การปรับใช้กลยุทธ์ด้านการแอ็กเซสแบบครบวงจร แทนการแก้ปัญหาเฉพาะจุด จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบขององค์กรแบบออนดีมานด์ ซึ่งรองรับการเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ทั้งยังปรับปรุงความคล่องตัวในการดำเนินงานและกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจ
แนวทางเชิงกลยุทธ์สำหรับการแอ็กเซส
ภายใต้สภาวะกดดันในการลดค่าใช้จ่ายและขยายธุรกิจให้เติบโต บริษัทต่างๆ จึงได้ดำเนินโครงการมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อรวมศูนย์การจัดการ ผนวกรวมโครงสร้างพื้นฐาน และเอาต์ซอร์สงานที่ไม่ใช่ฟังก์ชั่นหลัก โครงการดังกล่าวให้ประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่มุ่งแก้ไขปัญหาในเรื่องการจัดหาข้อมูลเท่านั้น
ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์ใดๆ ไม่ว่าแอพพลิเคชั่นจะถูกติดตั้งไว้ที่ใดก็ตาม จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรขนาดใหญ่สามารถทุ่มเทเวลาและความพยายามอย่างเต็มที่ให้กับการขยายธุรกิจให้เติบโต ไม่ใช่เพียงแค่ดำเนินธุรกิจตามปกติ
อย่างไรก็ตาม หากองค์กรไม่สามารถจัดหาข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ก็จะทำให้ไม่สามารถดำเนินกลยุทธ์ในการขยายกิจการได้อย่างเต็มศักยภาพ
การตอบสนองความต้องการด้านข้อมูลนับเป็นปัญหาท้าทายที่แก้ไขได้ยาก โดยผู้ใช้พยายามมองหาวิธีใหม่ๆ ในการเข้าถึงข้อมูลองค์กรที่จัดเก็บไว้ในดาต้าเซ็นเตอร์ส่วนกลาง บนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย รวมถึงพีซี, เวิร์กสเตชั่น, พีดีเอ และโทรศัพท์มือถือ
ประสิทธิภาพในการดำเนินงานขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลขององค์กร ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใด และใช้อุปกรณ์หรือเครือข่ายชนิดใด โดยผู้บริหารระดับซีไอโอจะมีหน้าที่ปรับเปลี่ยนและรองรับการจัดหาข้อมูลที่ส่วนหลัง (back-end) ขององค์กร รวมถึงความต้องการข้อมูลที่ส่วนหน้า (front-end)
บริษัทจำนวนมากมักเลือกใช้แนวทางในการรองรับการเข้าถึงข้อมูลในลักษณะเฉพาะกิจ กล่าวคือ บริษัทเหล่านี้จะตอบสนองการเปลี่ยนแปลงด้านการทำงาน โดยปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงเพื่อให้แอพพลิเคชั่นพร้อมใช้งานในรูปแบบ “ถ้า…, ให้…” ตัวอย่างเช่น “ถ้าผู้ใช้ทำงานจากที่บ้านและต้องการแอ็กเซสเข้าสู่ระบบ ERP ให้ใช้วิธีการนี้ในการแอ็กเซส”
ตัวอย่างดังกล่าวอ้างถึงโปรแกรมแอพพลิเคชั่นเพียงโปรแกรมเดียวเท่านั้น แต่เมื่อแอพพลิเคชั่นและวิธีการแอ็กเซสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ฝ่ายไอทีก็จำเป็นต้องหาวิธีใหม่ๆ เพื่อรองรับทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของซัพพลายและดีมานด์สำหรับข้อมูล ซึ่งส่งผลให้การจัดการระบบมีความซับซ้อนมากขึ้น และฝ่ายไอทีก็ต้องวุ่นวายอยู่กับการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน โดยไม่มีเวลาที่จะหาหนทางขยายธุรกิจให้เติบโต จากข้อมูลของ Yankee Group ระบุว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณด้านไอทีถูกใช้ในการดูแลรักษาระบบไอทีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เหลือทรัพยากรด้านไอทีที่น้อยมากสำหรับการดำเนินโครงการใหม่ๆ
กลยุทธ์การแอ็กเซสสำหรับรองรับองค์กรแบบออนดีมานด์
เพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายในอนาคตสำหรับองค์กร บริษัทจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนจากวิธีการเข้าถึงที่แตกต่างหลากหลายเช่นในอดีต และพัฒนากลยุทธ์การเข้าถึงข้อมูลแบบครบวงจรทั่วทั้งองค์กร ปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จจะต้อง:
รองรับการเข้าถึงอย่างสม่ำเสมอ ผู้ใช้ต้องการที่จะเข้าถึงข้อมูล ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใดก็ตาม และไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์หรือเครือข่ายชนิดใด และแอพพลิเคชั่นจะอยู่ที่ใด
ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่นและปราศจากข้อบกพร่อง กลยุทธ์การเข้าถึงจะค่อยๆ พัฒนาขยายใหญ่ขึ้นตามดีมานด์และซัพพลายด้านข้อมูลที่เพิ่มขึ้น และจะต้องสามารถรองรับการหยุดทำงานของระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ตรวจสอบได้และปลอดภัย เนื่องจากองค์กรจำเป็นที่จะต้องรองรับการเข้าถึงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังต้องจำกัดการเข้าถึงข้อมูลสำหรับผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาต
รองรับแอพพลิเคชั่นรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ กลยุทธ์การเข้าถึงสามารถรองรับทั้งแอพพลิเคชั่นรุ่นเก่าและรุ่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ
