สรุปเรื่องเศร้าบนท้องถนนช่วงสงกรานต์ 2547

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--โฟว์ดี คอมมิวนิเคชั่น

สถานการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ครั้งล่าสุด ในปี 2547 ที่รายงานโดย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน แม้พบว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า แต่ยังเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตด้วยสาเหตุที่ป้องกันได้อยู่จำนวนมาก ดังสรุปได้ดังนี้ เกิดอุบัติเหตุมากกว่า 2 หมื่นครั้ง ในช่วง 10 วัน ระหว่าง 9-18 เมษายน 2547 เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนรวมทั้งสิ้น 25,533 ครั้ง ตาย-เจ็บเกือบ 4 หมื่นคน ในช่วงเวลาดังกล่าว รวมจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 654 คน และผู้บาดเจ็บ 36,642 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้บาดเจ็บถึงขั้นพิการตลอดชีวิตด้วยจำนวนหนึ่ง ขับประมาท ไม่สวมหมวก เมา ยังเป็นเหตุสำคัญแห่งความตาย ในส่วนของผู้เสียชีวิตพบว่า เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถโดยประมาทถึง ร้อยละ 83 และยังพบว่าการเสียชีวิตเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญ 2 อย่าง โดยผู้เสียชีวิตร้อยละ 54 ไม่สวมหมวกนิรภัย และ ร้อยละ 23 เสียชีวิตโดยเกี่ยวข้องกับการเมาสุรา เหยื่อกลุ่มใหญ่คือชายวัยทำงาน ในบรรดาผู้เสียชีวิตทั้งหมด พบว่าอยู่ในวัย 20 – 29 ปี มากที่สุด โดยเป็นเพศชายถึง ร้อยละ 76 นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่ฝ่าฝืนกฎจราจรส่วนใหญ่ ก็เป็นประชากรกลุ่มเดียวกันด้วย 1 ใน 7 พาหนะที่ประสบอุบัติเหตุคือมอเตอร์ไซค์ พาหนะที่นำไปสู่อุบัติเหตุมากที่สุดคือ จักรยานยนต์ คิดเป็น ร้อยละ 66.5 ของพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว และเป็นพาหนะที่นำไปสู่การเสียชีวิต ร้อยละ 53 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ฝืนกฎลดเสี่ยง “ไม่สวมหมวก” สูงสุด ในกลุ่มผู้ประสบอุบัติเหตุ พบการฝ่าฝืนกฎหมายไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยานยนต์มากที่สุด นอกจากนี้ จากสถิติที่รวบรวมจากการดำเนินคดีทั้งหมดในช่วงดังกล่าว พบการดำเนินคดีข้อหาไม่สวมหมวกนิรภัยเป็นอันดับหนึ่ง ถึง 168,606 คน รองลงมาคือ ไม่มีใบขับขี่ จำนวน 166,252 คน “โคราช” ตายมากที่สุด ในช่วงเทศกาลดังกล่าว พบผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มากที่สุด คือ 36 ราย ขณะเดียวกับ พบว่า 5 จังหวัดต่อไปนี้ ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย ได้แก่ สตูล ระนอง ยะลา พังงา และนราธิวาส “ทางหลวง” คือ จุดเกิดเหตุเกือบครึ่ง ถนนที่เกิดเหตุได้แก่ ถนนทางหลวงแผ่นดิน โดย ร้อยละ 49.22 ของอุบัติเหตุในช่วงดังกล่าวเกิดบนเส้นทางหลวงแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ พบว่า เป็นการเสียชีวิตบนถนนเทศบาล อบต. หมู่บ้าน มากที่สุด คือ ร้อยละ 53 ของการเสียชีวิตทั้งหมด พลบค่ำ – เที่ยงคืน คือช่วงอันตราย จากการรวบรวมสถิติจากกรณีผู้เสียชีวิตในครั้งนี้พบว่า ช่วงเวลาที่เสียชีวิตมากที่สุด คือ เวลา 20.00 – 24.00 น.--จบ--

ข่าวศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน+อุบัติเหตุบนท้องถนนวันนี้

บูรณาการขับเคลื่อนป้องกัน - แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ

นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. กล่าวกรณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยขอความร่วมมือทุกภาคส่วนมุ่งขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุทางถนนว่า กรุงเทพมหานครมีแนวทางขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) ผนึกกำลังเครือข่ายภายใต้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนระดับประเทศ ผนึกกลไก ศปถ

นายอุกฤษณ์ ภาควิวรรธ รองผู้จัดการใหญ่ด้าน... ยามาฮ่าร่วมลงนามความร่วมมือมาตรการองค์กรป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนในสถานประกอบการ — นายอุกฤษณ์ ภาควิวรรธ รองผู้จัดการใหญ่ด้านวางแผนการค้า และการตลาด บร...

ศปถ.หารือแนวทางขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุทางถนนตามกรอบ “ปฏิญญาสตอกโฮล์ม” พร้อมเตรียมร่างฯ แผนบูรณาการลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2564

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่...

นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนั... บูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน - เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ — นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. เปิดเผยต...