กระทรวงพลังงาน โชว์ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ โครงการน้ำมันเขียว และโครงการน้ำมันม่วง ส่งผลให้น้ำมันเถื่อนลดน้อยลง

กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--กระทรวงพลังงาน

กระทรวงพลังงาน โชว์ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ โครงการน้ำมันเขียว และโครงการน้ำมันม่วง ส่งผลให้น้ำมันเถื่อนลดน้อยลง คิดเป็นเงินช่วยเหลือผู้ใช้น้ำมันสาขาประมงถึงปัจจุบันกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่โครงการน้ำมันม่วงถือ เป็นการแก้ปัญหาน้ำมันแพงให้กับชาวประมงริมฝั่งให้สามารถประกอบอาชีพ และคงอุตสาหกรรมประมงให้อยู่ได้ และ ไม่เกิดภาระกับสังคม นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า นโยบายการช่วยเหลือผู้ใช้น้ำมันในส่วนของชาวประมง รัฐบาลได้ให้ความดูแลและเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 5 ปี โดยจัดหาน้ำมันคุณภาพดีและราคาถูกให้แก่ชาวประมงตามโครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง (โครงการน้ำมันเขียว) และโครงการจำหน่ายน้ำมันในทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง (โครงการน้ำมันม่วง) เพื่อให้เรือประมงสามารถใช้น้ำมันที่มีคุณภาพดี ราคาต่ำกว่าบนบก มีปริมาณครบถ้วน และถูกต้องตามกฎหมายทั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลัก ประกอบด้วย 1. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) 2. กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) 3. กรมสรรพสามิต 4. กรมศุลกากร 5. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 6. กรมประมง และ 7. องค์การสะพานปลา โดยมีคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร (โครงการน้ำมันเขียว) และคณะกรรมการประสานงานโครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง (โครงการน้ำมันม่วง) เพื่อเข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการจำหน่ายน้ำมันเขียวให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องหรือในเขต 12-24 ไมล์ทะเล ถือว่าได้รับผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง เพราะสามารถพัฒนาระบบป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันได้เป็นอย่างดี สามารถป้องกันการนำเข้าน้ำมันเถื่อนทางทะเลให้ลดน้อยลง ขณะที่ปัจจุบันราคาน้ำมันเขียวถูกกว่าบนฝั่งลิตรละ 6 บาท จากการช่วยเหลือของภาครัฐ ด้วยการยกเว้นภาษีอากร และงดเว้นเงินเรียกเก็บเข้ากองทุนต่างๆ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มชาวประมงให้สามารถประกอบอาชีพได้ และสามารถลดผลกระทบน้ำมันแพง โดยปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเขียวตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2544-30 มิถุนายน 2549 จำนวนทั้งสิ้น 4,276 พันล้านลิตร หรือเฉลี่ยเดือนละ 68 ล้านลิตร คิดเป็นเงินที่รัฐได้ให้ความช่วยเหลือสำหรับโครงการทั้งสิ้น 25,656 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 และโรงกลั่นน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 7 ราย ได้แก่ ปตท. เชลล์ ทีพีไอ คาล์เท็ก โรงกลั่นไทยออยล์ โรงกลั่นสตาร์ และโรงกลั่นระยอง มีผู้จัดจำหน่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องจำนวน 25 ราย และเรือบรรทุกน้ำมันและสถานีบริการ (Tanker) จำนวน 69 ลำ โดยมีเรือประมงที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 9,940 ลำ ด้านโครงการจำหน่ายน้ำมันในทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง (โครงการน้ำมันม่วง) โดยในช่วงวันที่ 8 เมษายน 2548 – 7 มีนาคม 2549 ซึ่งเป็นการจำหน่ายบนบกสามารถลดผลกระทบจากน้ำมันดีเซลมีราคาแพงเพื่อช่วยเหลือชาวประมงชายฝั่ง และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549 ให้ใช้น้ำมันคุณภาพเช่นเดียวกับน้ำมันเขียวมาจำหน่ายให้กับชาวประมงชายฝั่ง โดยให้มีสถานีบริการน้ำมันในทะเลห่างจากฝั่งไม่เกิน 5 ไมล์ทะเล และยกเว้นรอบเกาะไม่เกิน 1 ไมล์ทะเล สำหรับน้ำมันม่วงนี้ การเก็บภาษีเช่นเดียวกับน้ำมันดีเซลปกติ แต่จะใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวปรับราคาให้ถูกกว่าบนฝั่ง 2 บาทต่อลิตร โดยองค์การสะพานปลาเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการจัดจำหน่ายน้ำมัน สมาคมประมงท้องถิ่นเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติของชาวประมงและเรือประมง รวมทั้งสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนเรือที่จะเข้ามาใช้บริการ สรุปผลของโครงการน้ำมันม่วง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2549 เป็นเวลา 2 เดือน ขณะนี้มีจำนวนเรือสถานีที่ให้บริการจำหน่ายน้ำมันม่วง จำนวน 3 ลำ ในจุดให้บริการทางทะเล 1. จังหวัดชลบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ 2. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริมาณน้ำมันที่จำหน่ายทั้งสิ้น 7.8 แสนลิตร จำนวนเงินที่ใช้ชดเชยสำหรับโครงการทั้งสิ้น 1.23 ล้านบาท “ประโยชน์ที่เกิดขึ้นของโครงการช่วยเหลือกลุ่มประมง ด้านภาครัฐเท่ากับเป็นการแก้ปัญหาต้นตอของน้ำมันเถื่อนทางทะเล และขจัดให้หมดสิ้นไป และอีกด้านหนึ่งเป็นการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันแพงให้แก่ชาวประมง โดยชาวประมงสามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน ซึ่งจะช่วยเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม” นายวิเศษ กล่าว

