สาระ...น่ารู้ จากกองทัพเรือ

กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

สาระ...น่ารู้ โรคเกาต์ โรคเกาต์ (Gout) หมายถึง ภาวะที่มีผลึกของกรดยูริคภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน ข้อที่ปวดพบมากที่ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก ตามลำดับ โรคเกาต์พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ๙ เท่า และมักเป็นในวัย ๓๐ ปีขึ้นไป ผู้หญิงมักเป็นหลังจากหมดประจำเดือน โรคเกาต์ หากเกิดกับผู้ใดแล้วจะเกิดความทุกข์ทรมาน การที่ผู้ป่วยรู้จักรักษาและป้องกันตนเองให้ถูกต้องอยู่เสมอ จะสามารถช่วยบรรเทาอาการกำเริบของโรคได้ ข้อควรปฏิบัติ ๑. ถ้าอ้วน ควรลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตามความเหมาะสม ๒. งดการดื่มเหล้า และเบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ จะทำให้ไตขับกรดยูริคได้น้อยลง จนเกิดโรคกำเริบได้ ๓. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ ๘ แก้ว ๔. ในรายที่มีอาการปวดข้อ และโรคกำเริบ ควรงดอาหารประเภท สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หมูติดมัน พืชผักยอดอ่อน เช่น หน่อไม้ ถั่วงอก สะเดา ยอดกระถิน ยอดผักอ่อน แตงกวา ๕. หากไม่มีอาการปวดข้อกำเริบ และรับประทานยาลดกรดยูริคเป็นประจำ ก็อาจรับประทานอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อวัว ปลา ได้บ้าง ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยโรคเกาต์ หากมีการดูแลรักษาสุขภาพของตนอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข และยืนยาวเช่นคนปกติทั่วไป ขดลวด รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ปัจจุบัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคอันดับต้น ๆ ที่คนไทยเป็นมากขึ้น อาจจะเป็นเพราะอาการของโรคเบาหวานกำเริบมากขึ้น ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ผลหรือมีคอเลสเตอรอลสูง หรืออาจจะเป็นเพราะการปล่อยปละละเลยสุขภาพมานานจนเกินกว่าจะแก้ไข โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดแล้ว เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ "ขดลวด" ชนิดพิเศษถ่างขยายหลอดเลือด ทำบอลลูนโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ คนไข้สามารถลุกนั่งได้เลยหลังจากทำการขยายหลอดเลือด จากการวิจัยของเอซีซี สหรัฐอเมริกา พบว่าการรักษาโดยใช้ ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบยา มีผลการรักษาที่ดีโดยไม่มีอาการตีบซ้ำแม้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมีโอกาสที่หลอดเลือดจะกลับมาตีบตันอีกครั้งเพียง ๕% เมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่ใช้ ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดแบบไม่เคลือบยา ขดลวดถ่างหลอดเลือดชนิดเคลือบยาที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันการเกิดแผลเนื้อเยื่อ ในเส้นเลือดแดงอีกครั้งของไซเฟอร์ ให้ผลการป้องกันการตีบซ้ำได้ดีกว่า ถือเป็นมาตรฐานของการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดตีบตันที่ดีกว่า และยังมีการศึกษาไซเฟอร์ในห้องทดลองอีกหลายแห่ง แสดงให้เห็นการทำงานที่ดีของการป้องกันการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อเยื่อในเส้นเลือดแดง และทำให้เลือดจะไหลผ่าน เส้นเลือดได้ดี จากการทดลองของสถาบันทางการแพทย์หลายแห่งในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ไซเฟอร์ในการรักษา เมื่อกลับมาดูอาการหลังจาก ๘ เดือน พบว่าหลอดเลือดมีการขยายใหญ่ขึ้น และมีอัตราที่จะกลับมาตีบตันอีกครั้งน้อยลงเมื่อเทียบกับแบบอื่น--จบ--

ข่าวกองทัพเรือ+โรคเกาต์วันนี้

จุฬาฯ ผนึก สมช. และกองทัพเรือ ลงนามความร่วมมือ จัดตั้ง "องค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย"

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ (ทร.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย "การจัดตั้งและขับเคลื่อนองค์กรจัดการความรู้ทางทะเลของประเทศไทย" เพื่อวางรากฐานในการเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางทะเลระดับประเทศ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี พล.ต.ต.สุรสิทธิ์ สังขพงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน จากนั้นผู้แทนจากทั้งสามหน่วยงาน ได้แก่ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษ... เกษตรฯ เตือนชาวสวนกล้วยไม้ เตรียมรับมือช่วงแล้ง เฝ้าระวังน้ำเค็มรุก — นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร สร้างการรับ...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. พร้อมเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง-น้ำเค็มรุกล้ำ ป้องกันชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ-จุดฟันหลอ — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าว...

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... บางจากฯ ร่วมปันน้ำใจช่วยผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น...