ไอบีเอ็ม หนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีผลิตมืออาชีพด้านไอที

กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด จับมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเปิดโปรแกรม Advanced Career Education (ACE) มุ่งผลิตมืออาชีพป้อนตลาดไอทีในประเทศ เน้นนำความรู้ไปใช้ในภาคธุรกิจได้จริง ขานรับเป้าหมายรัฐในการเร่งผลิตนักโปรแกรมจำนวน 50,000 คน และนักวิเคราะห์ระบบจำนวน 10,000 คน ภายใน 5 ปี โปรแกรม Advanced Career Education (ACE) เป็นอีกรูปแบบของบริการด้านการศึกษาจากไอบีเอ็ม ที่นำเสนอให้กับสถาบันการศึกษาที่ต้องการพัฒนาให้นักศึกษาได้มีทักษะและความรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยนักเรียนที่สำเร็จหลักสูตรแล้วก็จะได้รับประกาศนียบัตรจากไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรที่จะได้รับการยอมรับจากองค์กรต่างๆ ในประเทศ ผศ.ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ รองคณบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า "โปรแกรม ACE และ IBM Courseware Franchise การพัฒนาบุลากรทางด้าน Software Programmer, Web Application โดยใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนของไอบีเอ็ม ที่ใช้กันเป็นมาตรฐานทั่วโลกเท่านั้น ไอบีเอ็มยังให้ Business practice กับมหาวิทยาลัย โดยส่งผู้เขี่ยวชาญจากไอบีเอ็มไปช่วยทำการออกแบบทดสอบ และจัดองค์ประกอบสำหรับทำการประเมินการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังเกิดการผสมผสานระหว่างคุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอนที่มีอยู่ ทำให้เกิดการจัดการและการบริการงานอย่างลงตัว และใช้งานได้จริง" "การร่วมงานกับไอบีเอ็มทำให้สามารถปรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้เป็นแบบ Academic ได้จริง จากเดิมที่ผู้เรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนคอร์สละ 40,000 - 100,000 ต่อคน เมื่อเรามีโครงการ ACE จะช่วยลดค่าเรียนอยู่ที่ 6,000 บาท เท่านั้น สำหรับมหาวิทยาลัย จะคิดค่าใช้จ่ายในการเรียนสำหรับศิษย์เก่าอยู่ที่ 10,000 บาท และ 15,000 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งผมมองว่าการจะพัฒนาโปรแกรมเมอร์นั้น เป็นเรื่องของการลงทุนค่าแรงและค่าสมอง ซึ่งไม่ได้มีต้นทุนสูงมาก ภายใต้การร่วมมือกับไอบีเอ็มในครั้งนี้ ทำให้เราสามารถจัดคอร์สเรียนในระดับ SME ได้ ซึ่งถือว่าเรามีส่วนช่วยในการพัฒนาบุคลากรของชาติได้อีกทางหนึ่ง" ผศ.ดร.ประเสริฐ กล่าว สำหรับโปรแกรม ACE ทางมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯ จะนำมาประกอบกับโครงการสอนนักศึกษาปริญญาโท Software Engineer ที่วางแผนว่าจะเปิดในต้นปี 2004 โดยส่วนใหญ่นักศึกษาที่มาเรียนต่อปริญญาโท จะเป็นผู้ที่มีงานทำแล้ว โดยมองว่าเมื่อเข้ามาเรียนแล้ว จะต้องนำความรู้กลับไปใช้ได้จริงในที่ทำงาน ซึ่งผู้ที่จบการศึกษาเองก็จะได้รับประกาศนียบัตรจากไอบีเอ็มด้วย เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการเข้าทำงานกับบริษัทในประเทศได้ด้วย นายมานัส อาจรักษา รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจบริการ Integrated Technology Service บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า "ไอบีเอ็มมีความภาคภูมิใจที่ได้นำเสนอโปรแกรม ACE ให้แก่สถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถปรับความต้องการทักษะด้านต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการของตลาด โดยจะช่วยสร้างเสริมทักษะทางด้านไอทีให้แก่นักศึกษาผู้ที่ต้องการเข้าทำงานในอุตสาหกรรมไอที ในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง การขาดแคลนบุคคลากรด้านไอที นับเป็นโอกาสที่ดีของผู้เรียนที่จะพัฒนาทักษะด้านไอทีของตน เพื่อความก้าวหน้าและมั่นคงในสาขาอาชีพด้านไอที" โปรแกรม ACE ถูกออกแบบมาสำหรับ - ตัวบุคคล ซึ่งเป็นผู้เรียนที่อาจไม่มีทักษะทางด้านไอที แต่มีความตั้งใจที่จะฝึกฝนและพัฒนาทักษะทางด้านไอที และต้องการลงทุนด้านการศึกษาเพื่อสามารถเข้าทำงานในองค์กรไอที หรือผู้เรียนที่มีทักษะด้านไอทีอยู่แล้ว แต่ต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และลงทุนด้านการศึกษาเพื่อยกระดับความสามารถของตนเอง - สำหรับหน่วยงานราชการที่ต้องการจัดโปรแกรมให้แก่ข้าราชการเพื่อยกระดับความสามารถด้านไอที - สำหรับหน่วยงานเอกชนที่ต้องการโซลูชั่นสำหรับการปรับเปลี่ยนทักษะขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการจ้างพนักงานใหม่ หรือการรักษาพนักงานเดิมที่มีอยู่ โดยการเสริมทักษะด้านไอทีให้แก่แหล่งทรัพยากรขององค์กร - สำหรับผู้อบรมหรือสถาบันการศึกษาที่การเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่ต้องการความรู้ในเนื้อหาและวิธิการเพิ่มเติมจากไอบีเอ็ม เพื่อให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะด้านไอทีมากขึ้นเพื่อให้ตรงต่อความต้องการของตลาด ข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม ACE โปรแกรม IBM ACE (IBM Advanced Career Education) เป็นอีกหนึ่งบริการด้านการศึกษาจากไอบีเอ็มที่มุ่งส่งเสริมทักษะและพัฒนาการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นักศึกษาเพื่อความสำเร็จในอาชีพการงานในสายเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย โดยใช้โปรแกรม ACSE หรือ Advanced Computer Software Engineering ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรมด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยผู้ที่เรียนจบหลักสูตรสามารถนำความรู้และประกาศนียบัตรที่ได้รับไปประกอบวิชาชีพต่างๆ เหล่านี้ได้ อาทิ นักวิเคราะห์ระบบ นักออกแบบระบบ นักเขียนโปรแกรม ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการฐานข้อมูล ผู้ทดสอบ QA นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการค้าอิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับเว็บไซต์ ไอบีเอ็มได้เปิดให้บริการโปรแกรม IBM ACE นี้โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียบพร้อม อาทิ ห้องสมุด และห้องเรียนที่ได้รับการติดตั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดที่ออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้สอนที่ผ่านการอบรมเพิ่มเติมในหลักสูตรจากไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ด้านไอทีให้แก่นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตร Software Engineer. ข้อมูลเกี่ยวกับไอบีเอ็ม ไอบีเอ็มเป็นบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีประวัติอันยาวนานในการช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ไอบีเอ็มได้สร้างสรรค์ พัฒนา และผลิตผลิตภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย อุปกรณ์สตอเรจ ที่ล้ำหน้าที่สุดในอุตสาหกรรมไอที ไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิสเซส ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการให้บริการของไอบีเอ็ม เป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยบุคลากรมืออาชีพกว่า 150,000 คน จาก 160 ประเทศ มีรายได้ประมาณ 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (รายได้ปี พ.ศ. 2544) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก www.ibm.com เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด คุณชูจิตต์ วัฒนล้ำเลิศ โทรศัพท์: 0-2273-4306 อีเมล์: [email protected] คุณกฤษณา ศิลประเสริฐ โทรศัพท์: 0-2273-4639 อีเมล์: [email protected]จบ-- -รก-

ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวันนี้

สอวช. ผนึก มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ

สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง หนุนสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริง ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ 7 (STI Policy Design: STIP07)

ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลย... 65 ปี มจธ. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Lifelong Learning University) ตลอดชีวิตเต็มรูปแบบ — ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า...

TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการ... TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 15 — TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้...

จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักด... จีเอเบิล ร่วมผลักดันเยาวชนไทย คว้าชัยบนเวที PDPA Hackathon 2024 — จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันศักยภาพเยาวชนไทย สู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี...

ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรี... ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี — ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที...