มว. มุ่งเป้า ปี 47 ขยายความสามารถเพิ่มอีก 14 สาขาการวัด และสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการสอบเทียบทั่วภูมิภาคของประเทศ

กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ มว. วางมาตรการเชิงรุกหนุนนโยบายการส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาล โดยมุ่งเป้าขยายขีดความสามารถด้านการวัดเพิ่มอีก 14 สาขาการวัด และเร่งขอการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 เพิ่มเติม เพื่อรองรับต่อความต้องการสอบเทียบเครื่องมือวัด พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการสอบเทียบยังภาคต่างๆ ของประเทศ หวังลดปริมาณการส่งเครื่องมือวัดมาสอบเทียบยัง กทม. เพื่อลดต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค พล.อ.ต. ดร. เพียร โตท่าโรง ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กล่าวถึงเป้าหมายในอนาคตสำหรับการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ในงานแถลงข่าว เรื่อง "ทิศทาง อนาคต ระบบมาตรวิทยาต่อการพัฒนาประเทศ" ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่า ปี 2546 มว. ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 แล้ว ในสาขา DC Voltage, DC Current, AC Voltage, AC Current, Resistance Inductance, Capacitance, Time & Frequency, Mass, Pressure และ Length ส่วนในปี 2547 จึงมีแผนที่จะสถาปนาความสามารถเพิ่มขึ้นอีก 14 สาขาการวัด เพื่อรองรับต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน ได้เตรียมการเพื่อยื่นขอการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 เพิ่มเติมด้วย ในสาขา Temperature, Acoustic & Vibration, Hardness , Force & Torque และ Vacuum รวมทั้งจะขยายขอบข่ายความสามารถในสาขาความดัน มวล และไฟฟ้า ที่ได้รับการรับรองแล้วให้กว้างขึ้น และในปี 2548 จะ มุ่งเน้นด้านมาตรวิทยาเคมี และชีววิทยา เพราะเป็นสาขาที่ประเทศมีความต้องการสูงในขณะนี้ จากการศึกษาข้อมูลโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เกี่ยวกับต้นทุนและประโยชน์ในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ที่เป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ภาคการเกษตร อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ รถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งผลจากการศึกษาพบปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากระบบ มาตรวิทยาที่ไม่ได้มาตรฐาน ได้แก่ การขาดการสอบเทียบเครื่องมือวัดบางชนิดที่มีความสำคัญต่อการผลิต อันส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น การวัดอุณหภูมิคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการแช่กุ้งแช่เย็นและแช่แข็งทำให้ต้อง สิ้นเปลืองพลังงานมากเกินไป การวัดความเป็นกรด-ด่าง คลาดเคลื่อน ทำให้รสชาติ และอายุของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ตามที่ต้องการ และการชั่งน้ำหนักในขั้นตอนการส่งออกไม่ได้รับความเชื่อถือจากต่างประเทศ ทำให้ต้องชั่งน้ำหนักข้าวสารมากกว่าที่กำหนดประมาณร้อยละ 1.5 ทำให้บริษัทส่งออกข้าวต้องสูญเสียรายได้ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศ 7 ล้านตัน เท่ากับบริษัทจะต้องชั่งน้ำหนักเพิ่มเกินไปอีก 1.05 แสนตัน เป็นต้น นอกจากนี้ ปัญหาการขาดความเข้าใจในการเลือกและการใช้เครื่องมือวัด การขาดห้องปฏิบัติการสอบเทียบภายในโรงงาน การลงทุนในเครื่องมือวัดบางประเภทเกินความจำเป็น และความล่าช้าของบริการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ ทำให้บริษัทผู้ผลิตต้องซื้อเครื่องมือวัดมากเกินความจำเป็น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้แตกต่างกันออกไป ในแต่ละกิจการ พล.อ.ต. ดร. เพียร ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อสนับสนุนนโยบายการส่งเสริมการส่งออกของภาครัฐบาล และกระตุ้นการเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจ บทบาทสำคัญของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติต่อจากนี้ไป คือ การเพิ่มมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไทย ทำให้ศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้น และลดอุปสรรคทางการค้าอันเนื่องมาจากมาตรการทางเทคนิค (Technical Barrier to Trade, TBT) คุ้มครองผู้บริโภคในด้าน คุณภาพ ปริมาณ และความปลอดภัย ตลอดจนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของชาติ เช่น การวัดที่ถูกต้องของปริมาณ ไอเสีย หรือสิ่งปนเปื้อนในอากาศ โดยสถาบันฯ จะดำเนินมาตรการเชิงรุกมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของห้อง ปฏิบัติการสอบเทียบของภาครัฐและเอกชน และโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ในรูปของการให้คำปรึกษาเพื่อการจัดตั้งห้องปฏิบัติการสอบเทียบตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา สถาบันฯ สามารถสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการสอบเทียบ รวม 8 แห่ง ได้แก่ เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 6 แห่ง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ภาคละ 1 แห่ง แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ สถาบันฯ จึงกำลังเร่งดำเนินการสร้างเครือข่ายใน ภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการด้านการสอบเทียบของภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคดังกล่าว รวมทั้งลดปริมาณการส่งเครื่องมือวัดมาสอบเทียบยังห้องปฏิบัติการในกรุงเทพฯ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา พร้อมกันนี้ จะดำเนินการเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดและความสำคัญของใบรับรองการสอบเทียบ ไปยังโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก และโรงงานที่กำลังขอการรับรอง ISO 9001 : 2000 และ ISO 14000 เนื่องจากในปัจจุบัน มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลแสวงหาผลประโยชน์ ด้วยการปลอมแปลงเอกสารใบรับรองการสอบเทียบเครื่องมือวัดออกให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งการกระทำดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นภาคการผลิตของประเทศโดยรวม รวมทั้งสร้างความเข้าใจแก่ภาคธุรกิจต่างๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร ภาค อุตสาหกรรม การสาธารณสุข การทหาร เกี่ยวกับเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในกระบวนการต่างๆ ของการดำเนินกิจการของหน่วยงาน ซึ่งควรจะต้องได้รับการสอบเทียบและบำรุงรักษาให้คงความถูกต้องและแม่นยำ อยู่เสมอ เนื่องจากเครื่องมือวัดสามารถเสื่อมสภาพได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษา หากมีการนำเครื่องมือวัด ที่เสื่อมสภาพหรืออ่านค่าคลาดเคลื่อนไปใช้งาน จะมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ส่วนประชาสัมพันธ์ โทร. 0 2248 2181 ต่อ 339 E-mail : [email protected]จบ-- -รก-

