เด็กไทยแสดงศักยภาพไอทีที่อเมริกา คว้า 3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง คอมพิวเตอร์โอลิมปิก

กรุงเทพ--25 ส.ค.--สสวท. นายพิศาล สร้อยธุหร่ำ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่าตามที่ สสวท.ได้ดำเนินการส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศประจำปี พ.ศ. 2546 โดยสาขาวิชาคอมพิวเตอร์แข่งขันระหว่างวันที่ 16-23 สิงหาคม 2546 ณ เมืองเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐมอเมริกา ผลการแข่งขันปรากฏว่าผู้แทนประเทศไทยสามารถคว้า 3 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง ประกอบด้วย นายณัฐวุติ แย้มพิกุลสกุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กทม. เหรียญเงิน นายปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กทม. เหรียญเงิน นายนวนล ธีระอัมพรพันธุ์ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จ.ภูเก็ต เหรียญเงิน นายพิชญตม์ จิรภิญโญ โรงเรียนสาธิต มศว.ปทุมวัน เหรียญทองแดง ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กทม. ประเทศไทยได้เริ่มส่งผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยคอมพิวเตอร์โอลิมปิกครั้งแรกเมื่อปี 2543 รางวัลที่ได้รับตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบันสามารถทำได้ถึง 3 เหรียญทอง 15 เหรียญเงิน 24 เหรียญทองแดง ผู้ที่ได้รับเหรียญทองคือนาย จิตรทัศน์ ฝักเจริญผล (ปี 2535) นายพินิจ อัศวานุชิต (ปี 2535) และ นายเพชร มโนหาญ (ปี 2542) การจะได้เหรียญรางวัลอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมที่ดี ความสามารถทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ การควบคุมความเครียดและสมาธิระหว่างการแข่งขัน ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในระหว่างการแข่งขันด้วย นายณัฐวุติ แย้มพิกุลสกุล โรงเรียนเตรียมอุดม กทม. กล่าวว่าก่อนตอบไม่ได้ตั้งความหวังกับรางวัลในการแข่งขัน แต่พยายามทำให้ดีที่สุด สาเหตุที่ชอบคอมพิวเตอร์ เพราะชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และยังชอบคณิตศาสตร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ด้วย โดยจะฝึกคิดพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หาโจทย์ทาง Internet ลองแก้ปัญหาดู ขณะที่ทางบ้านก็ส่งเสริมโดยปล่อยให้เรียนตามสบาย และหาความรู้ได้เอง นายปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก กทม. เล่าว่าชอบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เด็กเพราะชอบเล่นเกมจึงทำให้ชอบคอมพิวเตอร์ไปด้วย วิธีการเรียนให้ดีก็คือพยายามทำความเข้าใจทุกเรื่องที่อาจารย์สอนถ้าไม่เข้าใจต้องรีบอ่านเพิ่มเติมโดยเฉพาะเน้นเรื่องการทบทวนความรู้ นอกจากนี้ได้เล่น Internet หรือ Download ข้อมูลความรู้ต่างๆ ด้วย การเรียนคอมพิวเตอร์ให้เก่งต้องทดลองทำ ต้องสร้างสรรค์ เช่นถ้ามีโปรแกรมอะไรก็ให้ลองทำดูว่าทำแล้วมีผลอย่างไร อาจหาหนังสือมาประกอบเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง นายนวนล ธีระอัมพันธุ์ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย กล่าวว่าการเตรียมตัวก่อนไปแข่งขันนั้นได้พยายามหาโจทย์มาทำ แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มที่เข้าค่ายโอลิมปิกวิชาการด้วยกัน วิธีเรียนให้ดีก็คือตั้งใจเรียนให้เต็มที่ ถ้ามีปัญหาก็ปรึกษาเพื่อนหรืออาจารย์ ในการสอบแข่งขันก็มีความหวั่นใจบ้างเป็นธรรมดาแต่ก็พยายามทำให้ดีที่สุด และแม้ตนเองเป็นนักเรียนต่างจังหวัดแต่ก็ไม่เห็นว่าการเรียนการสอนด้อยไปกว่าเพื่อนนักเรียนในกรุงเทพฯเลย คิดว่าอยู่ที่ความตั้งใจของแต่ละคนมากกว่า นายพิชญตม์ จิระภิญโญ โรงเรียนสาธิต มศว. ปทุมวันปัจจุบันอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กทม. กล่าวว่าการเข้าร่วมโครงการโอลิมปิกวิชาการทำให้ได้ความรู้ไม่สามารถหาได้ในโรงเรียนทั่วไป เช่น วิธีการแก้โจทย์ต่างๆซึ่งถ้าเป็นในโรงเรียนก็เรียนเพียงวิธีคิดโปรแกรมคร่าวๆเท่านั้น เทคนิคในการเรียนก็คือ พยายามทำความเข้าใจในบทเรียนให้ได้ สำหรับตัวเองนั้นไม่ชอบวิชาท่องจำเลยแต่ก็พยายามทำความเข้าใจและจำให้นานมากที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์เป็นวิชาที่กึ่งท่อง กึ่งคิด สาเหตุที่ชอบเรียนคอมพิวเตอร์เราะคอมพิวเตร์ให้ความสะดวกสะบาย เช่น ช่วยในเรื่องการพิมพ์ หรือในการหาข้อมูลจากเว๊บไซด์ได้สะดวกรวดเร็วต่างจากเมื่อก่อนที่ต้องหาข้อมูลจากห้องสมุดถ้าจะเรียนคอมพิวเตอร์ให้เก่ง ต้องศึกษาด้วยตนเองให้มากๆต้องกล้าลองกล้าทำไปเรื่อยๆดูว่าเป็นอย่างไรและต้องฝึกคิดด้วย พิชญตม์เล่าต่อไปว่าขณะนี้ได้จัดทำเว๊บไซด์ www.maedek.com เกี่ยวกับสุขภาพ เป็นระยะเวลา 4 ปีแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่ซึ่งเป็นแพทย์ช่วยเผยแพร่ความรู้ ถามตอบปัญหาเกี่ยวกับแม่และเด็ก โดยตัวเองปรับปรุงด้านโครงสร้าง ส่วนพ่อแม่สนับสนุนในด้านแหล่งข้อมูลต่างๆ เวลามีคนเขียนถามเข้ามา ก็ช่วยตอบปัญหา ทำให้เว๊บไซด์ทันสมัย รู้สึกภูมิใจมาก คณะผู้แทนประเทศไทยจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม 2546 เวลา 23.00 น. เที่ยวบินที่ TG 755 สสวท.จะมีพิธีต้อนรับคณะผู้แทนประเทศไทยด้งกล่าว ที่ชั้น 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า (อาคาร1) สนามบินดอนเมือง จึงขอเชิญสื่อมวลชนและประชาชนชาวไทยร่วมให้การต้อนรับคณะผู้แทนประเทศไทยคอมพิวเตอร์ดอลิมปิกตามกำหนดดังกล่าว--จบ-- -วม/นห-

