กระทรวงไอซีที โดย กรมอุตุนิยมวิทยา จับมือ เอไอเอส ส่งข้อมูล “เตือนภัยธรรมชาติบนมือถือ” มอบความอุ่นใจประชาชน

กรุงเทพฯ--22 ก.ย.--เอไอเอส

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย กรมอุตุนิยมวิทยา จับมือ เอไอเอส ส่งข้อมูล “เตือนภัยธรรมชาติ” ถึงมือคนไทยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเทคโนโลยี Cell Broadcast ที่สามารถส่งข้อมูลเตือนภัยได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ทั้งยังระบุพื้นที่ในการเตือนภัยได้อย่างชัดเจน มอบความอุ่นใจและคุณภาพชีวิตให้แก่คนไทยแล้ว ตั้งแต่เดือนตุลาคม ศกนี้ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม, รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า “จากสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรือสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตามช่วงฤดูกาล ภาครัฐ ถือเป็นหน้าที่หลัก ซึ่งนอกเหนือจากการเข้าไปแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว หน้าที่สำคัญอีกประการก็คือ การทำให้ข้อมูลของสถานการณ์ทางธรรมชาติเหล่านั้นถึงมือของประชาชนได้อย่างทันสถานการณ์ เพื่อเตือนภัย ดังนั้น กระทรวงไอซีที ในฐานะที่เป็นผู้นำและเลือกสรรเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกับบริการต่างๆ อันจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในการส่งข้อมูล “เตือนภัยธรรมชาติ” ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อให้ข้อมูลในการเตือนภัยธรรมชาติดังกล่าว” “ทั้งนี้ด้วยศักยภาพของกรมอุตุนิยมวิทยา หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงไอซีที ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจ เฝ้าติดตาม รายงานสภาวะอากาศ และเตือนภัยจากธรรมชาติ จะทำการส่งข้อมูลเตือนภัยธรรมชาติไปยังมือถือ เมื่อเห็นว่าภัยนั้นถึงระดับความรุนแรงที่คาดว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สำหรับภัยธรรมชาติดังกล่าว ประกอบด้วย - อุทกภัย : น้ำท่วมฉับพลัน / น้ำป่าไหลหลาก : น้ำท่วมขัง : น้ำล้นตลิ่ง - พายุฤดูร้อน (พายุลูกเห็บ) - แผ่นดินไหว - พายุหมุนเขตร้อน : พายุดีเปรสชั่น : พายุโซนร้อน : พายุไต้ฝุ่น - คลื่นลมแรง - คลื่นพายุซัดฝั่ง โดยกรมอุตุนิยมวิทยาเองได้ทำการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลลักษณะนี้เช่นกัน ดังนั้นประชาชนจึงมั่นใจได้ว่า จากนี้ไปข้อมูลการเตือนภัยธรรมชาติ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศโดยทั่วไป จะส่งถึงมือท่านจากทุกช่องทางอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นช่องทางของสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือ แม้แต่สื่อที่อยู่ติดตัว เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้านนายสมประสงค์ บุญยะชัย, ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะของผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย เราพร้อมจะเป็นส่วนเชื่อมต่อทุกรูปแบบการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ดังนั้นในครั้งนี้จึงได้นำ เทคโนโลยี Cell Broadcast ที่เป็นการส่งข้อมูลถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ทันที เข้ามาใช้เพื่อส่งข้อมูลเตือนภัยธรรมชาติดังกล่าว โดยข้อดีของเทคโนโลยีนี้ คือ - ไม่ต้องสมัครหรือลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูล - ส่งได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ - ข้อมูลที่ส่งจะปรากฏทันทีที่หน้าจอ โดยไม่จำเป็นต้องกดเข้าไปอ่าน - ส่งได้อย่างไม่จำกัดจำนวนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ - มีสัญญาณเตือน กรณีที่เป็นการเตือนภัยธรรมชาติ - ระบุพื้นที่ในการส่งเพื่อเตือนภัยเฉพาะพื้นที่ในลักษณะของ Location Base - ไม่คิดค่าใช้บริการในการรับข้อมูล โดยความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการนำเอาเทคโนโลยีไร้สายใหม่ล่าสุดเข้ามาเพิ่มอีก 1 ช่องทางในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสภาวการณ์ทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การเตือนภัยธรรมชาติ” รวมไปถึงข้อมูลสภาพอากาศในช่วงปกติผ่านทางเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่สามารถเข้าดูได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นจึงเชื่อว่าบริการนี้จะก่อให้เกิดความอุ่นใจในการใช้ชีวิตของประชาชนทุกภาคทั่วประเทศอย่างแน่นอน” สำหรับบริการ “เตือนภัยธรรมชาติบนมือถือ” พร้อมเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ AIS Call Center 1175 หรือ กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักพยากรณ์ 0 2398 9830, 0 2399 4012-4 หรือ hotline 1182 และ www.tmd.go.th เทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นนวัตกรรมของรูปแบบการส่งข้อมูลแบบใหม่ ที่เป็นการส่งหรือ Broadcast ข้อความจากสถานีฐานโดยตรงมายังโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ครอบคลุมของสถานีฐานนั้นๆ ทั้งนี้ลักษณะของข้อความจะเป็นข้อความสั้น ประมาณ 140 ตัวอักษร และจะมาปรากฏที่หน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยอัตโนมัติหลังจากได้รับ โดยไม่จำเป็นต้องกดเลือกเข้าไปอ่านข้อความในเมนูแต่อย่างใด ทั้งนี้ข้อความดังกล่าวจะปรากฏอยู่ที่หน้าจอประมาณ 3-5 วินาที และจะหายไปเองโดยไม่ต้องสั่งลบข้อความ 1. รับอัตโนมัติ : ลูกค้าจะมีความสะดวกในการรับข้อความ เพราะปรากฏขึ้นที่หน้าจอทันที โดยไม่ต้องเข้าสู่เมนูรายการใด ให้ยุ่งยาก 2. กำหนดพื้นที่ : ด้วยความอัจฉริยะของเทคโนโลยี จึงสามารถกำหนดและเลือกส่งข้อมูลให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ ที่ต้องการได้ อาทิ เกิดภัยธรรมชาติบริเวณจังหวัดแถบภาคอีสาน ผู้ใช้บริการมือถือที่อยู่ในภาคอีสานเท่านั้นที่จะได้รับข้าความแจ้งเตือนภัย 3. เวลา : สามารถบริหารเวลาในการส่งข้อมูลได้ทั้งแบบกำหนดช่วงเวลาส่งไว้ หรือส่งแบบตามเวลาจริง (Realtime) รวมถึงกำหนดความถี่ในการส่งได้เช่นกัน 4. การกำหนดกลุ่มผู้รับ : สามารถเลือกส่งข้อมูลตามกลุ่ม หรือ ตามความต้องการได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ข้อความสอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง อาทิ แบ่งเป็นกลุ่มพรีเพด/โพสต์เพด และกลุ่มย่อย เช่นกลุ่มที่เลือกรับข่าวสารทั่วไป หรือ ข่าวกีฬา 5. การกำหนดเนื้อหาที่ต้องการรับ : ผู้ใช้บริการแต่ละคนสามารถกำหนดเลือกรับประเภทของข้อมูลที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้อย่างใจต้องการ ทั้งนี้เอไอเอสได้ใช้เทคโนโลยี Cell Broadcast มาให้บริการข้อมูลข่าวสารหลากหลายรูปแบบแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 ที่ผ่านมา โดยลูกค้าเอไอเอสทุกระบบที่สนใจใช้บริการสามารถเปลี่ยน SIM Card เพื่อใช้บริการดังกล่าวได้ที่สำนักงานบริการเอไอเอส ทุกสขา ทั่วประเทศ ในราคา 100 บาท สำหรับลูกค้าที่จดทะเบียนใหม่ทุกระบบในเครือข่ายเอไอเอส ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 ที่ผ่านมาจะได้รับ SIM Card ที่ใช้บริการ Cell Broadcast ได้ ดังนั้นในปัจจุบัน (กันยายน 2548) จึงมีจำนวนผู้ใช้ SIM Card ที่สามารถรับข้อมูลข่าวสาร และ เตือนภัยธรรมชาติจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้อยู่ประมาณ 2 ล้านราย สามารถคลิกดูภาพได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

ข่าวกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร+กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศวันนี้

ภาพข่าว: ETDA ร่วมต้อนรับและแสดงความยินดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) พร้อมคณะผู้บริหาร ETDA ร่วมพิธีบวงสรวง ต้อนรับและแสดงความยินดีกับ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ หลังได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) คนใหม่ และเข้าปฏิบัติราชการวันนี้ (18 ก.ค.) เป็นวันแรก ณ บริเวณหน้าพระพรหม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม

คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาส... NIDA Business School…จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “Transforming Business to the Future” — คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จ...

ทรงธรรม พลอยกาบทอง President จากทางค่าย แ... ชัช ทรงธรรม หน้าบานละครสองเรื่องที่ร่วมจัดได้รับรางวัล — ทรงธรรม พลอยกาบทอง President จากทางค่าย แทนกายแมเนจเม้นท์ ยิ้มปลื้มปริ่มบอกกล่าวกับทางผู้สื่อข่าว...

ซาอุดีอาระเบีย จับมือ OneWeb เชื่อมพื้นที่ห่างไกลด้วยบรอดแบนด์ความเร็วสูง

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MCIT) แห่งซาอุดีอาระเบีย และ OneWeb ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านความร่วมมือในการพัฒนาโซลูชั่นต่าง ๆ เพื่อเชื่อมต่อบ้านเรือน 237,000 หลังทั่วประเทศให้เข้าถึงบรอดแบนด์ราคาถูก ความ...

นางสาวมาลี วงศาโรจน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโ... ภาพข่าว: รองปลัด ก.ไอซีที เป็นประธานเปิดการประชุม “GS1 Asia–Pacific Regional Forum 2016” — นางสาวมาลี วงศาโรจน์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อส...

นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีส... ภาพข่าว: ปลัดก.ไอซีที เปิดศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลนางัว จังหวัดอุดรธานี — นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นประธานเป...