รายงานจากศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลียน ย้ำการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรด้านพันธุกรรมจะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม

กรุงเทพฯ, ไทย, อินโฟเควสท์5 ก.พ.—พีอาร์นิวส์ไวร์/เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์


วันนี้ (15 ก.พ.) ศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลีย ได้เผยแพร่รายงานที่ระบุว่า ข้อเสนอในการใช้วิธีการด้านสิทธิบัตรเพื่อควบคุมการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางด้านพันธุกรรมนั้น จะเป็นการบั่นทอนความพยายามในการป้องกันความหลากหลายด้านพันธุกรรมและบ่อนทำลายสุขภาพประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา

ผลการศึกษาดังกล่าวได้มีการเผยแพร่ระหว่างการประชุมขององค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมเรื่องการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมร่วมกัน ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมได้เจรจาต่อรองเรื่องมาตรฐานนานาชาติในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางพันธุกรรม

เอกอัครราชทูตอลัน อ็อกซ์เลย์ ประธานศูนย์กลางการศึกษาเอเปคของออสเตรเลียและผู้เขียนของงานการศึกษาเรื่อง การพัฒนาวิธีการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมที่มีประสิทธิภาพ กล่าวว่า ทุกฝ่ายเห็นด้วยว่าการรักษาความหลากหลายทางด้านพันธุกรรมของโลกเป็นเป้าหมายที่สำคัญ แต่หากเราเดินทางผิดก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เสียหายเป็นอย่างยิ่งตามมา

อ็อกซ์เลย์ กล่าวต่อไปว่า ประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านพันธุกรรมขนาดใหญ่บางประเทศได้เสนอให้มีการใช้สิทธิบัตรกับสิ่งที่ประเทศนั้นๆพัฒนาขึ้นมาจากทรัพยากรเชิงพันธุกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองความหลากหลายด้านชีวภาพ โดยแนวคิดทั่วไปของการกระทำดังกล่าวก็เพื่อขออนุมัติใช้ผลิตภัณฑ์ตามพื้นฐานของสิทธิบัตรภายหลังจากที่มีการออกสิทธิบัตรไปแล้ว

อ็อกซ์เลย์ กล่าวว่า บางประเทศเชื่อว่าการกระทำเช่นนี้จะช่วยควบคุมการลักลอบใช้ทรัพยากรทางด้านชีวภาพและสร้างโอกาสในการดึงรายได้จากการใช้ทรัพยากรด้านชีวภาพให้กับชุมชนพื้นเมือง โดยวิธีการที่ดีที่สุดในการรับประกันว่าผลประโยชน์จะตกอยู่ในมือของผู้คนในท้องถิ่นก็คือ การตั้งราคาที่เหมาะสมผ่านการประมูลใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อสร้างหลักประกันว่าชุมชนในระดับท้องถิ่นจะได้รับเงินจากการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

อ็อกซ์เลย์ กล่าวว่า ระบบนี้ช่วยสร้างรายได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อคุ้มครองความหลากหลายทางด้านชีวภาพ โดยแนวความคิดเรื่องการเข้มงวดในการใช้สิทธิบัตรจะทำให้การใช้สิทธิบัตรมีประสิทธิภาพน้อยลงและมีผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย นอกจากนี้ยังจะเป็นการทำลายการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆด้านชีวภาพ ซึ่งจะทำให้ค่าธรรมเนียมลดลงด้วย

ประธานศูนย์กลางการศึกษาฯกล่าวต่อไปว่า การเข้มงวดเรื่องวิธีการใช้สิทธบัตรนั้นยังจะบ่อนทำลายบรรยากาศการลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทต่างๆคงจะไม่ลงทุนวิจัยและพัฒนา หากพวกเขาไม่รู้ว่าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆบนพื้นฐานของการใช้สิทธิบัตร ผลกระทบในกลุ่มประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านชีวภาพอาจจะทำให้มีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีชีวภาพน้อยลง รวมทั้งความสามารถในการผลิตในระดับชุมชนท้องถิ่นที่น้อยลง ซึ่งคงไม่มีใครต้องการให้ออกมาในรูปแบบนี้

