อุตสาหกรรมเครื่องหนังไทย … กำลังเผชิญวิกฤติจริงหรือ ?

กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--ธนาคารกรุงเทพ

จากการศึกษาของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องหนังของไทยได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ตัวเลขการใช้กำลังการผลิตและดัชนีผลผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องหนังไทยของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา จนถึงกันยายน 2549 อัตราการใช้กำลังการผลิตได้ลดต่ำสุดเหลือเพียงร้อยละ 26.9 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 32.0 แม้ว่าในเดือนตุลาคม อัตราการใช้กำลังผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 41.0 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะอยู่ที่ร้อยละ 49.8 ก็ตาม ยิ่งกว่านั้นมูลค่าส่งออกหนังและผลิตภัณฑ์ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ก็ลดลงร้อยละ 6.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยกำลังเผชิญวิกฤตหรือไง และแนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยจะไปในทิศทางใดกันแน่ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าตารางอัตราการใช้กำลังการผลิตและดัชนีผลผลิตของผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เป็นข้อมูลจากแบบสอบถามผู้ประกอบการจำนวนหนึ่ง ไม่ใช่จากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทั้งหมด และส่วนใหญ่เป็นข้อมูลการผลิตกระเป๋าหนังแท้ ซึ่งแสดงว่าไม่รวมผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ เช่น หนังฟอก เครื่องแต่งกายทำด้วยหนัง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ จึงไม่ควรด่วนสรุปว่าผู้ประกอบการเครื่องหนังทั้งหมดของไทยกำลังมีปัญหา โดยพิจารณาจากเครื่องชี้นี้เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้แม้ในภาวะที่การผลิตกระเป๋าหนังลดลง แต่มูลค่าส่งออกกลับเพิ่มขึ้นคือ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 มูลค่าส่งออกกระเป๋าหนังแท้รวมได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อแยกเป็นพิกัดย่อยแล้ว พบว่ามีเพียงกระเป๋าขนาดเล็กเท่านั้นที่มีมูลค่าลดลงบ้าง คือ ลดลงร้อยละ 0.6 ขณะที่มูลค่าส่งออกกระเป๋าเดินทางและกระเป๋าชนิดอื่นๆ เช่น กล่องใส่ของมีคม กล่องแป้ง ได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง กล่าวคือ เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 45.5 และ 38.1 ตามลำดับ รวมถึงกระเป๋าถือก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ด้วย แสดงว่าตลาดที่มีปัญหาคือ ตลาดในประเทศ ยิ่งกว่านั้นจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการยังพบว่าปัจจุบันเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตมีความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถปรับ เปลี่ยนสายการผลิต หรือเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องหนังได้ง่ายตามความต้องการของลูกค้า เช่น กระเป๋าธนบัตร กระเป๋าเดินทาง เข็มขัด พวงกุญแจ หรือแม้แต่ปกสมุดบันทึก หรือปกหนังสือต่างๆ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการแต่ละรายนอกจากผลิตสินค้าที่ทำจากหนังแท้แล้ว ยังใช้วัสดุอื่นๆ ด้วย เช่น หนังเทียมที่ทำจากผ้า PU, PVC เป็นต้น ทำให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้า อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าผลิตภัณฑ์เครื่องหนังมีการแข่งขันสูงมากทั้งจากในและต่างประเทศ ตลาดในประเทศ ปัจจุบันการผลิตเครื่องหนังทั้งแท้และหนังเทียมของไทย ต้องปรับเปลี่ยนจากสินค้าในระดับล่างมาผลิตสินค้าในระดับกลางและสูงมากขึ้น ด้วยการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงมาผลิต ซึ่งผู้ผลิตบางรายที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่องหมายการค้าชั้นนำจากต่างประเทศ จะสามารถผลิตสินค้าสนองตอบความต้องการในประเทศได้อย่างเพียงพอและมีราคาถูกเมื่อเทียบกับสินค้านำเข้าที่มีตราสินค้า แต่ผู้ผลิตสินค้าในระดับล่างต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากจากสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีน ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนปริมาณการนำเข้ากระเป๋าหนังจากจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เทียบกับปริมาณการนำเข้ากระเป๋าหนังทั้งหมดของไทย คือ จากร้อยละ 39.8 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 79.8 ในปี 2548 และร้อยละ 82.5 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไม่สามารถปรับเพิ่มราคาขายได้มากนัก แม้ต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้น ส่วน ตลาดส่งออก ต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงทั้งจากจีน ซึ่งได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประณีตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เวียดนามและอินเดียที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในตลาดโลกและการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท ล้วนส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าไทยยังมีความได้เปรียบในการแข่งขันด้านฝีมือความละเอียดมากกว่าจีนและเวียดนาม ทั้งนี้ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เสนอแนะว่า - จากการแข่งขันที่สูงทั้งจากในและต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย โดยเน้นรูปแบบแฟชั่นและควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยการลดต้นทุนโดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ใช่ค่าจ้างแรงงาน เช่น การลดขั้นตอนหรือระยะเวลาในการทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้ การสร้างตราสินค้าไทยเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นพื้นฐานในการก้าวไปสู่อนาคตอย่างมั่นคง แต่จำเป็นต้องใช้เวลา ซึ่งอาจยาวนานถึงรุ่นลูกหรือรุ่นหลานก็ได้ แต่หากไทยยังไม่เริ่มทำก็จะเป็นเพียงแหล่งรับจ้างผลิต ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบและค่าแรงสูงขึ้นเป็นลำดับ จะส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยน้อยกว่าคู่แข่ง - กว่าร้อยละ 90 ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องหนังเป็น SMEs ทำอย่างไรจึงสร้างความได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการเหล่านั้นได้ SMEs จะมีจุดแข็งด้านความคล่องตัว ขณะที่ผู้ประกอบการ รายใหญ่ได้เปรียบด้านเงินทุน ดังนั้น SMEs ควรใช้ความคล่องตัวของตนเองให้เป็นประโยชน์ ด้วยการหาจุดเด่นของตนเอง เพื่อสร้างความแตกต่างของตัวสินค้า โดยเน้นตลาด Niche Market เป็นหลัก - ปัญหาสำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมนี้คือ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน รวมถึงการขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญ เนื่องจากเครื่องหนังเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่พึ่งพาการใช้แรงงานสูง การฝึกอบรมและให้ความรู้แก่แรงงานจึงเป็นสิ่งจำเป็น - ผู้ประกอบการควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรับทราบแนวโน้มของสินค้า และความต้องการของตลาดเป้าหมาย เพราะวิถีทางเดียวที่เครื่องหนังไทยจะแข่งขันได้คือ คุณภาพและแฟชั่น

ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ+อุตสาหกรรมเครื่องหนังวันนี้

ทิสโก้แนะกระจายซื้อ "บอนด์สั้น" หวั่นหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐาน

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) คาดตลาดหุ้นสหรัฐฯ จ่อปรับฐานในไตรมาส 4 รับ 2 ปัจจัย คือ 1. ราคาหุ้นแพง 2. ความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้ง แนะกระจายความเสี่ยงพอร์ตลงทุนไปยังตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนดีช่วงอัตราดอกเบี้ยขาลง นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 4/2567 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสปรับฐานจาก 2 ปัจจัยคือ 1. ราคาหุ้นแพง และรับข่าวธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปมากแล้ว 2. ความไม่

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (T... ทิสโก้เผย Fed ลดดอกเบี้ยมากกว่าคาด ชี้! ปีนี้อาจลดต่ออีก 0.5% และปี 68 ลงอีก 1 - 1.25% — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ชี้ ธนาคารกลาง...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (T... TISCO ESU ฟันธง ! เศรษฐกิจโลกปี 67 ชะลอตัว ชี้ 'พันธบัตรโลก' สร้างผลตอบแทน 8 -15 % ดีกว่าหุ้น — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ชี้เศรษ...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (T... ทิสโก้เปิดสถิติ 6 สงครามสำคัญ คาดระยะสั้นบอนด์ยิลด์ - น้ำมัน ราคาทองขึ้นจำกัด — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) เปิดสถิติความเคลื่อนไหว...

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปีนี้เป็นปีที่มีปรากฏ... finbiz by ttb ชี้ผลกระทบจาก "เอลนีโญ" ต่อภาคธุรกิจ ตอกย้ำการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน — เป็นที่ทราบกันดีว่า ปีนี้เป็นปีที่มีปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" ซึ่งจะทำ...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ ยั... ทิสโก้คาด ! ปี 67 "ตราสารหนี้" กำไรดีกว่า "หุ้นโลก" แถมช่วยกระจายเสี่ยง รับมือเศรษฐกิจชะลอ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ ยังคงแนะนำนักลงทุนลดน...

ttb analytics ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 ลงเหลือ 2.8% หลังโมเมนตัมโลกแผ่วกว่าคาด มอง 2 ข้อสังเกตหวั่นกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยระยะยาว

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2566 ลงจาก 3.2% เป็น 2.8% และปี 2567 จาก 3.6% เป็น 3.2% ตามลำดับ หลัง...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ลงทุนทิสโ... ทิสโก้ย้ำ ซื้อบอนด์ ลดหุ้น เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน 4 -10% ใน 1 ปี — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ลงทุนทิสโก้ (TISCO ESU) ชี้ ลงทุนตราสารหนี้สหรัฐฯ อายุ ...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้แนะ... ทิสโก้แนะเพิ่มพอร์ต "ตราสารหนี้" รับยีลพุ่ง หนีเศรษฐกิจทรุด สภาพคล่องลด — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้แนะลูกค้าเพิ่มน้ำหนักลงทุนในตราสารหนี้ รับ...

ในปัจจุบันทุกธุรกิจกำลังตื่นตัวเรื่องการพ... แนวคิด ESG ผลักดันตลาดรถ EV พุ่ง finbiz by ttb แนะโอกาส SME ต่อยอดธุรกิจ — ในปัจจุบันทุกธุรกิจกำลังตื่นตัวเรื่องการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนจากแนวคิด ESG เช...