สกว.หนุนต่อ ปั้นยุววิจัยยางพารา เตรียมโชว์ผลงานต้นปีหน้า

กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--สกว. สกว.เลือก 14 แนวคิดงานวิจัยยางพารา หนุนต่อให้ทุนทำวิจัยจริงพร้อมส่งผู้เชี่ยวชาญประกบเป็นพี่เลี้ยงใกล้ชิด จัดอบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างยุววิจัยยางพาราคุณภาพ ที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราในอนาคต ทึ่งบางโครงการขอแค่ 70 บาทเป็นทุนวิจัย ส่วนใหญ่เป็นเด็กในพื้นที่ภาคใต้ ลูกชาวสวนยางแท้ ๆ ส่งแนวคิดหลากหลายจากประสบการณ์ปัญหาการทำสวนยางพาราที่แตกต่าง ตั้งแต่ใกล้ตัว ปัญหาการประกอบอาชีพ ปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวทางการพัฒนาการทำยางพาราในอนาคต และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างทางเลือกรายได้ให้กับชาวสวนยาง คาดต้นปี 47 ได้เห็นผลงานแน่ รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สกว. เปิดเผยว่า ในการประกวด"ยุววิจัยยางพารา" ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง สกว.จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมในภาคใต้ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพหรือเกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพารา ได้ส่งแนวคิดการวิจัยเกี่ยวกับยางพาราเข้ามาประกวดชิงทุนสนับสนุนการวิจัย ปรากฎว่ามีนักเรียนส่งแนวคิดการวิจัยยางพารามาถึง 46 โครงการ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโครงการที่แสดงให้เห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในการทำยางพาราในรูปแบบและขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การเพาะปลูกการดูแลรักษาต้นยาง การรีดน้ำยาง การรักษาคุณภาพน้ำยาง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำยางพารา เป็นต้น ซึ่งโครงการที่ส่งเข้ามาใช้ทุนในการทำตั้งแต่ ไม่ถึงร้อยบาทจนถึงหลายหมื่นบาท บางโครงการขอมาแค่ 40 บาท หรือ 70 บาท โดยบอกว่าวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่เขาสามารถหาได้จากในชุมชน หรือการหยิบยืมญาติพี่น้อง มีเพียงอุปกรณ์บางส่วนที่ต้องซื้อในราคาที่ขอมา เป็นต้น ผลการคัดเลือกได้ 14 โครงการที่ได้รับรางวัล คือ รางวัลที่ 1 โครงการ การจำลองระบบท่อลำเลียงสารต้นยางพารา ของนายศุภโชค หฤหรรษาพงศ์ รร.จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.ตรัง ซึ่งนายศุภโชค กล่าวว่ามีแนวคิดมาจากการที่ที่บ้านมีกิจการสวนยางและเห็นว่าทุกวันคนงานจะต้องตื่นแต่เช้าออกไปกรีดยาง หากสามารถทำให้น้ำยางออกสม่ำเสมอในปริมาณที่ต้องการก็จะช่วยได้มากช่วยลดแรงงานในการกรีดยาง และจะได้สะดวกมากขึ้น รางวัลที่ 2 ประกอบด้วย 1)โครงการการยับยั้งการแข็งตัวของน้ำยางโดยใช้สารจากธรรมชาติ โรงเรียนเขาชัยสน จ.พัทลุง 2) โครงการเร่งการงอกยางตาเขียวของยางพารา โรงเรียนตะโหมด จ.พัทลุง รางวัลที่ 3 ประกอบด้วย 1)โครงการกาวกำจัดจุดอ่อนในบ้านเรือน โรงเรียนสตูลวิทยา จ.สตูล 2)โครงกาน้ำมันขัดรองเท้าจากลูกยางพารา โรงเรียนประชาบำรุง จ.พัทลุงรางวัลชมเชย ประกอบด้วย 1)โครงการเปรียบเทียบคุณภาพยางพาราโดยใช้น้ำผลไม้ โรงเรียนอัตตัรกียอิสลามียะห์ จ.นราธิวาส 2)โครงการเปรียบเทียบการแข็งตัวของน้ำยางโดยใช้ใบพืชชนิดต่าง ๆ โรงเรียนควนกาหลงวิทยา "นิคมวัฒนา" จ.สตูล 3)โครงการศักยภาพของน้ำเปลือกเงาะต่อการจับตัวและคุณสมบัติของเนื้อยาง โรงเรียนตะโหมด จ.พัทลุง 4)โครงการผลิตยางพาราให้มีสีเหลืองโดยใช้สารสกัดจากธรรมชาติ โรงเรียนเขาชัยสน จ.พัทลุง และ 5)โครงการทำยางพาราให้ได้เกรด A โรงเรียนเขาชัยสน จ.พัทลุง นอกจากนี้ยังมีโครงการที่สกว.พิจารณาให้ทุนวิจัย ได้แก่ 1) โครงการเปรียบเทียบระหว่างระบบกรีดยางพารากับเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง โรงเรียนเทพพิทยาภานุมาส จ.สงขลา 2)โครงการยืดระยะเวลาการรักษาสภาพน้ำยาง โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช 3)โครงการปุ๋ยชีวภาพจากโรงรีดยาง โรงเรียนเขาชัยสน จ.พัทลุง และ4)โครงการการขจัดกลิ่นเหม็นในน้ำทิ้งจากโรงรีดยางโดยใช้วัสดุท้องถิ่น โรงเรียนเขาชัยสน จ.พัทลุง รศ.ดร.สุธีระ กล่าวว่า โครงการที่ส่งมาสามารถแยกได้เป็น 5 ประเภท คือ 1) ประเภทวิจัยแท้ ๆ 2)ประเภทนวัตกรรมบวกสิ่งประดิษฐ์ เช่น การทำน้ำมันขัดรองเท้าจากลูกยาง 3) ประเภทการหาความรู้ใหม่ 4)ประเภทการทดลอง และ5)การประกอบอาชีพ เช่น การทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพารา ทั้งจากน้ำยางและเศษเหลือทิ้งเช่น ขี้เลื่อย เป็นต้น รศ.ดร.สุธีระ ตั้งข้อสังเกตุว่าจากลักษณะโครงการที่ส่งมาส่วนใหญ่จะเป็นการวิจัยในลักษณะทดลองและสังเกตุการณ์ โดยใช้ตาดู ใช้มือสัมผัส และใช้จมูกดมกลิ่น เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่แล้วยังขาดเครื่องมือเครื่องใช้ที่จะช่วยในการวิจัย และงานวิจัยส่วนใหญ่ก็สะท้อนมาจากประสบการณ์จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับเป็นข้อมูลสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนายางพาราของไทย โดยกระบวนการส่วนหนึ่งที่ สกว.ทำขึ้นนี้ก็เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ และเป็นนักวิจัยยางพาราที่เป็นลูกหลานของชาวสวนยางอย่างแท้จริง ซึ่งจะได้ช่วยกันสร้างความรู้ในการพัฒนาอาชีพการทำยางพาราให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น รศ.ดร.สุธีระ กล่าวว่า ขณะนี้สกว.ได้จัดการอบรมเชิงปฎิบัติการให้กับนักเรียนและครูที่ปรึกษาในการดำเนินงานวิจัย โดยมีนักวิชาการด้านยางพาราของสกว.เป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด ขณะนี้โครงการส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อเสนอโครงการและระเบียบวิธีวิจัย จะเริ่มดำเนินการได้ในเร็ว ๆ นี้ และคาดว่าการดำเนินการวิจัยจะแล้วเสร็จภายในต้นปีหน้า เราจะได้เห็นผลงานวิจัยของนักวิจัยรุ่นเยาว์เหล่านี้ อันจะเป็นแบบอย่างให้กับเด็กในกลุ่มอื่น ๆ และสกว.อาจทำโครงการในลักษณะนี้กับกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ต่อไป--จบ-- -รก-

