ก.ล.ต. เชิญชวนนายจ้างเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กรุงเทพฯ--14 ก.พ.--ก.ล.ต.

นายจ้างที่มีสวัสดิการประเภทเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย สามารถมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่นเดียวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนแล้วได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 สืบเนื่องจากในปัจจุบัน ยังมีนายจ้างจำนวนหนึ่งที่ได้จัดให้มีสวัสดิการในลักษณะเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้าง แต่มิได้นำเงินดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 (เงินประเดิม) ภายในระยะเวลาที่กระทรวงการคลังกำหนด (หมดเขตไปตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2540) ทำให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ควรจะได้ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเงินเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้น กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดระยะเวลาเพิ่มเติมให้นายจ้างสามารถนำเงินประเดิมมา (1) จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ หรือ (2) นำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ทั้งนี้ให้ทำได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนของนายจ้างตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 247 (พ.ศ. 2547) นายจ้างที่สนใจสามารถนำเงินประเดิมมาจดทะเบียนที่ ก.ล.ต. ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2695-9571 และ 0-2695-9578 หรือ e-mail: [email protected] กฎกระทรวงและประกาศที่เกี่ยวข้อง 1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2547 2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 247 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2547 3. ประกาศนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ 1/2548 เรื่อง แบบคำขอนำเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างเข้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สิทธิประโยชน์ทางภาษี นายจ้างที่นำเงินประเดิมมาจดทะเบียนหรือนำเงินประเดิมเข้าสู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว สามารถถือว่า เงินที่ตนจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในกรณีนี้ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรขาดทุนของนายจ้าง ตามกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 247 (พ.ศ. 2547) ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้ 1. กรณีนำเงินทั้งหมดเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในครั้งเดียว ให้ถือเป็นรายจ่ายได้ห้ารอบระยะเวลาบัญชี รอบละเท่า ๆ กัน โดย หากเป็นการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใหม่ ให้เริ่มนับรอบระยะเวลาบัญชีเมื่อ ก.ล.ต. รับ จดทะเบียน หากเป็นการนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ให้เริ่มนับรอบระยะเวลาบัญชีเมื่อ ก.ล.ต. อนุมัติให้นำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น 2. กรณีนำเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่หมดในครั้งเดียว ให้ถือเป็นรายจ่ายได้ตามจำนวนเงินสมทบที่นำเข้าในแต่ละรอบปีบัญชี โดยจะต้องนำเงินเข้าทั้งหมดภายในสิบครั้งตามรอบปีบัญชี และแต่ละงวดต้องไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่นายจ้างจัดสรรหรือสำรองไว้หารด้วยจำนวนปีที่จะนำเงินเข้า--จบ--

ข่าวกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ+กระทรวงการคลังกำหนดวันนี้

บลจ.กสิกรไทย ตอกย้ำ Trusted Asset Manager การบินไทย ไว้วางใจให้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ลงนามในสัญญาแต่งตั้งให้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เป็นบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 31 มีนาคม 2571 ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ซ้าย) และนายวิน พรหมแพทย์, CFA ประธานกรรมการบริหาร บลจ.กสิกรไทย (ขวา) ลงนามในสัญญา ณ บริษัท การบินไทย จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด(บ... พิธีลงนามสัญญาแต่งตั้งบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) — บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด(บลจ.วรรณ) ได้รับความ...

นางสาวดารบุษป์ ปภาพจน์ กรรมการผู้จัดการ บ... บลจ.อีสท์สปริง คว้ารางวัลกองทุนพัฒนาดีเด่น จากงานประกวดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น ประจำปี 2567 — นางสาวดารบุษป์ ปภาพจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จ...

นางสาวหัสวรา แสงรุจิ รองกรรมการผู้จัดการ ... KTAM ร่วมต้านคอร์รัปชัน เข้ารับประกาศนียบัตร CAC รับรองความโปร่งใสในการบริหารงาน — นางสาวหัสวรา แสงรุจิ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานกองทุนสำรองเลี้...

นายอนุวัฒน์ อิ่มแสงรัตน์ รองกรรมการผู้อำน... บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ได้รับให้บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพองค์การเภสัชกรรม อย่างต่อเนื่อง — นายอนุวัฒน์ อิ่มแสงรัตน์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายการตลาด บริ...

"3 ทางเลือกในการบริหารเงิน" จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังเกษียณ

ช่วงเวลาปลายปี อาจเป็นช่วงเวลาที่ผู้มีรายได้ประจำหลายท่านเฝ้ารอถึงวันหยุดยาวเพื่อท่องเที่ยวพักผ่อน ชาร์จพลังและกลับมาทำงาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีผู้มีรายได้ประจำอีกหลายท่านที่อาจจะได้พักผ่อนยาวเนื่องจากเกษียณอายุตามปีปฏิทิน ถ้าบริษัท...