โซโฟสรายงาน 10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ต และไวรัสหลอกในเดือน ตุลาคม 2546

กรุงเทพฯ--3 พ.ย.--โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) โซโฟสรายงาน 10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ต และไวรัสหลอกในเดือน ตุลาคม 2546 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และไมโครซอฟท์ถูกคุกคามอย่างหนักหน่วงจากไวรัส Gibe-F และ Dumaru-A โซโฟส (Sophos) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก 10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนตุลาคม 2546 ไว้ดังนี้ 1. W32/Gibe-F (Gibe variant) 22.7% 2. W32/Dumaru-A (Dumaru virus) 13.6% 3. W32/Mimail-A (Mimail worm) 12.4% 4. W32/Sobig-F (Sobig variant) 9.0% 5. W32/Klez-H (Klez variant) 4.4% ครองอันดับในชาร์ตนานถึง 21 เดือน 6. W32/Nachi-A (Nachi worm) 4.3% 7. W32/Blaster-A (Blaster worm) 2.4% 8. Troj/CoreFloo-C (CoreFloo Trojan) 2.1% เข้าใหม่ 9. W32/Bugbear-B (Bugbear variant) 1.6% 10. W32/Rox-A (Rox worm) 1.0% กลับเข้าสู่อันดับในชาร์ตอีครั้ง อื่นๆ 26.5% มร. ชาลส์ คัสซิ่นส์ ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทโซโฟส แอนตี้-ไวรัส เอเชีย กล่าวว่า "ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในเดือนนี้สำหรับไวรัสในสามอันดับแรก กว่าร้อยละ 36 ของรายงานที่โซโฟสได้รับ เป็นรายงานเกี่ยวกับไวรัส Gibe-F และ Dumaru ซึ่งไวรัสทั้งสองชนิดนี้ได้แฝงตัวเป็นไฟล์อัพเดทเพื่ออุดช่องโหว่ในโปรแกรมของไมโครซอฟท์และส่งมาจากฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิคของไมโครซอฟท์เอง โดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะทำลายความไว้วางใจของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีต่อไมโครซอฟท์ การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสบนเด็สท็อปทุกเครื่อง สามารถหยุดยั้งไวรัสได้อย่างดี ไม่ว่าไวรัสเหล่านั้นจะแฝงกายเข้ามากับ อีเมล์ เครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือ เพียร์-ทู-เพียร์ รวมถึงระบบแชท อีกด้วย คัสซิ่นส์ กล่าวเสริมว่า "ไวรัส CoreFloo-C ตัวใหม่ที่เข้ามาในเดือนนี้เป็นที่น่าจับตามอง เป็นโทรจันที่เปิดทางให้นักแฮ็กเกอร์ทั้งหลายควบคุมคอมพิวเตอร์ของคุณจากทางไกล ผ่านระบบแชท IRC ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบปีนี้ที่โทรจันสามารถครองแชมป์หนึ่งในสิบอันดับไวรัส ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไวรัสชนิดวินโดวส์ 32" ปัจจุบันโปรแกรมของโซโฟสสามารถทำการปกป้องไวรัสได้ 85,357 ชนิด สำหรับไวรัสหลอก 10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนตุลาคม 2546 มีดังนี้ 1. Hotmail hoax 34.9% 2. Meninas da Playboy 12.1% 3. Bonsai Kitten 6.2% 4. JDBGMGR 5.0% 5. Budweiser frogs screensaver 4.4% 6. WTC Survivor 2.9% 7. Frog in a blender/Fish in a bowl 2.8% 8. Bill Gates Fortune 2.7% 9. A virtual card for you 2.6% 10. Welcome to the Matrix 0.7% เข้าใหม่ อื่นๆ 25.7% "ไวรัสหลอกที่เข้าใหม่ในชาร์ตเดือนนี้ ชื่อ "Welcome to the Matrix" เป็นไวรัสภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเตือนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ให้เปิด โปรแกรมเพาว์เวอร์พ้อยท์ พรีเซ็นเทชั่น ที่ใช้หัวเรื่องว่า "Welcome to the Matrix" โดยไวรัสหลอกดังกล่าวได้มีจุดมุ่งหมายเดียวกับไวรัสอื่นๆที่ค้นพบในเดือนนี้ ก็คือทำลายชื่อเสียงความน่าเชื่อถือของไมโครซอฟท์ โดยบางเวอร์ชั่นอ้างตัวว่ามาจากทีมรักษาความปลอดภัยของ ไมโครซอฟท์เอง" โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซต์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอกล่าสุด รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ http://www.sophos.com/virusinfo/infofeed/ ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่www.sophos.com/safecomputing ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos: โซโฟส เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัส และแอนตี้สแปมระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ โปรแกรมต่างๆ ของโซโฟส ได้ทำการปกป้องธุรกิจและองค์กรมากมายให้พ้นจากไวรัส และสแปม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กๆ จนถึงระดับรัฐบาล และองค์กรที่มีเครือข่ายระดับโลก โซโฟส ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมถึงความสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และปกป้ององค์กรของลูกค้าให้พ้นจากการคุกคามของไวรัสคอมพิวเตอร์ได้อย่างดีเยี่ยม โดยผลิตภัณฑ์แอนตี้-ไวรัส ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคแก่ลูกค้า ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ หรือ คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณบุณฑรา วรมงคลชัย ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore โทร.0-2260-5820 โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8 Tel: +65 429 0060 Email: [email protected] Email: [email protected] Web Site: www.sophos.com--จบ-- -นห-

ข่าวอินเทอร์เน็ต+คอมพิวเตอร์วันนี้

ทำความเข้าใจ DNSSEC เสริมความปลอดภัยให้กับอินเทอร์เน็ต

ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System DNS) มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของอินเทอร์เน็ต โดยจะทำหน้าที่แปลงชื่อโดเมน เช่น www.abc.com ให้เป็น IP Address เช่น 122.950.34.138 ที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดย DNS นั้น เปรียบเหมือนสมุดโทรศัพท์ ในขณะที่ IP Address เปรียบเสมือนหมายเลขโทรศัพท์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า DNS จะเป็นระบบที่สำคัญและถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน แต่การรักษาความปลอดภัยของระบบก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงเป็นอันดับต้นๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซ

โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิ... จากภารกิจห้วงอวกาศสู่โรงงานอัจฉริยะ — โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ซีเมนส์ ประเทศไทย คอมพิวเตอร์, ระบบนำทาง GPS, โทรศัพท์มือถือ,...

สุขยิ่งขึ้น สนุกยิ่งขึ้น สุขใจยิ่งขึ้น ด้... "Splashing Together" ทรู ดีแทค รวมกัน… สงกรานต์สนุกขึ้นเยอะเลย" — สุขยิ่งขึ้น สนุกยิ่งขึ้น สุขใจยิ่งขึ้น ด้วยทีมเน็ตเวิร์กทรูพร้อม AI ที่ดูแลทุกความสนุก 2...

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิ... THNIC จับมือ SET และ ICANN จัดงาน UA Day 2025 ใช้โดเมนและอีเมลภาษาไทย ปูทางธุรกิจไทยก้าวสู่สากล — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมกับตลาดห...

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) ... ICANN เตรียมเปิดรับสมัคร New gTLDs รอบใหม่ในรอบ 13 ปี - THNIC จัดสัมมนาให้ข้อมูลเชิงลึก — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) จัดสัมมนาพิเศษให้ข้อมูล...

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคา... SME D Bank ลุยโครงการเติมความรู้บัญชีภาษี ปูทางพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำเพียง 3%ต่อปี — นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนา...

บทความโดย: สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประ... ก้าวสู่ 'ความปกติใหม่' ของการสร้างนวัตกรรมต่อเนื่องด้วยการใช้ AI เสริมการทำงานด้านต่าง ๆ — บทความโดย: สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท ปั...