ข่าวการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง+ผลิตภัณฑ์ยางวันนี้

กยท. จัดใหญ่ เปิดอบรมแปรรูปยางพาราฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้สนใจสมัครได้ถึง 16 ตุลาคม นี้

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมยาง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง 6 หลักสูตร รวม 260 คน โดยแบ่งประเภทการอบรม ได้แก่ น้ำยางข้นชนิดครีม 60 คน ยางแห้ง 40 คน ผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปจากน้ำยางด้วยวิธีจุ่ม 80 คน ผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปจากน้ำยางด้วยการตีฟอง 20 คน ผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปจากน้ำยางด้วยการตีฟองเพื่อผลิตหมอน 20 คน และผลิตภัณฑ์จากน้ำยางขึ้นรูปด้วยวิธีหล่อเบ้า 40 คน คุณสมบัติผู้สมัคร ต้องเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง

กยท. รับสมัครเกษตรกรชาวสวนยางเข้าอบรม “การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางแห้ง” ฟรี เน้น พัฒนาทักษะการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง สร้างทางเลือก-รายได้จากอาชีพเสริม

กยท. เปิดรับสมัครเกษตรกร – สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. เข้าร่วมอบรมหลักสูตร "การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางแห้ง" ระหว่างวันที่ 4 6 ก.ย. 62 โดยไม่...

สหกรณ์สวนยางภาคใต้ 3 แห่ง ได้รับใบรับรองม... สหกรณ์ชาวสวนยางภาคใต้ได้รับรองมาตรฐานมอก. เป็นใบเบิกทางพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา — สหกรณ์สวนยางภาคใต้ 3 แห่ง ได้รับใบรับรองมาตรฐานมอก. จากกระทรวงอุตส...

โครงการ Polymer Technology Summer Camp มี... Polymer Technology Summer Camp ปีที่ 16 เปิดรับสมัครแล้ว!!! — โครงการ Polymer Technology Summer Camp มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาการเรียนรู้และการฝึกประสบการณ...