กทม.แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบอาคารใบหยก 1

กรุงเทพฯ--28 เม.ย.--กทม.

ตามที่เกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้น 2 ของอาคารใบหยก 1 เขตราชเทวี กทม. เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. วันที่ 26 เม.ย. 48 ที่ผ่านมา เหตุดังกล่าวต้นเพลิงได้ลุกไหม้จากบริเวณชั้น 2 ซึ่งเป็นร้านขายเสื้อผ้าและเป็นห้องควบคุมแผงไฟฟ้าของอาคาร โดยสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้หลังจากเกิดเหตุประมาณ 20 นาที โดยไม่มีการลุกลามไปยังห้องข้างเคียง ต่อมาเวลาประมาณ 14.00 น. นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสุกิจ ก้องธรนินทร์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ นายนิยม กรรณสูต ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ได้เดินทางมาตรวจที่เกิดเหตุ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ประกาศให้พื้นที่อาคารใบหยก 1 เป็นพื้นที่อันตราย ห้ามผู้ใดเข้าไปใช้งานอย่างเด็ดขาด ในส่วนชั้นที่ 1–4 ซึ่งเป็นร้านค้านั้นได้ประสานเจ้าของอาคารให้แจ้งเจ้าของร้านค้าแล้ว ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานครได้เชิญเจ้าของอาคารสูงมาทำความเข้าใจ พร้อมขอความร่วมมือในการเข้าไปตรวจสอบอุปกรณ์การป้องกันอัคคีภัยและการแจ้งเตือนภัยว่ามีพร้อมหรือไม่ ซึ่งในขณะนี้ได้ทยอยตรวจสอบเกือบหมดแล้ว รวมถึงการตรวจสอบประปาหัวแดงเพื่อใช้จ่ายน้ำหากเกิดอัคคีภัยด้วย นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวได้สงบลงเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.ภายหลังการตรวจสอบพบว่าพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือชั้น 5 มีเนื้อที่ประมาณ 50 ตารางเมตร ขณะนี้ขอบเขตและความเสียหายกำลังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบและประเมินราคาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สำนักงานเขต และเจ้าของอาคาร ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมตรวจสอบความมั่นคงของอาคารแล้ว ประกอบด้วยวิศวกรจากสำนักการโยธา และสำนักงานเขต เพื่อตรวจสอบดูความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร หากภายหลังการตรวจสอบพบว่าความเสียหายเป็นเพียงฝ้าเพดาน อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ ไม่กระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคารก็จะมีคำสั่งให้เปิดใช้อาคารได้ทันที อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารกำหนดว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้อาคารต้องประกาศเป็นอาคารเพลิงไหม้ซึ่งจะเป็นผลให้ไม่สามารถใช้อาคารได้ หากภายหลังการตรวจสอบพบว่าอาคารไม่สามารถใช้ได้ก็ต้องแจ้งกับเจ้าของอาคารเพื่อดำเนินการต่อไป แต่หากเจ้าของอาคารต้องการกลับไปใช้อาคารอีกต้องดำเนินการหาวุฒิวิศวกรที่เชื่อถือได้ร่วมกับหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ดำเนินการการตรวจสอบความมั่นคงทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวอาจหมายถึงสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิชาชีพที่จะร่วมกับวุฒิวิศวกรท่านนั้นในการที่จะยืนยันกับกทม.ว่าอาคารมีความมั่นคงแข็งแรงและพร้อมที่จะกลับเข้าไปใช้งานได้ โดยคงไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบที่ชัดเจนได้ เนื่องจากการตรวจสอบต้องยึดหลักความรอบคอบ และความมั่นคงของประชาชนเป็นที่ตั้ง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวต่ออีกว่า ขอความร่วมมือจากประชาชนผู้ที่พักอยู่ในอาคารสูงไม่ว่าจะเป็นผู้ที่พักอาศัยก็ดีหรือผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารก็ดีในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย ด้วยการตรวจสอบระบบทางหนีไฟ ระบบดับเพลิงที่ต้องมีสำรองไว้ในอาคารหรือแม้กระทั่งการซ้อมหนี โดยในส่วนของกทม.ในฐานะผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลประชาชนทั้งในอาคารและนอกอาคารโดยรอบจะดำเนินการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและรอบคอบอย่างสม่ำเสมอ และในส่วนของสาธารณชนที่ต้องเข้าไปใช้ประโยชน์ในอาคารจะต้องช่วยกันดูแลสอดส่องด้วย ในกรณีที่พบว่ามีอาคารใดก็ตามที่ไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวและจะนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยต้องแจ้งกับฝ่ายบ้านเมืองทันที ไม่ว่าจะเป็นทางหนีไฟที่เอาสินค้าไปกั้นไว้ หรือทางเดินแต่ว่ามีการวางแผงมากั้นทำให้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ประชาชนไม่สามารถออกจากอาคารได้ทันท่วงที เหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นอันตรายและเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและประชาชนทุกคนควรให้ความสนใจ อนี่ง กรุงเทพมหานคร โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดอบรมแก่ประชาชนทั่วไปและเจ้าของอาคารในพื้นที่ของกทม. เกี่ยวกับการอยู่ตึกแถวอย่างไรจึงจะปลอดอัคคีภัยไปแล้ว โดยให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือเจ้าของอาคารสูงได้ยึดหลักบัญญัติ 7 ประการของการอยู่ตึกแถวอย่างไรให้ปลอดภัย ดังนี้ 1. การสะสมน้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุไวไฟ ในอาคารเป็นจำนวนมากโดยไม่มีระบบการป้องกันที่ดีพอทำให้เกิดอัคคีภัยได้โดยง่าย 2. ลูกกรงเหล็กดัดต้องเปิดได้จากด้านในเมื่อเกิดไฟไหม้ ถ้าใส่กุญแจไว้ ต้องแขวนกุญแจไว้ในจุดที่หยิบฉวยได้ง่าย 3. อย่าวางของหนักและอย่ากองของมาก หากเป็นตึกแถว อาคารประเภทพาณิชย์ – พักอาศัย 2ชั้นขึ้นไป เพราะส่วนใหญ่อาคารเหล่านี้จะรับน้ำหนักได้เพียงประมาณ 200 ก.ก. ต่อ ตร.ม.เท่านั้น หากมากกว่านั้นอาจทำให้ตึกพังหรือทรุดได้ 4.บริเวณอย่าวางของกีดขวางทางหนีไฟได้โดยเด็ดขาด 5.ทางหนีไฟ ทางออกเพื่อหนีไฟต้องมีอย่างน้อย 2 ทาง ทั้งที่เป็นบันไดหลัก บันไดหนีไฟ หน้าต่าง ระเบียง เพื่อว่าเมื่อเกิดไฟไหม้ด้านหน้า ก็สามารถหนีออกทางด้านหลังได้ หรือในทางกลับกัน เมื่อเกิดไฟไหม้ด้านหลังตึกแถว ก็สามารถหนีออกทางด้านหน้าได้ 6.เครื่องดักจับควัน (Smoke detectors) หากอาคารไม่เกิน 2 ชั้น ควรมีอย่างน้อย 1 เครื่อง หากอาคารตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป ควรมีชั้นละ 1 เครื่อง โดยเฉพาะจุดที่ใกล้ห้องนอน และ 7. เครื่องดับเพลิงมือถือ หากเป็นอาคารไม่เกิน 2 ชั้น ควรมีอย่างน้อย 1 เครื่อง และหากอาคารตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป ควรมีชั้นละ 1 เครื่อง ทั้งนี้เหตุเพลิงไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากความประมาท เช่น การใช้อาคารเพื่อกิจกรรมผิดประเภท การไม่ดูแลรักษาอาคารและส่วนประกอบของอาคาร ดังนั้นประชาชนจึงจำเป็นต้องศึกษาและให้ความสนใจคำแนะนำในการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากหน่วยงานราชการ โดยหากพบเห็นเหตุเพลิงไหม้สามารถแจ้งได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 199--จบ--

