วช. ให้ทุนศิริราชพยาบาล วิจัยการทำบอลลูนลดเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน

กรุงเทพฯ--13 ก.ค.--วช.

หลอดเลือดหัวใจตีบและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บเค้นอกแปรผันและจะตายอย่างเฉียบพลัน หากว่าเกิดอาการแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจ การรักษาที่เป็นมาตรฐานในประเทศไทยขณะนี้ยังไม่เห็นเด่นชัด สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยแก่ รศ.นพ.ดำรัส ตรีสุโกศล และคณะ จากภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ทำการวิจัยเรื่อง “การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน” โดยใช้กลุ่มผู้ป่วยอายุเกินกว่า 60 ปี จำนวน 93 ราย ที่อาศัยอยู่รายรอบโรงพยาบาลศิริราช นำมาตรวจสอบหลอดเลือดหัวใจเพื่อคัดกรองร่องรอยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เหมาะสมต่อการรักษา โดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (PICA) เปรียบเทียบกับการรักษาชนิดประคับประคองด้วยยา Low motecular weight heparin (nadroparin) ขนาด 7,500 ยูนิค ฉีดเข้าใต้ผิวหนังวันละ 2 ครั้ง นานติดต่อกัน 5 วัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงหรือเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้เท่า ๆ กันทั้ง 2 กลุ่ม แต่กลุ่มประคับประคองจะเกิดอาการเจ็บเค้นอกได้มากกว่ากลุ่มที่ทำบอลลูนจนต้องกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลซ้ำอีก แต่อย่างไรก็ดีไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตในขณะและหลังการรักษา ผู้วิจัยได้สรุปและแนะนำว่าผู้ป่วยที่ได้รับการทำบอลลูนตั้งแต่แรกจะมีอาการดีกว่าการรักษาแบบประคับประคอง มีอาการเจ็บเค้นอกและกลับเข้ามารักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่ากลุ่มข้างต้น แต่อย่างไรก็ตามผลการรักษาแบบประคับประคองร่วมกับการใช้ยา nadroparin ได้ผลดีในระยะสั้น ซึ่งงานวิจัยนี้น่าจะเป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานรักษาโรคเจ็บเค้นอกแปรผันสำหรับประเทศไทย--จบ-- --อินโฟเควสท์ (นท/นห)--

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+โรคหลอดเลือดหัวใจวันนี้

วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และ สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงนาม MOU ข้อตกลงความร่วมมือเดินหน้าเฟส 3 "โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐานและระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศและ Big Data ด้านสาธารณสุข" ในงานสัมมนาวิชาการ Thailand Healthcare & HealthTech

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม น... นศ.สาขาเคมีสวนสุนันทาคว้า “เหรียญทองแดง” งานวิจัยแห่งชาติ’62 — เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม นางสาวจิตตรา มาแสวง และนางสาวเกศินี ปาทา นักศึกษาชั...

นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิ... ภาพข่าว: ไอแบงก์ ร่วมยินดีอ.มะรอนิง ประธานที่ปรึกษาด้านศาสนารับรางวัลวิจัยระดับประเทศ — นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก...

เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินด... แสดงความยินดีกับนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ — เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินดีกับ ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์...

ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาต... ปฎิทินข่าว — ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำวันเสาร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 09.00 น. ณ ฮอลล์ 102-104 ศูนย์นิทรรศการ...