รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award 2024 ต่อเนื่อง — นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ เข้ารับโล่และเกียรติบัตร CSR-...

บริษัท คิงส์สเตลล่ากรุ๊ป จำกัด (King's St... King's Stella Group คว้ารางวัล CSR-DIW Continuous Award 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 — บริษัท คิงส์สเตลล่ากรุ๊ป จำกัด (King's Stella Group) ได้รับโล่รางวัลแล...

ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยคว... ซีเค พาวเวอร์ คว้ารางวัล CSR DIW Continuous Awards 2024 ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน — ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เมื่อ...