ตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียกร้องให้นายประชัยลาออกจากผู้บริหารของ BUI

กรุงเทพฯ--21 ก.พ.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

นายสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ถูกกล่าวโทษจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทำให้ขาดคุณสมบัติเป็นผู้บริหารบริษัท จดทะเบียนนั้น มีผลให้นายประชัยขาดคุณสมบัติการเป็นผู้บริหารในบริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน) (BUI) ด้วย และหากนายประชัยยังคงเป็นผู้บริหาร BUI ต่อไป จะมีผลให้ BUI ไม่สามารถดำรงคุณสมบัติในการเป็นบริษัทจดทะเบียนได้ และอาจมีผลให้บริษัทเข้าข่ายถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ในที่สุด “ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอเรียกร้องให้นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ แสดงสปิริตโดยการลาออกจากการเป็นผู้บริหารของ บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน) (BUI) เพราะหากนายประชัยยังคงเป็นผู้บริหารของบริษัทฯ ต่อไป จะทำให้บริษัทฯ อาจถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมากได้รับความเสียหายได้ จึงขอให้เห็นแก่ผลเสียหายที่อาจตกอยู่กับบริษัท ผู้ถือหุ้น และพนักงานของบริษัทจากผลของการเป็นผู้บริหารในบริษัทต่อไป” นายสุทธิชัยกล่าว ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษนายประชัย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่านายประชัยทำการแพร่ข่าวที่ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าราคาหุ้น บมจ. ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) จะสูงขึ้น การที่ถูกหน่วยงานทางการกล่าวโทษ ทำให้นายประชัยขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนทั้งตามข้อกำหนดของก.ล.ต.และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ นายสุทธิชัยกล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2548 แจ้งให้บริษัทแก้ไขคุณสมบัติการเป็น ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนภายใน 60 วัน ซึ่ง BUI ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 โดยอ้างว่าการนำข้อกำหนดว่าด้วยเรื่องการดำรงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งอ้างอิงประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เกี่ยวกับคุณสมบัติผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มาใช้ในการพิจารณาการขาดคุณสมบัติการเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนของนายประชัยนั้น ถือว่าไม่มีผล เนื่องจากเป็นการใช้ประกาศดังกล่าวย้อนหลัง นายสุทธิชัยกล่าวว่า คณะกรรมการอุทธรณ์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ที่มีความเป็นกลาง และมีความเป็นอิสระ ได้มีความเห็นว่าคำอุทธรณ์ของ BUI ฟังไม่ขึ้น โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ดังกล่าว ทั้งข้อกำหนดที่ใช้อยู่เดิมกับข้อกำหนดที่ออกใหม่มีหลักเกณฑ์เดียวกันในการกำหนดให้ ผู้บริหารที่ถูกทางการกล่าวโทษแล้วต้องขาดคุณสมบัติการเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน เมื่อ BUI ได้รับทราบผลการอุทธรณ์ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 และครบกำหนดระยะเวลา 60 วัน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549 แล้ว (โดยไม่นับช่วงอุทธรณ์) นายประชัยยังคงไม่ได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหาร BUI “ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่าได้ขอให้ BUI ดำเนินการแก้ไขคุณสมบัติของ BUI มาพอสมควรแล้ว จนถึงบัดนี้ยังไม่ ปรากฎว่ามีการดำเนินการแต่อย่างใด ดังนั้น หากนายประชัยให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงาน ก.ล.ต. ด้วยการสละตำแหน่งในการบริหารงานใน BUI ก็จะสามารถช่วยแก้ไขสถานการณ์ของ บริษัทได้ โดยที่นายประชัยยังคงมีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนตามกระบวนการยุติธรรมต่อไปได้ทุกประการ โดยไม่ จำเป็นต้องทำให้บริษัท ผู้ถือหุ้น และพนักงานต้องเสียหายไปด้วย และในที่สุดหากคดีมีข้อยุติว่านายประชัยไม่ผิด นายประชัยก็สามารถกลับเข้ามาเป็นผู้บริหารบริษัทได้ดังเดิม” นายสุทธิชัยกล่าว ทั้งนี้ การพิจารณาปรับเปลี่ยนกรรมการในบริษัทจดทะเบียนนั้น อยู่ในขอบเขตที่คณะกรรมการของบริษัทสามารถนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ หวังว่าคณะกรรมการ BUI จะดำเนินการให้ เพื่อการแก้ไขคุณสมบัติการเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นการดำรงความเป็นอิสระตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อส่วนรวม นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น โดยการใช้สิทธิในการนำเสนอเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาในการประชุมผู้ถือหุ้น ถึงแม้จะไม่ได้มีการกำหนดไว้ในวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นซึ่งจะมีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ก็ตาม นายสุทธิชัยกล่าวเสริมว่า “ตลาดหลักทรัพย์ฯ หวังว่าเรื่องนี้จะจบลงในทางที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย โดยการทำหน้าที่อย่างเต็มที่ของคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้น และไม่อยากให้การละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้นำไปสู่การ เพิกถอน BUI ซึ่งตลาดทรัพย์ฯ อาจจำเป็นต้องใช้เป็นวิธีสุดท้ายในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการในทางเลือกอื่นใดได้อีกแล้ว” อนึ่ง ที่ผ่านมาเมื่อมีกรณีที่ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียนถูกทางการกล่าวโทษ ผู้บริหารดังกล่าวก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น--จบ--

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์+ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันนี้

GIFT คว้าคะแนน CGR 4 ดาว ระดับ 'ดีมาก' พ่วง AGM เต็ม 100 คะแนน

บริษัท กิฟท์ อินฟินิท จำกัด (มหาชน) หรือ GIFT ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2567 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2024 : CGR) ในระดับ 4 ดาว หรือ "ดีมาก" จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีในมิติ

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ได... PHOL รับการประเมิน CGR "ดีเลิศ" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 — บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ได้รับการประเมินตามโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะ...

บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาช... SNNP การันตีผลงาน คว้า CGR ดีเลิศ 5 ดาว 2 ปีซ้อน — บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ (SNNP) ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม...

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ... บางจากฯ ได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการระดับ 5 ดาว ต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 — บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับการประเมินตามโครงการสำรวจการก...

บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ GCA... GCAP ปลื้ม!!! คว้า CGR "ดีเลิศ" ระดับ 5 ดาว ต่อเนื่องปีที่ 2 — บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ GCAP ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักรกลการเกษต...

บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ... BRR ปลื้มคว้าคะแนน CGR "ดีเลิศ" ระดับ 5 ดาว ต่อเนื่องปีที่ 7 ตอกย้ำมาตรฐานธุรกิจโปร่งใสยั่งยืน — บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR โชว์ศักยภาพ...