โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. จัดกิจกรรมค่ายนาโนโซลาร์เซลล์

กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--สวทช.

โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. จัดกิจกรรมค่ายนาโนโซลาร์เซลล์ มุ่งพัฒนานักเรียนสู่นักวิทยาศาสตร์ เน้นการใช้ประโยชน์จากพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ เช้าวันจันทร์ที่ 21 พ.ย. 48 ที่ผ่านมา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ดร. ประวิช รัตนเพียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เป็นประธานในพิธีเปิด “ค่ายนาโนโซลาร์เซลล์” โดยมี รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศ.ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี และคุณสุนทรี ธาราธิคุณ ผู้จัดการฝ่ายนิเทศสัมพันธ์ ประจำประเทศไทยและเวียดนาม บริษัท ดูปองท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมในพิธีเปิด ดร. ประวิช รัตนเพียร กล่าวว่า กิจกรรมค่ายนาโนโซลาร์เซลล์เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทราบถึงความสำคัญและประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนประเภทหนึ่งที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนการใช้พลังงานที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งพลังงานเหล่านี้ นับวันมีแต่จะราคาสูงขึ้น และมีปริมาณลดลงไปเรื่อยๆ ฉะนั้น เยาวชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในค่ายวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และนับเป็นการเปิดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ อีกทั้งยังได้สัมผัสเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์เชิงพาณิชย์อย่างใกล้ชิดจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชั้นนำของประเทศ ตลอดจนได้รับทักษะและประสบการณ์จริงในการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ดร. ประวิช กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา การจัดกิจกรรมในโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวรในแต่ละครั้ง จะสามารถรับเยาวชนเข้าร่วมในจำนวนจำกัด ซึ่งยังมีเยาวชนทั่วประเทศอีกจำนวนมากที่สนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรมค่าย ดังนั้น เพื่อให้เยาวชนที่ไม่มีโอกาสได้รับทราบถึงการดำเนิน กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนทางวิทยาศาสตร์ในค่ายในครั้งนี้ จึงได้จัดให้มีการประชา- สัมพันธ์ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ โดยการถ่ายทำภาพการดำเนินกิจกรรมค่ายทั้ง 4 วันออกอากาศในรายการโทรทัศน์ต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนไทยเห็นความสำคัญและให้ความสนใจในการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบนโยบายให้ดำเนินกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของค่ายในครั้งนี้ว่า ค่ายนาโนโซลาร์เซลล์ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 2 หน่วยงาน ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. ได้แก่ โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร และสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (ISET) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการจัดกิจกรรมจาก บริษัท ดูปองท์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ได้เรียนรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ความสำคัญของพลังงานแสงอาทิตย์ กระบวนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมบนผลึกสารกึ่งตัวนำในระดับนาโน Dye sensitized nano-Crystalline solar cell และการนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดนี้ด้วยตนเอง “ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้เยาวชนเกิดความรักและมีความสนใจที่จะเลือกเรียนในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น เพื่อเติบโตเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมของประเทศต่อไปในอนาคต” รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมภายในค่ายในระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายนนี้ จะประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 100 คนจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศได้เรียนรู้ และเกิดจินตนาการ ตลอดจนสามารถบูรณาการความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านพลังงานแสงอาทิตย์ จนนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันต่อไป อาทิ การบรรยายพิเศษเรื่อง “ตำนานดวงอาทิตย์กับมนุษยชาติ” โดย ดร.กฤษณพงษ์ กีรติกร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การบรรยายเรื่อง “ประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์” โดย นายสมชาย สถากุลเจริญ วิศวกรจากสำนักงานพลังงานแสงอาทิตย์ กระทรวงพลังงาน และการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ณ สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งการเยี่ยมชมโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ถึง 2 แห่ง คือ บริษัท บางกอกโซลาร์ จำกัด จ.ฉะเชิงเทรา และบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด อ.ปากช่อง นครราชสีมา ตลอดจนร่วมกันทำกิจกรรมออกแบบและทดลองสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ นางสาวรัชราพร นีรนาทรังสรรค์ / นายวีระวุฒิ ฟุ้งรัตนตรัย งานประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สวทช. โทรศัพท์ 0-9115-1341, 0-9521-2564, 0-2564-7000 ต่อ 1417 โทรสาร 0-2564-7004 e-mail: [email protected]จบ--

ข่าวกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

วว. ต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศฟิลิปปินส์ในโอกาสศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิจัย/พัฒนา ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)นายมนตรี แก้วดวง ผอ.สถานีวิจัยลำตะคอง (สลค.) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมให้การต้อนรับ H.E. Renato U. Solidum, Jr. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Secretary of the Department of Science and Technology : DOST) และคณะผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใน

นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเ... นครเฉิงตูโชว์ความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีในงานแสดงสินค้าไฮเทค — นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านนว...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digi... นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน จัดการประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต ครั้งที่ 6 — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชนา ซัมมิต (Digital China Summit) ครั้งที่ 6 เปิดฉากขึ้...

จีนเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและเวิร์กช็อปบ่มเพาะอาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ ชวนทั่วโลกเข้าร่วมได้ฟรี

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลนครฉงชิ่ง และรัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดค่ายพัฒนาทักษะวัยรุ่นและส่ง...

รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความ... จีน-อาเซียน สำรวจความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี — รายงานโดย CRI Online การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี จีน-อาเซียน ค...

การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้... การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่นครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน — การประชุมสุดยอด ดิจิทัล ไชน่า ซัมมิต ครั้งที่ 5 (The 5th Digital China S...