คณะกรรมการเตรียมการศึกษาการใช้พลังงานนิวเคลียร์เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 6 คณะ

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--กฟผ.

คณะกรรมการเตรียมการศึกษาการใช้พลังงานนิวเคลียร์เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 6 คณะ เพื่อจัดทำแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ (NPIEP) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพื่อรองรับแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ทันตามแผน PDP 2007 ที่ระบุไว้ในปี 2563-2564 นายกอปร กฤตยากีรณ ประธานกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาความเหมาะสมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการทำงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ในการประชุมนัดแรก ที่ประชุมมีมติเห็นชอบถึงแผนและแนวทางการทำงานเพื่อจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมรองรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บรรจุไว้ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2007) ซึ่งกำหนดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2563 2,000 เมกะวัตต์ และปี 2564 2,000 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ แนวทางการทำงานเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเตรียมความพร้อมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งจะเป็นการศึกษาความเหมาะสมของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การวางแผนงาน และการก่อสร้างนั้น กพช.ได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนที่ 2 การวางแผนงานด้านโครงสร้างพื้นฐานของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ที่ประชุมได้กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 6 ชุด เพื่อยกร่างแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Power Infrastructure Establishment Plan : NPIEP) ดังนี้ 1. คณะอนุกรรมการด้านระบบกฎหมาย ระบบกำกับ และข้อผูกพันระหว่างประเทศ 2. คณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ 3. คณะอนุกรรมการด้านการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี และด้านการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4. คณะอนุกรรมการด้านการคุ้มครองความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 5. คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการยอมรับของสาธารณะ 6. คณะอนุกรรมการด้านการประสานแผนรวมและตารางเวลาการดำเนินงาน ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการทั้ง 6 ชุด จะร่วมกันยกร่างแผนดำเนินงานจัดตั้ง NPIEP โดยจะเสนอร่างฉบับแรกภายในไตรมาส 3 ของปี 2550 และจะเสนอแผนงานฉบับสมบูรณ์ภายในรัฐบาลชุดนี้ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

ข่าวพลังงานนิวเคลียร์+ก่อสร้างโรงไฟฟ้าวันนี้

SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง

"เล็กพริกขี้หนู" หรือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" คงเป็นนิยามของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR (Small Modular Reactor) สำหรับคนที่รู้จัก SMR แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จัก SMR มาก่อนอาจจะสงสัยและกังวลขึ้นมา เพราะชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ "ภาพจำที่ชัดเจน" ของประสบการณ์ในอดีตคงย้อนกลับมาอย่างรวดเร็วว่าเกิดเหตุการณ์อะไรกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันบ้าง ซึ่งการเกิดเหตุการณ์ในอดีตเป็นยุคของการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีมาตั้งแต่ 3 ยุคแล้ว ยุคที่ 1 โปโตไทป ยุคที่ 2 ประมาณปี 1970 ยุคที่ 3 ประมาณปี 2000

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง... วว. คว้า 2 รางวัลเชิงคุณภาพมาตรฐานครบถ้วน OAP Award จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ — รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยแ...

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเ... เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ประกาศความสำเร็จของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หัวหลง-1 — เมื่อวันที่ 25 มีนาคม โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฝูชิงหมายเลข...

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Hualong One เครื่องแรกของโลกเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว

บริษัท ไชน่า เนชั่นแนล นิวเคลียร์ คอร์ป (CNNC) ประกาศเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมาว่า โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฝูชิงหมายเลข 5 ซึ่งเป็นโครงการแรกของโลกที่ใช้ Hualong One เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์รุ่นที่ 3 ของจีน...

เผย 6 หลักชัยสำคัญในการสร้างความร่วมมือด้... Shanghai Electric ฉลองครบรอบ 27 ปี การดำเนินธุรกิจในปากีสถาน — เผย 6 หลักชัยสำคัญในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน สะท้อนความสัมพันธ์ทางธุรกิจอันแข็งแกร่งข...

ขณะที่พลังงานความร้อนและพลังงานนิวเคลียร์... 5 สิ่งที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับ “พลังงานไฮโดรเจน” — ขณะที่พลังงานความร้อนและพลังงานนิวเคลียร์ยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่เราใช้กันทุกวันนี้ ความสนใจพลั...