ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมญี่ปุ่นเผยตัวยาใช้บ่อยอาจมีอันตรายถึงชีวิต

กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมญี่ปุ่น เผยยาบางตัว อาจกลายเป็นยาอันตรายหากใช้ไม่เหมาะสมกับปริมาณร่างกายต้องการ อินซูลิน-วาร์ฟาร์ลิน- อม็อกซี่ ครองแชมป์ส่งคนเข้าไอซียูสูงสุด ชี้ตรวจยีนเป็นทางออกให้ยาตรงโรคในปริมาณเหมาะสม เตรียมพัฒนาใช้เวลาวิเคราะห์ผลเพียง 80 นาที จากเดิม 2 สัปดาห์ เชื่อสามารถรักษาชีวิตคนป่วยได้มาก ในโอกาสที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) ได้เชิญ ศ.ดร.ยูซุเกะ นากามูระ ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชพันธุศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์พันธุกรรมมนุษย์ มหาวิทยาลัยโตเกียว มาบรรยายให้กลุ่มแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยในหัวข้อ “Whole Genome Scan Identification Risk” เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคและการตอบสนองต่อยานั้น ศ.ดร.ยูซุเกะ กล่าวตอนหนึ่ง ว่า ในอดีตคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเดียวกันจะใช้ยาขนาดและชนิดเดียวกัน เช่นยา วาร์ฟาร์ลิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ละลายลิ่มเลือด ไม่ให้แข็งตัวไปอุดตันสมอง ซึ่งจากการศึกษาจากประชากรญี่ปุ่นต่อการใช้ยาดังกล่าวนี้พบว่าผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อยาแตกต่างกันมาก บางคนได้รับยาเพียง 0.5 มิลลิกรัมก็ตอบสนองยาได้ดี ขณะที่บางคนต้องให้ยาถึง 10 มิลลิกรัม จึงจะได้ผลในการรักษา “จะเห็นว่า 2 กรณีมีความต่างกันถึง 25 เท่า หากให้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสมก็จะเกิดอันตรายต่อตัวคนไข้ได้ บางรายรุนแรงจนถึงขึ้นเลือดออกในสมองและลำไส้ ซึ่งจากการศึกษาคนไข้ 2,000,0000 คนพบว่า มีคนไข้ถึง 85,000 คน ที่เกิดภาวะดังกล่าวต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วง” ศ.ดร.ยูซุเกะ กล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชพันธุศาสตร์จากแดนอาทิตย์อุทัย ยังกล่าวด้วยว่า หากผู้ให้การรักษาไม่มีความรู้ในความต่างของแต่ละบุคคล นอกจากจะทำให้เกิดผลเสียต่อการรักษาโดยตรงแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นอีกด้วย ซึ่งตัวอย่างของยาที่เป็นที่รู้จักกันดี และเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลเสียได้ หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ อินซูลิน วาร์ฟาร์ลิน เพนนิซิลิน อม็อกซี่ ฯลฯ ดังนั้นก่อนการรักษาควรต้องมีการตรวจยีนเพื่อลดความเสี่ยงในการรักษา “ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ได้พัฒนาเครื่องตรวจวิเคราะห์ยีน เพื่อให้สามารถอ่านผลได้ภายใน 80 นาที จะสามารถทราบผลว่า ผู้ป่วยรายใด ต้องใช้ยาอะไรในปริมาณมากน้อยแค่ไหน จากเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ และในอนาคตจะพัฒนาให้เหลือ 30 นาที เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาคือ ปลอดภัย ได้ผลและประหยัด ” ศ.ดร.ยูซุเกะ กล่าว สำหรับศูนย์พันธุกรรมมนุษย์ของ ศ.ดร.ยูซุเกะนั้น สามารถวิเคราะห์ SNP ได้ถึง 500 ล้าน SNP เนื่องจากมีเครื่องมือที่ทันสมัย จากการทดสอบพบว่ามีความถูกต้องถึง 99.98% ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาผู้ป่วยเกี่ยวกับการตอบสนองต่อยาในการรักษาด้วย นอกจากนี้ยังดำเนินโครงการ Hapmap กับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ศึกษาความแตกต่างระหว่างเผ่าพันธุ์ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ ชนผิวขาวแถบยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เพื่อดูความแตกต่างของพันธุกรรม หาความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างกันมาก ดังนั้นการให้ยาในการรักษาจึงต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+มหาวิทยาลัยโตเกียววันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...

16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว... TCELS พาผู้ประกอบการไทยบุกตลาดโลก ในงาน Cosmetic 360 ปารีส — 16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นำโดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจ...

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์... TCELS จัดอบรมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา TRIUP Act และ FTO — ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) จัดอบรมหลักสูตร "ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ...