SCIB ระดมเงินฝากผ่านตั๋วแลกเงิน 1 หมื่นล้าน

กรุงเทพฯ--1 มี.ค.--ธ.นครหลวงไทย

ธนาคารนครหลวงไทยชูจุดเด่นบริการตั๋วแลกเงินที่คล่องตัวสูงและใช้ค้ำประกันสินเชื่อได้ ขยายฐานเงินฝากอีก 1 หมื่นล้านบาท รองรับการแข่งขันการหาเงินฝากในระบบ พร้อมพ่วงบริการเก็บรักษาหลักทรัพย์หรือคัสโตเดียนแก่ผู้ถือตั๋ว เพื่อการบริการที่ครบวงจรแก่ลูกค้า นางทัศนา รัชตโพธิ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารตั้งเป้าที่จะระดมเงินฝากผ่านบริการ “สคิบ บี/อี” (SCIB B/E) หรือบริการตั๋วแลกเงินเพื่อกู้ยืมจากประชาชน (Bills Of Exchange : B/E) ทั้งประเภทเปลี่ยนมือผู้ถือตั๋วแลกเงินและไม่สามารถเปลี่ยนมือประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยเน้นกลุ่มลูกค้าเงินฝากขนาดกลางและขนาดใหญ่ ตลอดจนกลุ่มลูกค้าที่ต้องการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถให้ผลตอบแทนได้ระดับหนึ่งในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ซึ่งปัจจุบันธนาคารเสนออัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประมาณ 0.25-0.50% ต่อปี โดยขึ้นอยู่กับแต่ละวงเงิน ทั้งนี้ผู้ลงทุนสามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการเงินในการบริหารสภาพคล่องของภาคธุรกิจ ตลอดจนใช้สำหรับการค้ำประกันสินเชื่อได้อีกด้วย ขณะเดียวกันก็ยังเป็นการเพิ่มช่องทางการระดมเงินฝากผ่านบริการใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยทำให้การบริหารต้นทุนทางการเงินของธนาคารมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้เปิดให้บริการดูแลและเก็บรักษาตั๋วแลกเงิน (Custodian) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าภายใต้มาตรฐานเดียวกับการดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ของกองทุนวายุภักษ์ที่ปัจจุบันธนาคารเป็นผู้ให้บริการอยู่ โดยตั๋วแลกเงินมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท คิดค่าธรรมเนียมฉบับละ 500 บาท ส่วนตั๋วแลกเงินมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียมฉบับละ 1,000 บาท และในอนาคตธนาคารยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบให้ผู้ถือตั๋วแลกเงินสามารถขึ้นเงินผ่านสาขาทุกแห่งของธนาคารทั่วประเทศได้อีกด้วย “สำหรับแนวทางการลงทุนสำหรับผู้ฝากเงินมองว่า หากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงจริงผู้ฝากก็น่าจะปรับระยะเวลาการฝากให้เป็นระยะยาวขึ้น หากดอกเบี้ยมีแนวโน้มคงที่หรือเพิ่มขึ้นก็น่าจะฝากระยะสั้น แต่การตัดสินใจจะฝากสั้นหรือยาวนั้นผู้ฝากต้องรอตัวเลขทางเศรษฐกิจที่จะประกาศออกมาในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสต่อไปว่าจะเป็นไปในทิศทางใด” นางทัศนา กล่าว ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินระยะเวลา 7 วัน เท่ากับ 3.50% ต่อปี ระยะเวลา 14 วัน เท่ากับ 3.75% ต่อปี ระยะเวลา 30 วัน เท่ากับ 4.00% ต่อปี ระยะเวลา 3 เดือน เท่ากับ 4.00-4.50%ต่อปี ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน เท่ากับ 4.25-4.50% ต่อปี

ข่าวค้ำประกันสินเชื่อ+ธนาคารนครหลวงไทยวันนี้

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมมือ ฟลิปส์ อินโนเวทีฟ พัฒนาแพลตฟอร์ม 'Flips IP' เปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ดันวงการเพลงไทยโตยั่งยืน

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญา และบริษัท ฟลิปส์ อินโนเวทีฟ จำกัด เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม Flips IP นวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยให้ 'ลิขสิทธิ์เพลง' สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อ โดยได้รับความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปินและค่ายเพลงสามารถแปลงลิขสิทธิ์เพลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) และระดมทุนผ่านการทำ ICO ภายใต้การกำกับดู

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการ... บสย. หนุน Soft Power จิวเวลรี่ ลำพูน ยกระดับ "หัตถกรรม" สู่ "หัตถอุตสาหกรรม" — นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหก...

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ... บสย. ต้อนรับ รมว.คลัง ในโอกาสเยี่ยมชม การดำเนินงานค้ำประกันสินเชื่อ — บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นำโดย นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและ...

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการ... บสย. ลุยช่วยผู้ประกอบการ จัด "บสย. SMEs เข้มแข็ง" — นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเ...

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการ... บสย.ปลื้ม "จับคู่กู้ค้ำ" ตอบรับดี ดีมานด์สินเชื่อพุ่ง 2,400 ล้านบาท — นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่...

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการ... บสย. จัดประชุมพนักงานทุกระดับ — นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นประธานจัดงานประชุม "The...

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ... บสย. เตือนอย่าหลงเชื่อเพจเฟสบุ๊ค อ้างปล่อยกู้เงิน — บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ เพจเฟสบุ๊ค "สินเชื่อฉุกเฉิน...