วช. จัดสัมมนา เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนสำหรับปฏิกิริยาการเตรียมพอลิโอเลฟิน"

กรุงเทพฯ--19 เม.ย.--วช. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กำหนดจัดสัมมนาผลการวิจัย เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนสำหรับปฏิกิริยาการเตรียมพอลิโอเลฟิน" ในวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2547 ณ ห้องบอลรูม เอบี โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร โดยมีนางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการวิจัย เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เวลา 09.00 น. ปัจจุบัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การกลั่นน้ำมัน การผลิตแก๊สต่างๆ การผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมนี้ได้ช่วยสร้างงานขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศ เป็นการนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้ในประเทศ ช่วยลดการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าต่างๆ ในปริมาณสูง และช่วยให้ประเทศไทยมีสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นหลายชนิดและในปริมาณที่มากขึ้น สำหรับการผลิตพอลิโอเลฟินในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส่วนใหญ่จะใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ที่นิยมกันมากคือ ตัวเร่งปฏิกิริยาซีเกลอร์-แนตตา ซึ่งตัวเร่งประเภทนี้เมื่อใช้แล้วจะหลุดติดกับพอลิโอเลฟินที่ผลิตได้ (ในรูปที่เสื่อมสภาพแล้วและไม่เป็นอันตราย) และถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองตัวเร่งปฏิกิริยาอย่างมาก จึงได้มีการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่ขึ้นมาทดแทนคือ ตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีน นอกจากจะให้ความว่องไวสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาแบบเก่าแล้วยังสามารถบังคับให้เกิดพอลิเมอร์ชนิดที่ต้องการได้ จึงนับได้ว่าตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตพอลิเมอร์ชนิดต่างๆ ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยทำให้อุตสาหกรรมการผลิตพอลิเมอร์เข้าใจถึงความแตกต่างของตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนและตัวเร่งปฏิกิริยาซีเกลอร์-แนตตาที่ใช้อยู่ในกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ในปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้ดัดแปลงกระบวนการผลิตเดิมมาใช้กับตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนได้ นอกจากนี้ตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนยังเหมาะสำหรับการทำโคพอลิเมอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปในโครงสร้างพอลิเมอร์ได้มากกว่า จึงเหมาะในการผลิตพลาสโตเมอร์หรืออีลาสเตอร์ การจัดสัมมนาเผยแพร่ผลการวิจัย เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเมทัลโลซีนสำหรับปฏิกิริยาการเตรียมพอลิโอเลฟิน" ในครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ผลการวิจัยและองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวสู่หน่วยงานต่างๆ โดยนำเสนอในรูปของการอภิปรายและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมอภิปรายความคิดเห็น เพื่อนำข้อเสนอแนะหรือผลจากการอภิปรายไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตลอดจนสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย คณะนักวิจัย วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำงานติดตามและประเมินผลการวิจัยทางวิชาการ รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนประมาณ 150 คน --จบ-- -นท-

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+สุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศวันนี้

กรมควบคุมโรค จับมือสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมลงนาม MOU สร้างวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย ตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 40 คน เพื่อถ่ายทอดสู่นักวิจัยรุ่นใหม่

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 ที่ผ่าน ที่โรงแรมมิราเคิลฯ กรุงเทพฯ นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โครงการฝึกอบรม "วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย" (Training for the trainers)ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กับ กรมควบคุมโรค นายแพทย์อำนวย กล่าวว่า กรมควบคุมโรค มีนโยบายที่ส่งเสริมการทำวิจัย และให้ความสำคัญในการผลิตบุคลากรด้านการวิจัย โดยที่ผ่านมาการเพิ่มจำนวนนักวิจัย

นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ (ที่ 5 จาก... ภาพข่าว: กระทรวงอุตสาหกรรม MOU วช. ยกระดับพลาสติกไทย — นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ (ที่ 5 จากซ้าย) ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก ในกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาห...

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่ว... วช. แถลงข่าว “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016)” — สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วปร...

วช. จัดงานแถลงข่าว มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo 2016)

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) จัดงานแถลงข่าว มหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2559 Thailand Research Expo 2016 นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในงานแถลงข่าว โดยมีไฮไลท์ เสวนาเรื่อง " พลังขับ...

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัด... วช. จัดกิจกรรมเดินหน้าพัฒนาสิ่งประดิษฐ์สู่ความสำเร็จสายอาชีวศึกษา — สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรม “เดินหน้าพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ สู่ความสำเ...

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของ... วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย — สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธาร...

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม น... นศ.สาขาเคมีสวนสุนันทาคว้า “เหรียญทองแดง” งานวิจัยแห่งชาติ’62 — เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม นางสาวจิตตรา มาแสวง และนางสาวเกศินี ปาทา นักศึกษาชั...