อย.เผยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่กลุ่มอาหารควบคุมน้ำหนักหวั่นผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อโฆษณาหลอกขาย

กรุงเทพฯ--14 พ.ย.--อย. กระแสผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาอวดอ้างลดอ้วนมาแรง อย.เผยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่อาหารควบคุมน้ำหนัก แถมการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างลดอ้วนบางครั้งพบสารต้องห้ามประเภทอีเฟดรีนและเฟนฟลูรามีน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ผู้บริโภคถึงตายได้ เตือนก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้ศึกษาข้อมูลบนฉลากอย่างละเอียด อย่าหลงเชื่อผู้ขายอวดอ้างเกินจริง น.พ.สถาพร วงษ์เจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายรายที่โฆษณาเกินจริงว่าช่วยให้ผู้ใช้ลดน้ำหนักลงได้ ซึ่งมีผู้หลงเชื่อจำนวนไม่น้อยตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง และเนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักมีราคาแพง ผู้บริโภคจึงต้องเสียเงินจำนวนมากโดยไม่จำเป็นเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงขอแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่า โดยข้อเท็จจริงแล้วผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากอาหารหลักตามปกติ มีจุดมุ่งหมายสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติ ไม่ใช่สำหรับผู้ป่วย และยังไม่ใช่อาหารควบคุมน้ำหนักด้วย แต่ในปัจจุบันพบว่ามีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายรายกล่าวอ้างในทำนองลดหรือควบคุมน้ำหนัก เช่น ใยอาหาร สารสกัดจากผลส้มแขก สารสกัดจากเปลือกสัตว์ทะเล สารสกัดจากชาเขียว ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดอกคำฝอย คอลลาเจน ไฮโดรไลเซด เป็นต้น โดยใช้ชื่ออาหารทางการค้าต่างๆ กัน จากการตรวจวิเคราะห์พบว่าบางครั้งมีการนำสารต้องห้ามผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น เพื่อให้เกิดผลในการลดน้ำหนักแต่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายมาก ดังตัวอย่างที่พบเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการตรวจพบสารอีเฟดรีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งสารอีเฟดรีนจัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการกลัว กระวนกระวายและหายใจเร็วขึ้น เกิดความดันเลือดสูง หัวใจเต้นเสียจังหวะ อาจทำให้หัวใจวาย และอาจถึงแก่ชีวิตในรายที่มีร่ายกายไม่แข็งแรง จากรายงานทางวิชาการของสำนักงานอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) ที่ได้เฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารอีฟีดราเป็นส่วนผสม โดยได้ติดตามวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้อาหารนี้กว่า 1.6 หมื่นคน พบกรณีน่าสงสัยว่าจะเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค โดยพบการเสียชีวิต 2 ราย หัวใจวาย 4 ราย เส้นโลหิตในสมองแตก 9 ราย มีอาการชัก 1 ราย และมีอาการทางโรคประสาท 5 ราย รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังมีกรณีการพบส่วนผสมของสารเฟนฟลูรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างลดความอ้วน ซึ่งสารนี้เป้นสารที่ อย. เพิกถอนทะเบียนตำรับยาไปแล้ว เนื่องจากพบว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจ กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เบื่ออาหารและยังทำให้เกิดอาการข้างเคียง ใจสั่น นอนไม่หลับอีกด้วย รวมทั้งยังมีกรณีของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาว่ามีส่วนผสมจากธรรมชาติ หรือผสมสมุนไพรจากต่างประเทศ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มักคิดว่าสารหรือสมุนไพรจากธรรมชาติเป็นสิ่งดี ปลอดภัยต่อสุขภาพ แต่โดยความจริงแล้วยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือที่สามารถยืนยันถึงประสิทธิผลได้อย่างแน่ชัด และยังไม่อาจทราบถึงปริมาณการใช้ที่แน่นอน จึงอาจเกิดโทษกับร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้น อย.จึงขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่าหลงเชื่อเพียงคำโฆษณาอวดอ้างเกินจริงของผู้ขาย แต่ควรอ่านข้อมูลที่ปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้วซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช้กลุ่มอาหารลดหรือควบคุมน้ำหนัก จึงไม่อาจหวังผลในการลดความอ้วนได้ สำหรับอาหารควบคุมน้ำหนัก เป้นอาหารอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องมาขอขึ้นทะเบียนกับ อย. โดยขณะนี้มีการขึ้นทะเบียนแล้วรวม 23 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้บริโภคจะสังเกตได้ว่าเป็นอาหารควบคุมน้ำหนักโดยการดูรายละเอียดบนฉลาก จะมีข้อความ "อาหารควบคุมหรือลดน้ำหนัก" ปรากฎอยู่ รวมทั้งมีข้อมูลสำคัญอื่นๆ เช่น เลขสารบบอาหาร ที่แสดงว่าผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย.แล้ว ชื่อ/ที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีนำเข้าต้องมี ชื่อ/ที่ตั้งของผู้นำเข้าด้วย วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อนเป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และอย่าหลงเชื่อผู้ขายที่โฆษณาแอบอ้างว่าสามารถช่วยรักษาหรือป้องกันโรคได้ รองเลขาธิการฯ น.พ.สถาพร วงษ์เจริญ กล่าวย้ำกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักในตอนท้ายว่า วิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการลดน้ำหนัก คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่ควรหวังพึ่งยาหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ เพราะอาจได้ผลในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเลิกกินก็กลับมาอ้วนใหม่ และอาจอ้วนมากกว่าเดิมด้วย ที่ร้ายที่สุด คือ การไปรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตราย อาจทำให้ได้โรคเพิ่มหรือถึงแก่ชีวิตได้--จบ-- -วอ/นห-

ข่าวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร+สถาพร วงษ์เจริญวันนี้

กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาผลไม้ที่ขนาดไม่ได้มาตรฐานหรือมีลักษณะที่ไม่สวยงามที่จะนำมาขายได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรต้องขายผลไม้เหล่านี้ในราคาที่ถูกลง หรือนำไปทำอาหารสัตว์ ทำปุ๋ย หรือปล่อยทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยย่อยสลายเป็นขยะอาหาร ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทน ซึ่งมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เล็ง

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด หรือ MEDICPHARM... MEDICPHARMA ขยายการผลิตสินค้าสุขภาพและความงามครบวงจร — บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด หรือ MEDICPHARMA ผู้ผลิตสินค้าเวชภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำ...