สภาหอการค้าฯ เสนอรัฐหามาตรการตอบโต้สหรัฐฯ ไม่ยกเลิก AD กุ้งไทย

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ ประธานคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการธุรกิจประมงฯ ได้มีการจัดประชุมหารือเพื่อระดมความคิดเห็นประเด็นที่คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศผลการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี AD กุ้งของประเทศไทย และประเทศอินเดีย โดยมีมติ “ไม่ยกเลิก” การเก็บภาษี AD กุ้ง เพื่อนำข้อสรุปเสนอให้กับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้พิจารณาทบทวนเรื่องการจัดเก็บภาษี AD กุ้งไทย ของสหรัฐอเมริกา นายสมเกียรติ กล่าวว่า สาเหตุที่สหรัฐฯ ไม่ยกเลิกการเก็บภาษี AD กุ้ง เนื่องจากอุตสาหกรรมกุ้งของประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคทรินา โดยหากมีการยกเลิกภาษี AD กุ้ง จะทำให้เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกุ้งของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ในปัจจุบันการส่งออกกุ้งของไทยมีปริมาณและอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ต้องการให้ยกเลิกภาษี AD กุ้งของไทย ตามที่ฝ่ายไทยได้อ้างถึงความเสียหายของอุตสาหกรรมกุ้งไทย อันเนี่องมาจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยจากคลื่นสึนามิ เมื่อปลายปี 2547 ที่ผ่านมา สำหรับข้อสรุปในการจัดประชุมหารือของคณะกรรมการธุรกิจประมงฯ เกี่ยวกับปัญหาการไม่ยกเลิกการจัดเก็บภาษี AD กุ้งไทยของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 1. ตามที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยื่นข้อเสนอการยกเลิก AD กุ้งให้แก่ไทย อันเนื่องมาจากผลกระทบภายหลังการเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย และสหัฐฯ ไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอโดยกล่าวอ้างว่าว่าไทยมีตัวเลขการส่งออกกุ้งเพิ่มขึ้นนั้นได้สร้างความผิดหวังให้แก่เกษตรกรและผู้ส่งออกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี สาเหตุของการส่งออกกุ้งมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นผลผลิตที่เกิดจากลูกกุ้งซึ่งได้รับการอนุบาลก่อนเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย จึงคาดว่าในอนาคตปริมาณตัวเลขการส่งออกจะมีปริมาณที่ลดลงอย่างแน่นอน 2. จากการเกิดเหตุการณ์พายุแคทรินาในสหรัฐอเมริกา ภาคเอกชนไทยรู้สึกเห็นใจผู้ประสบภัยพิบัติเป็นอย่างมาก แต่เห็นว่ารัฐบาลของสหรัฐอเมริกาควรออกมาตรการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูเกษตรกรของตน โดยหากสหรัฐฯ ยกเลิกการจัดเก็บภาษี AD กุ้งของไทย ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรกุ้งของสหรัฐฯ แต่อย่างใด และเห็นว่ารัฐบาลของไทยควรพิจารณาหามาตรการตอบโต้ในการปฏิบัติดังกล่าวของสหรัฐฯ ด้วย 3. ให้ยกเลิกการเก็บ Continuous bond จากผู้นำเข้ากุ้งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นการเพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นของผู้ส่งออกกุ้งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้) 4. ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการอุดหนุนสินค้าส่งออก (Export Subsidy) ของตนเป็นปกติอยู่แล้ว (ซึ่งประเทศไทยมิได้มีมาตรการนี้) จึงทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความได้เปรียบในการแข่งขัน 5. ในปัจจุบัน ต้นทุนด้านพลังงานได้ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องฯ ขอให้ภาครัฐบาลได้นำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา ในการผลักดันให้มีการยกเลิกการเก็บภาษี AD กุ้งไทยของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02-6221860-76 ต่อ 317-319--จบ--

ข่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์+สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยวันนี้

ภูมิธรรมเปิดตัวคลังความรู้ "พาณิชย์คิดค้าอย่างยั่งยืน"มุ่งพาผู้ประกอบการไทยปรับตัวรับมือกติกาการค้าโลกใหม่ สนับสนุนเป้าหมาย SDGs

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน "Unlocking Sustainable Trade: พาณิชย์เปิดประตูสู่การค้าที่ยั่งยืน"โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์ SME ไทย เข้าร่วม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีแ... สมาคมอาคารชุดไทย คว้ารางวัลสมาคมการค้าดีเด่น — นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบรางวัล สมาคมการค้าดีเด่น ...

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีแ... เบทาโกรต้อนรับรองนายกฯ เปิดงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2020 — นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ที่ 2 จากขวา) และนายกลิน...

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทร... "พิชัย" เคาะ 7 มาตรการ 25 แผนงาน จัดการผลไม้ ปี 2568 ดันเป้าหมาย 950,000 ตัน ให้ราคาผลไม้ไทยดีทั้งปี — นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ...