จี้รัฐโปร่งใสจัดการที่ดิน หมดปัญหาถือครอง

กรุงเทพฯ--1 มิ.ย.--วช. ปัจจุบัน สภาพพื้นที่ป่าของประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะภาคเหนือ มักถูกมองว่าเป็นผลมาจากการที่ชนกลุ่มน้อยเข้าบุกถางทำลายป่าจนทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย แต่ทว่า ในความเป็นจริง การที่ผืนป่าลดลงด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ซึ่งต้องหาทางป้องกันแก้ไข สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตระหนักถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงให้ทุนอุดหนุนการวิจัยแก่ นางสาวประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์ และนางสาวชพิกา สังขพิทักษ์ จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์และทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการวิจัยเรื่อง "การถือครองที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย : การควบคุมของรัฐ การจัดการชุมชน หรือสิทธิในการใช้ของปัจเจกชน" โดยใช้หมู่บ้าน 3 แห่ง ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่หมู่บ้านผานกกก (หมู่บ้านต้นน้ำ) ,หมู่บ้านม่วงคำ (หมู่บ้านปลายน้ำ) และหมู่บ้านแม่สาใหม่ เป็นพื้นที่ศึกษา ซึ่งพบว่าในการถือครองที่ดินและทรัพยกรธรรมชาติมักจะถูกแทรกแซงจากรัฐด้วยการจัดการที่ขาดความโปร่งใส ความถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ดังจะเห็นได้จากการนำนโยบาย ที่ดินและป่าไม้ในระดับชาติไปปฎิบัติจนก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างระบบการถือครองแบบจารีตและระบบกฎหมายของรัฐในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จึงทำให้ชุมชนท้องถิ่นต้องสร้างกลยุทธ์เพื่อทำให้เกิดสิทธิในการใช้ที่ดินอย่างมั่นคง ดังนั้นผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายไม่ควรจะละเลยต่อความซับซ้อนเชิงกฎหมายของระบบถือครองในท้องถิ่นและความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นของชุมชนในท้องถิ่น--จบ-- -นท-

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+ประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์วันนี้

วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และ สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงนาม MOU ข้อตกลงความร่วมมือเดินหน้าเฟส 3 "โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐานและระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศและ Big Data ด้านสาธารณสุข" ในงานสัมมนาวิชาการ Thailand Healthcare & HealthTech

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม น... นศ.สาขาเคมีสวนสุนันทาคว้า “เหรียญทองแดง” งานวิจัยแห่งชาติ’62 — เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม นางสาวจิตตรา มาแสวง และนางสาวเกศินี ปาทา นักศึกษาชั...

นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิ... ภาพข่าว: ไอแบงก์ ร่วมยินดีอ.มะรอนิง ประธานที่ปรึกษาด้านศาสนารับรางวัลวิจัยระดับประเทศ — นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก...

เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินด... แสดงความยินดีกับนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ — เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินดีกับ ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์...

ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาต... ปฎิทินข่าว — ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำวันเสาร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 09.00 น. ณ ฮอลล์ 102-104 ศูนย์นิทรรศการ...