ข่าวสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์วันนี้

นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และนักเรียนโรงเรียนกำเนิดวิทย์ คว้ารางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และรางวัลต่าง ๆ จากการนำเสนอโครงการในจัดการประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (International Conference of Young Scientists : ICYS) ครั้งที่ 31 หรือ ICYS 2025 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน ณ จังหวัดระยอง รศ.ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยเป็น

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโน... สวทช. - สพฐ. - สสวท. สถ. คิกออฟ สร้าง 'ครูแกนนำ' สู่ยุคดิจิทัล ปูทาง AI ในห้องเรียน ด้วย "LEAD Education" — ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... อ่านฟรีรับปีใหม่ นิตยสารสสวท.ออกแล้ว — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนอ่านฟรี นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 251 พบกับเนื้อหาน่าสนใจ "การ...

สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือ... เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 20 เริ่มแล้ว — สสวท. จับมือสถาบันเกอเธ่ และหน่วยงานเครือข่ายพาชมฟรีหนังวิทย์ชั้นดีนานาชาติ หัวข้อ "การป...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานมหกรรมหนังสือ... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เปิดตัว "เก่งสอบ" แพลตฟอร์มข้อสอบออนไลน์ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิ...

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู... เด็กไทยคว้า 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง คอมพิวเตอร์โอลิมปิกจากอียิปต์ — รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์แ...