อ็อกซ์เลย์ กล่าวว่า รายงานชิ้นนี้ได้ระบุถึงการเข้มงวดในการใช้สิทธิบัตรว่าจะกีดขวางการพัฒนาตัวยาใหม่ๆขึ้นมาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งที่การผลิตตัวยาใหม่ๆออกมาจะเป็นผลประโยชน์หลักๆของประเทศ โดยโรคที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติอย่าง เอดส์, มาเลเรีย, วัณโรค และโรคหัวใจ ล้วนเป็นโรคที่คุกคามกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว

ก่อนที่การประชุมที่กรุงเทพฯจะเริ่มต้นขึ้นนั้น ประเทศต่างๆได้อุทิศตัวเป็นเหมือนกับประเทศที่มีความหลากหลายด้านชีวภาพที่มีแนวทางใกล้เคียงกัน (LMMCs) ได้ออกแถลงการณ์เสนอให้องค์กรในระดับนานาชาติใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประเทศ LMMCs เหล่านี้ ได้แก่ประเทศโบลิเวีย, บราซิล, จีน, โคลัมเบีย, คอสตา ริก้า, คองโก, เอกวาดอร์, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เคนย่า, มาดากัสการ์, มาลายา, เม็กซิโก, เปรู, ฟิลิปปินส์, แอฟริกาใต้ และเวเนซูเอล่า

เกี่ยวกับเอกอัครราชทูตอลัน อ็อกซ์เลย์

อดีตเอกอัครราชทูตอลัน อ็อกซ์เลย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าเสรีที่มีชื่อเสียง เป็นอดีตประธานของคณะกรรมการจัดทำข้อตกลงด้านภาษีและการค้าที่ส่งให้กับองค์กรการค้าโลก, ประธานศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลียนที่มหาวิทยาลัยโมนาช และเป็นเจ้าของเว็บไซต์ TechCentralStation.com ในเอเชียแปซิฟิค ผลงานการเขียนของเขาเคยผ่านการตีพิมพ์มาแล้วในนสพ. เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล เอเชีย, บางกอก โพสต์ และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ

ศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลีย ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยโมนาช เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายศูนย์กลางการศึกษาที่ก่อตั้งขึ้นตามมหาวิทยาลัยต่างๆและกลุ่มนักวิชาการจากประเทศสมาชิกเอเปค โดยประเทศสมาชิกเอเปคทั้ง 21 ราย ประกอบด้วย ออสเตรเลีย, จีน, แคนาดา, ประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง10 ประเทศ, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ, เม็กซิโก, ชิลี, เปรู และรัสเซีย

ที่มา: ศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลีย

ติดต่อ: อมานดา แฟรงค์ส โทร.+1-202-572-6203 หรือ แซม วัคคอพ โทร.+1-202-572-6275 สำหรับศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลีย

--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--


ข่าวองค์การสหประชาชาติ+พีอาร์นิวส์ไวร์วันนี้

"วีบียอนด์" คว้ารางวัล "Climate Action Leader Awards" จาก AFMA (UN FAO) ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่องค์กรสีเขียวอย่างยั่งยืน

ดร.วรเดช รุกขพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วี บียอนด์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ขึ้นรับรางวัล "Climate Action Leader Awards" ในงาน Climate Action Forum ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่มอบโดย AFMA (UN FAO) เพื่อยกย่ององค์กรเอกชนชั้นนำที่มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนความยั่งยืนเพื่อฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนลำดับที่ 13 (SDG 13) ซึ่งจัดขึ้น ณ องค์การสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก นายนราพัฒน์ แก้วทอง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์วันน้ำโล... รณรงค์ 'วันน้ำโลก' กรมอนามัย ชวนประชาชน ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า หลีกเลี่ยงการเปิดน้ำทิ้ง — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รณรงค์วันน้ำโลก 22 มีนาคม 2568 ภายใต้แน...