เยาวชนวันนี้ เป็นฉันใด อนาคตชาติไทย ก็เป็นฉันนั้น

กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--สวช. ในปีพ.ศ. 2528 องค์การสหประชาชาติติได้ประกาศให้เป็นปีเยาวชนสากล และในปีเดียวกันนี้ คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติให้ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็น "วันเยาวชนแห่งชาติ" โดยถือว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ถึงสองพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งทั้งสองพระองค์ครองราชสมบัติขณะทรงพระเยาว์ องค์การสหประชาชาติได้ให้ความหมายสากลของคำว่า "เยาวชน" หมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว คือผู้มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเป็นวัยที่อยู่ในระหว่างศึกษาเล่าเรียน เป็นช่วงต่อวัยรุ่นที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต การที่เราให้ความสำคัญต่อเยาวชน จนได้กำหนดให้มีวันดังกล่าวขึ้น ก็ด้วยเห็นว่า คนในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังจะก้าวไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่อันจะเป็นพลังและมีบทบาทสำคัญต่อทุกองคาพยพของบ้านเมืองในภายภาคหน้า เยาวชนในวันนี้คืออนาคตของชาติ เป็นคำกล่าวที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ ดังนั้น หากเยาวชน ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไร มีคุณลักษณะแบบไหน ก็แน่นอนว่าในอนาคตเราก็จะมีผู้ใหญ่แบบนั้นๆ มาทำหน้าที่ต่างๆ ในสังคม ถ้าเรามีเยาวชนที่มีพื้นฐานดี เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ มีสติปัญญา มีคุณธรรมจริยธรรม เราก็หวังได้เลยว่าชาติบ้านเมืองเรา ก็จะมีผู้ใหญ่ที่ดี ที่พร้อมจะนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าต่อๆ ไปอย่างมั่นคง อย่างไรก็ดี การที่เยาวชนของชาติจะเป็นแบบใดในอนาคต นอกจากจะขึ้นกับตัวเยาวชนเองที่จะต้องพัฒนาตนเองตามวิถีแล้ว ยังขึ้นกับสัมคมปัจจุบันด้วยว่า ได้สร้างเบ้าหล่อหลอมพวกเขาให้เป็นคนแบบไหน ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ทุกคนที่จะช่วยกันส่งเสริม สนับสนุน และวางแนวทางในการพัฒนาเยาวชนให้ไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกที่ดี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม รวมไปถึงคุณสมบัติอื่นๆ ที่พึงประสงค์ด้วย มิฉะนั้นแล้ว เราคงโทษเด็กไม่ได้ ถ้าหากพวกเขาจะเติบโตเป็นคนที่ไร้คุณภาพ เพราะเราไม่ได้สร้างสิ่งแวดล้อมหรือสภาพที่ดีให้แก่พวกเขาในวันนี้ ปัจจุบัน ทั้งๆ ที่เราอยู่ในโลกแห่งเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความสะดวกสบายในชีวิตมากขึ้น มีแหล่งเรียนรู้มากมายหลากหลายรูปแบบที่จะให้เราได้ศึกษา ค้นคว้า เพื่อพัฒนาไปสู่คุณภาพช่วิตที่ดีกว่า แต่ปรากฎว่าเยาวชนของเรากลับตกเป็นเหยื่อของความเจริญทางวัตถุ โดยหลายสิ่งหลายอย่างมาจากตัวผู้ใหญ่เอง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอบายมุข ยาเสพติด ปัญหาศีลธรรมจริยธรรม ฯลฯ หากเรายังปล่อยให้สังคมเราเป็นเช่นนี้ต่อไป โดยไม่สร้างแบบอย่างหรือวางพื้นฐานให้ดีแล้ว สังคมในอนาคตคงจะกลายเป็นสังคมที่ไร้สุข มีแต่ความสับสน เคร่งเครียด และน่ากลัวกว่าทุกวันนี้มากนัก "วันเยาวชนแห่งชาติ" คงจะมิใช่แค่วันที่ผู้ใหญ่ประกาศให้เยาวชนได้ระลึกถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเท่านั้นแต่ยังหมายถึงการส่งเสริมให้เยาวชนซึ่งเป็นพลเมืองที่มีจำนวนไม่น้อยในประเทศ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน และพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทุกหน่วยในสังคมจะต้องร่วมกันหล่อหลอมเยาวชนของเราให้เป็นเยาวชนที่พึงประสงค์เพื่อสร้างสังคมที่พึงปรารถนาในอนาคตด้วย เช่น สถาบันครอบครัว ที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เยาวชน นอกจากจะให้ความรักและความอบอุ่นแล้ว ยังต้องสอนให้เยาวชนได้รู้จักทั้งสิทธิและหน้าที่ รู้จักการ "ให้" และการ "รับ" มีความรับผิดชอบ สอนให้เป็นคนเก่งและดีด้วย มิใช่เก่งอย่างเดียว สอนให้รู้จักหลักธรรมของศาสนา ฯลฯ อย่าปล่อยให้เป็นภาระของครู หรือโรงเรียนในการอบรมสั่งสอนลูกหลานของแต่ฝ่ายเดียว เพราะสถาบันครอบครัวแม้จะเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของเยาวชน เด็กที่มีครอบครัวอบอุ่น จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สถาบันการศึกษา เยาวชนจะอยู่ในสถานศึกษาเกือบหนึ่งในสี่ของชีวิต ดังนั้นสถานศึกษาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะหล่อหลอมให้เยาวชนของเราให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของสังคม ดังนั้น นอกจากจะสอนวิชาการแล้ว สถานศึกษายังต้องช่วยกันปลูกฝังเรื่องคุณธรรม จริยธรรมและหลักการดำเนินชีวิตที่ดีให้กับเยาวชนอีกด้วย โดยสอนให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม อีกทั้งสอนให้รู้จักรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ ฯลฯ เพื่อให้เยาวชนพร้อมที่จะไปสู่สังคมในอีกระดับ สถาบันทางศาสนา