โซโฟสรายงาน "10 อันดับไวรัสอินเตอร์เน็ตและไวรัสหลอก ในเดือนกันยายน 2546" Gibe-F ขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง

กรุงเทพฯ--1 ต.ค.--โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) โซโฟส (Sophos) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก 10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนกันยายน 2546 ไว้ดังนี้ 1. W32/Gibe-F (Gibe variant) 23.5% เข้ามาใหม่ 2. W32/Dumaru-A (Dumaru virus) 18.1% 3. W32/Mimail-A (Mimail worm) 15.0% 4. W32/Sobig-F (Sobig variant) 5.6% 5. W32/Nachi-A (Nachi worm) 5.5% 6. W32/Sobig-A (Sobig worm) 4.4% 7. W32/Bugbear-B (Bugbear variant) 2.9% 8. W32/Klez-H (Klez variant) 2.7% ครองอันดับในชาร์ตนานถึง 20 เดือน 9. W32/Blaster-A (Blaster worm) 2.7% 10. W32/Parite-B (Parite variant) 1.3% อื่นๆ 18.3% มร. ชาลส์ คัสซิ่นส์ ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทโซโฟส แอนตี้-ไวรัส กล่าวว่า "จากการคุกคามของไวรัสดังๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เริ่มตระหนักถึงความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่สำหรับไวรัส Gibe-F ซึ่งเป็นม้ามืดขึ้นแท่นอันดับหนึ่งประจำเดือนนี้ มีกลอุบายหลอกล่อโดยใช้ความกลัวของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอาวุธสำคัญในการแพร่กระจายไวรัสตัวนี้" มร. คัสซิ่นส์ กล่าวเสริมว่า "Gibe-F ได้ใช้วิธีแฝงตัวเป็นอีเมล์จากฝ่ายสนับสนุนของไมโครซอฟท์ ส่งไฟล์เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องในโปรแกรม หรือ แพ็ชส์ (Patches) ดังนั้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายพึงระวังไว้เสมอว่าไมโครซอฟท์ไม่เคย และจะไม่ส่งอีเมล์ในลักษณะนี้ให้แก่ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ทั้งสิ้น" "ความจริงที่เห็นได้ชัดเจน และน่าเป็นห่วงมาก เกี่ยวกับไวรัส 4 ตัวที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในเดือนนี้ แต่ยังคงติดอยู่ในชาร์ตประจำเดือนนี้ ถึงแม้ทางสื่อมวลชนจะนำเสนอข่าวเกี่ยวกับไวรัสเหล่านี้ไปแล้วอย่างมากมายก็ตาม แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ยังคงเพิกเฉยที่จะอัพเดทจุดบกพร่องในโปรแกรมของไมโครซอฟท์ หรือไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยต่อการคุกคามของไวรัสเหล่านี้แต่อย่างไร" มร.ชาลส์ กล่าวเสริม โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ตรวจพบไวรัส เวิร์ม และโทรจัน ฮอร์สใหม่ๆ รวมถึง 715 ตัวในเดือนกันยายนนี้ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 84,992 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้ สำหรับไวรัสหลอก 10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนกันยายน 2546 มีดังนี้ 1. Hotmail Hoax 21.5% 2. WTC Survivor 14.9% 3. JDBGMGR 10.4% 4. Meninas da Playboy 8.0% 5. Bonsai Kitten 3.7% 6. Budweiser frogs screensaver 3.6% 7. A virtual card for you 3.3% 8. Frog in a blender/Fish in a bowl 3.0% 9. Bill Gates Fortune 2.9% 10. The missing dollar 2.2% เข้ามาใหม่ อื่นๆ 26.5% "ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยที่เห็นไวรัสหลอกในหัวข้อเหตุการณ์วิกฤตของวันที่ 11 กันยายน ชื่อ 'WTC Survivor' ไต่อันดับขึ้นชาร์ตในเดือนนี้ ในขณะที่เดือนที่แล้วทางโซโฟสได้รับการสอบถามจากลูกค้าเข้ามาเพียงแค่ 7.9% เท่านั้น" มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ กล่าว "ไวรัสหลอกที่เกี่ยวโยงกับเหตุการณ์เฉพาะนั้น มักจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภายใน 2 ปีข้างหน้านี้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายคงจะเข้าใจเป็นอย่างดีว่ามันเป็นเพียงแค่ไวรัสหลอก" โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซต์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอกล่าสุด รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ http://www.sophos.com/virusinfo/infofeed/ ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่www.sophos.com/safecomputing ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos: โซโฟส เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัสระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ สินค้าของโซโฟส ได้ถูกจำหน่ายไปยังที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้โซโฟส แอนตี้-ไวรัสยังเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรใหญ่ ๆ อาทิ ธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลอีกด้วย ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ หรือคุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณบุณฑรา วรมงคลชัย ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore โทร.0-2260-5820 โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8 Tel: +65 429 0060 Email: [email protected] Email: [email protected] Web Site: www.sophos.com--จบ-- -รก-

ข่าวอินเทอร์เน็ต+คอมพิวเตอร์วันนี้

ทำความเข้าใจ DNSSEC เสริมความปลอดภัยให้กับอินเทอร์เน็ต

ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System DNS) มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของอินเทอร์เน็ต โดยจะทำหน้าที่แปลงชื่อโดเมน เช่น www.abc.com ให้เป็น IP Address เช่น 122.950.34.138 ที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดย DNS นั้น เปรียบเหมือนสมุดโทรศัพท์ ในขณะที่ IP Address เปรียบเสมือนหมายเลขโทรศัพท์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า DNS จะเป็นระบบที่สำคัญและถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน แต่การรักษาความปลอดภัยของระบบก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงเป็นอันดับต้นๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซ

โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิ... จากภารกิจห้วงอวกาศสู่โรงงานอัจฉริยะ — โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ซีเมนส์ ประเทศไทย คอมพิวเตอร์, ระบบนำทาง GPS, โทรศัพท์มือถือ,...

สุขยิ่งขึ้น สนุกยิ่งขึ้น สุขใจยิ่งขึ้น ด้... "Splashing Together" ทรู ดีแทค รวมกัน… สงกรานต์สนุกขึ้นเยอะเลย" — สุขยิ่งขึ้น สนุกยิ่งขึ้น สุขใจยิ่งขึ้น ด้วยทีมเน็ตเวิร์กทรูพร้อม AI ที่ดูแลทุกความสนุก 2...

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิ... THNIC จับมือ SET และ ICANN จัดงาน UA Day 2025 ใช้โดเมนและอีเมลภาษาไทย ปูทางธุรกิจไทยก้าวสู่สากล — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมกับตลาดห...

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) ... ICANN เตรียมเปิดรับสมัคร New gTLDs รอบใหม่ในรอบ 13 ปี - THNIC จัดสัมมนาให้ข้อมูลเชิงลึก — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) จัดสัมมนาพิเศษให้ข้อมูล...

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคา... SME D Bank ลุยโครงการเติมความรู้บัญชีภาษี ปูทางพาเอสเอ็มอีถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำเพียง 3%ต่อปี — นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนา...

บทความโดย: สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประ... ก้าวสู่ 'ความปกติใหม่' ของการสร้างนวัตกรรมต่อเนื่องด้วยการใช้ AI เสริมการทำงานด้านต่าง ๆ — บทความโดย: สุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทย เร้ดแฮท ปั...