ข่าวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร+อภิรักษ์ โกษะโยธินวันนี้

CPF เปิดบ้าน จัดงาน 'CP SPLASH IN SPACE' ปลุกพลัง Soft Power ชวนคนไทยฉลองสงกรานต์ เสิร์ฟความมันส์ ทะลุอวกาศบนถนนสีลม

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จัดงาน CP SPLASH IN SPACE เนรมิตหน้าอาคารซีพี ทาวเวอร์ ฉลองสงกรานต์บนถนนสีลม ในธีมอวกาศ ผลักดันวัฒนธรรมไทยสู่ Soft Power สร้างสุดยอดอีเว้นต์ระดับโลก พร้อมรณรงค์ 'สงกรานต์ไร้ขยะ' ตั้งจุดรับทิ้งขันและถังพลาสติก เพื่อมอบแก่มูลนิธิกระจกเงา โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางพรพัน วัฒนสินธุ์ ผู้อำนวยการเขตบางรัก นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร และนายวรวิทย์ เจนธนากุล กรรมการบริหาร ซีพีเอฟ ร่วมเปิดงาน นายชัชชาติ

นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ... กทม. คุมเข้มร้านอาหาร-หาบเร่แผงลอยไม่ปล่อยทิ้งไขมัน-น้ำเสียลงคลองและท่อระบายน้ำ — นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ (สนท.) กทม. กล่าวถึงมาตรการเพิ...

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... กลุ่มบริษัทบางจาก ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ที่ศูนย์กีฬาเบญจกิติ — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนแล...

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจต... ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมแสดงความยินดีเป็นส่วนหนึ่งของภาพประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียม — ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ตอกย้ำเจตนารมย์ในการสนับสน...

กทม. เตรียมสรุปผลสอบวินัยร้ายแรงโครงการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายฯ

นางฐิติชยา อนันต์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่ (สกจ.) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญกระทำผิดวินัยในการดำเนินโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์...

นายสมพล ตรีภพนารถ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร... เอ็ม บี เค ร่วมมูลนิธิช่วยการศึกษา กทม.สนับสนุนทุนการศึกษา 404 ทุน — นายสมพล ตรีภพนารถ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจศูนย์การค้า (ที่ 7 จากซ้าย) จำกัด เป็น...