เทิดพระเกียรติเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ

เทิดพระเกียรติเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกียรติคุณศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ ทูลเกล้าฯ ถวายพระเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในพระสมญานามเจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ผู้แทนพระองค์ ในวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายการเทิดพระเกียรติคุณในพระสมญานามเจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสทรงเจริญพระชันษาครบ ๔ รอบ จัดขึ้นโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี เทิดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมาคมวิทย์ฯ น้อมเกล้าฯ ถวายพระเกียรติคุณ “เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ “เนื่องในวโรกาสที่ พ.ศ. 2548 เป็นปีที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชันษาครบ 4 รอบ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนึกในพระกรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พระองค์ทรงมีพระปรีชายิ่งในด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทรงค้นคว้าวิจัยในเรื่องที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนโดยตลอดมา องค์กรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงพร้อมใจกันขอพระราชทานพระอนุญาตน้อมเกล้าฯ ถวายพระเกียรติคุณ “เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เพื่อเทิดพระเกียรติให้แผ่ไพศาลในหมู่นักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยีและประชาชน” รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ “สืบเนื่องจากการที่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระองค์ท่านทรงทำวิจัยทางด้านพิษวิทยาและด้านการวิจัยสมุนไพรที่จะบำบัดโรคร้ายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็ง ซึ่งมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์จำนวนมากมาย ทรงเป็นพระมิ่งขวัญทางด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในครั้งแรกนั้น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เคยถวายพระเกียรติคุณเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์เกียรติคุณ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์พระองค์แรกที่พวกเราคนไทยภาคภูมิใจจึงได้ถวายพระเกียรติคุณเวลาผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระองค์ท่านทรงสนพระทัยทางด้านการวิจัยอย่างจริงจังเป็นการทำวิจัยแบบลงลึกและทรงเป็นนักวิจัยที่ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้ทรงเป็นนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพราะว่าพระองค์ท่านทรงเน้นเรื่องการนำไปใช้ประโยชน์ด้วย ซึ่งเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าไม่ใช่เป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพียงอย่างเดียว ทรงคิดเรื่องการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จริง ๆ พระองค์ท่านทรงส่งเสริมให้มีศูนย์การบำบัดและรักษาโรงมะเร็ง (ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ) ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ฯ ซึ่งศูนย์ฯ แห่งนี้ จะเป็นศูนย์ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ต่อไปถ้ามีกรณีศึกษาเรื่องโรคมะเร็งที่หนัก ผู้ป่วยก็สามารถจะมาบำบัดโรคมะเร็งที่ศูนย์แห่งนี้ได้ โดยการบำบัดและรักษาด้วยเครื่องเพทสแกน (PET scan) ซึ่งมีเพียงเครื่องเดียวในประเทศไทย ใช้สแกนให้เห็นความลึกเนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่คล้ายกับว่าประจำอยู่กับมนุษย์ เราอาจจะมีเซลล์ที่เป็นมะเร็งถ้ารู้เร็วก็รักษาง่ายขึ้นรู้ช้าก็รักษายาก ฉะนั้นถ้าสามารถสแกนเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งได้ ผลงานเด่นของพระองค์ ที่ได้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่องและยาวนานคือ เรื่องพิษวิทยาทางสิ่งแวดล้อม เพราะว่าโรคมะเร็งกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่คู่กัน เกี่ยวกับมลพิษต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมทำให้คนเราค่อย ๆ สะสมพิษไว้ ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ทางด้านพิษวิทยาและการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ทางเป็นนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เน้นศึกษาทางด้านนี้เพื่อที่จะบำบัดรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ ปีนี้ เป็นปีที่ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชันษาครบ ๔ รอบ จึงเป็นโอกาสดีที่จะถวายพระเกียรติคุณ โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้น้อมเกล้าถวายพระเกียรติคุณเหรียญทองเพื่อเทิดพระเกียรติของพระองค์ท่าน ในพระสมญานามเจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังกล่าว สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์วันนี้

วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย

กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล ... กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform — กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...