ข่าวสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ+สถาบันมาตรวิทยาวันนี้

กรมวิทย์ฯ บริการ ศึกษาการพัฒนาวัสดุอ้างอิงเพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการ กรมวิทย์ฯ บริการ สู่การเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ

สถาบันห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติ (สอช.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายใต้การนำของ ดร. กนิษฐ์ ตะปะสา ผู้อำนวยการ สอช. ได้นำคณะเจ้าหน้าที่กรมวิทย์ฯ บริการจำนวน 50 คน เข้าเยี่ยมชมการพัฒนาวัสดุอ้างอิงของฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ภายใต้โครงการ "ศึกษาการพัฒนาวัสดุอ้างอิงเพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ สู่การเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ" เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จ.ปทุมธานี ในการศึกษาและเยี่ยมชมครั้งนี้

ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริการอุตสาห... วว. / พันธมิตร ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ — ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย...

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน ร่วมกับ สภา... ลำพูน จัดฝึกอบรม หลักสูตร มาตรวิทยาและระบบคุณภาพสำหรับเครื่องมือวัด — สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และสถาบันมาตรวิทยาแห...

ทรินา โซลาร์ ทุบสถิติโลกเป็นครั้งที่ 24 หลังเซลล์ PERC ขนาด 210 มม. มีค่าประสิทธิภาพแตะ 24.5%

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ (State Key Laboratory of PV Science and Technology หรือ SKL PVST) ของบริษัท ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ได้ประกาศว่า เซลล์...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วช. จับมือ มว. - มช. พร้อมร่วมมือสร้างมาตรฐานเครื่องวัดฝุ่นต้นทุนต่ำของประเทศไทย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห...

ทรินา โซลาร์ ทุบสถิติโลกอีกครั้ง หลังโซลาร์เซลล์ i-TOPCon มีประสิทธิภาพสูงสุด 25.5%

ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ผู้นำระดับโลกด้านโซลาร์เซลล์และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะครบวงจร ประกาศว่า โซลาร์เซลล์ i-TOPCon ขนาด 210x210 มม. ของบริษัท มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ระดับ 25.5% นับเป็นการสร้างสถิติโลกเป็นครั้งที่...