จัดการได้ง่าย กลยุทธ์การเข้าถึงจะช่วยให้สามารถจัดการและตรวจสอบทุกแง่มุมของการแอ็กเซส โดยการจัดการที่ว่านี้ควรจะครอบคลุมถึงการกำหนดผู้ใช้ที่เข้าถึงข้อมูล, ข้อมูลที่ถูกเข้าถึง, เวลา, สถานที่, เหตุผล และระยะเวลาของการเข้าถึง นอกจากนั้น ควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มผู้ใช้และผู้ใช้แต่ละคน
การปรับใช้กลยุทธ์การเข้าถึงจะช่วยให้ซีไอโอสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์กรไปสู่องค์กรแบบออนดีมานด์ (on-demand enterprise) ซึ่งรองรับการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และง่ายดาย เพื่อปรับปรุงความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจและเสริมสร้างการเติบโตของธุรกิจ
การส้รางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึง
โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึง (Access Infrastructure) นับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดำเนินกลยุทธ์การแอ็กเซสภายในองค์กร
หน้าที่หลักของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงก็คือ การจัดหา แสดงผล คุ้มครอง จัดระเบียบ และจัดการการเข้าถึงข้อมูล ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงได้แก่ การนำเสนอและการประชุม, การผนวกรวมข้อมูล, การปรับแต่งตามความต้องการ, การจัดการระบบรักษาความปลอดภัยและข้อมูลผู้ใช้, บริการเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครือข่าย, SLA, การตรวจสอบ และการประเมินผล
โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่น ข้อมูล ระบบงาน และบุคลากรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์หรือการเชื่อมต่อแบบใดก็ตาม
โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวช่วยให้พนักงานฝ่ายไอทีสามารถจัดการแอพพลิเคชั่นที่หลากหลายในลักษณะรวมศูนย์ ลดปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนในการปรับใช้ การตรวจสอบ และการประเมินผล
นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงยังช่วยให้แน่ใจว่าผู้ใช้ที่มีสิทธิ์อย่างถูกต้องจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยคุ้มครองความปลอดภัยให้กับสินทรัพย์ข้อมูลขององค์กร
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานสาขาจะสามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่องค์กรจะได้รับประโยชน์จากการควบรวมกิจการภายในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้น พนักงานจะมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาบนอุปกรณ์ทุกชนิด นอกจากนี้ ฝ่ายไอทีจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแอพพลิเคชั่นและการจัดการระบบโดยรวม
การปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึง
แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส (เอไอเอส) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของไทย นับเป็นตัวอย่างของบริษัทที่ริเริ่มปรับใช้กลยุทธ์การแอ็กเซสแบบครบวงจร
เอไอเอสได้ติดตั้งโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงของ Citrix Systems เพื่อรองรับการทำงานของพนักงานในสาขาเทเลวิซ 400 แห่งทั่วประเทศ ด้วยการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นสำคัญๆ ในแบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งปรับปรุงความสามารถในการให้บริการลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ
การปรับใช้โซลูชั่นดังกล่าวช่วยให้เอไอเอสสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทฯ สามารถลดระยะเวลาในการติดตั้งและอัพเกรดแอพพลิเคชั่นจากเดิม 7 วัน ให้เหลือเพียง 30 นาที ทั้งยังเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องพีซีราว 1,000 เครื่อง นอกจากนี้ ในปี 2546 และ 2547 บริษัทฯ ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการใช้งานโซลูชั่นของ Citrix
เอไอเอสนับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า หากโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงได้รับการปรับใช้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถสร้างระบบสาธารณูปโภคด้านไอที โดยที่แอพพลิเคชั่นต่างๆ จะสามารถรองรับอุปกรณ์ใดๆ บนเครือข่าย ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะอยู่ที่จุดใด
โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเข้าถึงนับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการแก้ไขปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนทั้งในส่วนซัพพลายและดีมานด์ของข้อมูล โดยเป็นโซลูชั่นที่สามารถรองรับองค์กรแบบออนดีมานด์ และเพิ่มความสะดวกในการตัดสินใจสำหรับผู้ใช้ นอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถทุ่มเทเวลาให้กับงานในส่วนที่รองรับการขยายธุรกิจ แทนที่จะต้องเสียเวลาคิดหาวิธีที่เหมาะสมในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--