ต้องเป็นหลักยึดและเป็นที่พึ่งพิงทางใจของคนในสังคมได้ โดยเฉพาะเยาวชน ต้องสามารถสอนพวกเขาให้ปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา โดยไม่คิดว่าศาสนาเป็นเรื่องของคนแก่หรือผู้อาวุโสเท่านั้น เพราะหลักธรรมทางศาสนาเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมสงบสุข และปฏิบัติได้ทุกเพศ ทุกวัยตลอดเวลา เป็นภูมิคุ้มกันที่ดีของชีวิต แม้ปัจจุบันเราจะได้ยินสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เกิดขึ้นกับวงการศาสนาอยู่เสมอ แต่ศาสนามิได้เสื่อมลงไป คนต่างหากที่เสื่อมทรมานทางจิตใจ ดังนั้น สถาบันศาสนาควรมีมาตรการที่จะคัดคนดีมารับใช้ศาสนา และพยายามที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของโลกเสียเอง สื่อมวลชน ปัจจุบันการสื่อสารมวลชนไม่ว่าวิทยุ โทรทัศน์ นสพ. นิตยสาร รวมไปถึงเทคโนโลยีทางการสื่อสารต่างๆ มีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของเยาวชน เพราะทำให้เกิดกระแส การคล้อยตาม การชักจูงหรือการลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ ดังนั้น สื่อต่างๆจะต้องมีความรับผิดชอบ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ไม่เห็นแก่ธุรกิจหรือผลประโยชน์แต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีความสำนึกต่อส่วนรวม และมีส่วนร่วมในสร้างเยาวชนของชาติ ต้องทำหน้าที่ทั้งด้านบันเทิงและการให้ความรู้ที่ถูกต้อง ควรสื่อ "สาร" ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเยาวชนของเรา และอาจช่วยแนะ "ตัวอย่าง" ที่ดีแก่เยาวชนเพื่อให้เป็นแบบอย่างหรือให้กำลังใจ ชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นที่ที่เยาวชนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชมรม หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ฯลฯ ผู้ใหญ่ควรจะสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้เยาวชน เช่น เป็นชุมชนปลอดยาเสพติดและอบายสุข มีแหล่งการเรียนรู้ มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาของชุมชน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในท้องถิ่น มีลานกีฬาหรือสถานที่ที่เยาวชนจะไปสังสรรค์และอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อมิให้เยาวชนต้องตกเป็นเหยื่อสังคมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือนำมาซึ่งความเสียหายภายหลัง ข้อสำคัญผู้ใหญ่ในสังคมต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งเชื่อว่า หลายฝ่ายก็ได้พยายามทำหน้าที่อย่างดีอยู่แล้ว แต่การพัฒนาประเทศชาติให้ไปสู่ความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าต่อไปท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ที่โถมกระหน่ำและมาแรงเช่นนี้ เราจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกันเยาวชนของเราให้เข้มข้น โดยทุกฝ่ายจะต้องทำหน้าที่ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หากวันนี้ เราไม่สร้างแบบอย่างและแม่พิมพ์ที่ดีแก่เยาวชนของเราแล้ว อนาคตก็คงจะเป็นอดีตที่ไม่สามารถหวนมาสร้างใหม่ได้ และพวกเราเองคือผู้ที่ต้องทนทุกข์กับสภาพที่เราได้ทำในวันนี้นั่นเอง--จบ-- -สด/พห-

ข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว+พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววันนี้

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า"

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" แก่เยาวชน-ชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมกับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) จัดพิธีมอบรางวัล ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และรางวัลเกียรติคุณ โครงการลดเปลี่ยนโลก ปีที่ 2 ให้แก่ผู้ชนะ ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร

นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักง... รองฯ กาญจนา ร่วมเปิดงานมหกรรม จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน — นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมเปิด...

พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ประ... "เพิ่มพูน" ชี้กิจการลูกเสือช่วยพัฒนาคุณภาพเยาวชน — พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ กล่าวตอนหนึ่งในโอกาสเป็นปร...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยทั... ผนึกกำลัง 'กรมอนามัย-ภาคีเครือข่าย' สร้างสุขภาพช่องปากที่ดีให้ผู้สูงอายุ 'บ้านบางแค' — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสม...

นางสาวศตกมล วรกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื... เอ็ม บี เค รับโล่รางวัลสนับสนุนการประกวดวงโยธวาทิต กรมพลศึกษา — นางสาวศตกมล วรกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท อินเทลลิเจ้นท์ ครีเอทีฟ แอนด์ ...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปร... ในหลวง โปรดเกล้าฯ เป็นผู้แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตร — พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นผู้แ...