ข่าวการกระทรวงพลังงาน+นายวิเศษ จูภิบาลวันนี้

TPCH เฮ! โรงไฟฟ้า PTG คว้ารางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ASEAN Energy Awards 2023

คุณกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) เข้ารับรางวัล โดยโรงไฟฟ้าชีวมวลปัตตานี กรีน เพาเวอร์ (PTG) กำลังการผลิตติดตั้ง 23 เมกะวัตต์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภท โครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้าแบบโครงข่ายไฟฟ้าที่กำกับดูแลโดยรัฐบาล (On-Grid: National Grid) จาก Mr.Phosay Sayasone รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในงานการประกวดผลงานพลังงานระดับภูมิภาคอาเซียน ASEAN Energy

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (ซ้าย) รองนายก... CMAN คว้ารางวัลสถานประกอบการประหยัดพลังงานดีเด่น — นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (ซ้าย) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบโล่รางวัลสถา...

คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตร... ดิเอมเมอรัลด์รับรางวัลประหยัดพลังงานดีเด่น — คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบโล่รางวัล "ส...

บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด โดย นางสา... เชลล์คว้า 2 รางวัลดีเด่นระดับประเทศและระดับอาเซียน จากอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน — บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด โดย นางสาวอรอุทัย ณ เชียงให...

นายสุรศักดิ์ พูลเกิด ผู้จัดการโรงงานห้วยโ... "SYS" คว้ารางวัลเกียรติยศด้านการจัดการพลังงานในโรงงานดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน — นายสุรศักดิ์ พูลเกิด ผู้จัดการโรงงานห้วยโป่ง บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด...

The Mall Group คว้า 3 รางวัล จากโครงการ T... เดอะมอลล์ กรุ๊ป คว้า 3 รางวัล Thailand Energy Awards 2022 — The Mall Group คว้า 3 รางวัล จากโครงการ Thailand Energy Awards 2022 ได้แก่ เดอะไลฟ์สโตร์ งามวง...

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์ก... อพท.รับรางวัล ITA Awards ปี 2566 — นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)...