กรุงเทพฯ--4 มี.ค.--โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)
โซโฟส ( Sophos ) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำ10 อันดับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ไว้ดังนี้
1. W32/Klez-H (Klez variant)
13.7% ติด10 อันดับแรกนานถึง 13 เดือน
2. W32/Sobig-A (Sobig worm)
7.7%
3. W32/Avril-B (Avril variant)
6.0%
4. W32/Yaha-E (Yaha variant)
4.6%
5. W32/Bugbear-A (Bugbear worm)
4.3%
6. W32/Avril-A (Avril worm)
3.1%
7=.W32/Klez-E (Klez variant)
2.4%
7=.W32/Yaha-K (Yaha variant)
2.4%
9=.W32/Lovgate-B (Lovgate variant)
2.1% เพิ่งเข้ามาใหม่
9=.W95/Spaces (Spaces virus)
2.1%
อื่นๆ
51.6%
"เวิร์มตัวใหม่ที่ชื่อ เลิฟเกต (Lovgate) ถึงแม้จะเป็นไวรัสที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ไม่ใช่ไวรัสที่พบบ่อยที่สุด เพราะติดอยู่แค่อันดับที่ 9 ในชาร์ท แต่เวิร์มที่ครองอันดับ 1 ซึ่งถูกพบบ่อยที่สุดในเดือนนี้ได้แก่ เวิร์ม Klez-H ที่แฝงตัวมาในรูปแบบ และเป็นเวิร์มที่ครองตำแหน่งอยู่ในการจัดท้อปเท็นมานานที่สุดถึง 13 เดือน" มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทโซโฟส แอนตี้-ไวรัส กล่าว "เป็นที่แน่นอนว่าบริษัทต่างๆที่ติดไวรัส Klez นั้นเป็นพราะไม่มีการอัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ และเนื่องจากซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสในปัจจุบันสามารถอัพเดทแบบอัตโนมัติ ได้แทบทุกๆชั่วโมง ดังนั้นการไม่มีเวลาเพื่อทำการอัพเดทจึงไม่ใช่ข้ออ้างอีกต่อไป"
จากการสำรวจโดยโซโฟส เปิดเผยว่าเกือบครึ่งหนึ่งของธุรกิจแบบ SMEs (บริษัทที่มีพนักงานน้อยกว่า 250 คน) ทำการอัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสแค่หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์หรือบางกรณียังน้อยกว่านั้น สวนทางกับกรณีของบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งร้อยละ 29 ทำการอัพเดทซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัสในความถี่แบบนี้ การสำรวจดังกล่าว ได้มาจากการรวบรวมสถิติจากผู้ดูแลระบบ หรือ เน็ตเวิร์คแอดมิน กว่า 4,500 คน ของบริษัททุกๆ ขนาดรอบโลก
โซโฟสเชื่อว่า การขาดความเอาใจใส่ในด้านการอัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอยู่สม่ำเสมอ ทำให้ธุรกิจ SMEs ประสบต่อปัญหาความเสี่ยงต่อระบบเครือข่าย และข้อมูลสำคัญๆ ขององค์กร ซึ่งไม่สามารถปกป้องตนเองจากการคุกคามของไวัสตัวใหม่ๆ ได้
"การอัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสเพียงแค่หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ มันก็เหมือนการที่คุณแปลงฟันของคุณแค่สัปดาห์ละครั้ง มันป้องกันคุณได้เพียงเล็กน้อย และอาจเป็นต้นเหตุของปัญหาใหญ่ในอนาคตได้" มร.คัสซิ่นส์ กล่าว "ไวรัสใหม่ๆนับร้อยตัวถูกค้นพบในทุกๆเดือน และสามารถแพร่กระจายไปทั่วโลกในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นทุกๆบริษัทไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก สมควรที่ต้องทบทวนถึงนโยบายในด้านการป้องกันไวรัสไม่ว่าจะเป็นความถี่ในการอัพเดทให้เพียงพอที่จะปกป้ององค์กรให้พ้นจากการคุกคามของไวรัสตัวใหม่ๆ ได้"
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นถึงเพียงร้อยละ 46 ของธุรกิจ SMEs ได้ทำการติดตั้งระบบป้องกันไวรัสที่เกทเวย์ ซึ่งเป็นหนทางการต่อสู้กับไวรัสและเวิร์มที่แพร่ผ่านอีเมล เปรียบเทียบกับองค์กรใหญ่ๆ ที่ใช้ระบบการป้องกันดังกล่าว สูงถึงร้อยละ 70
โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ค้นพบไวรัส เวิร์ม และโทรจัน ฮอร์สใหม่ๆ ถึง 541 ตัวในเดือนกุมภาพันธ์ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 80,079 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้
โซโฟสได้จัดอันดับ10 อันดับไวรัสหลอกประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ไว้ดังต่อไปนี้
1. JDBGMGR
21.9% ติดอันดับ 1 นานถึง10 เดือน
2. WTC Survivor
14.5%
3. Meninas da Playboy
7.1%
4. Bonsai kitten
7.0%
5. Budweiser frogs screensaver 6.0%
6. Hotmail hoax
5.2%
7. Applebees Gift Certificate 3.9%
8. A virtual card for you
3.2%
9. Bill Gates fortune
2.9%
10. ATM Theft
1.8% เพิ่งเข้ามาใหม่
อื่นๆ
26.6%
"ไม่ว่าสปาเกตตี้ที่เติบโตบนต้นไม้ หรือปมไขปัญหาที่อยู่บนปกอัลบั้ม Abbey Road ของเดอะบีทเทิ่ล ไม่มีไวรัสหลอกตัวใดสามารถแทนที่ ไวรัสหลอก JDBGMR ได้ ในด้านการเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในอีเมลหลอก" มร.คัสซิ่นส์ กล่าว "ทั้งไวรัสหลอก JDBGMR และไวรัส Klez ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกันในด้านการสร้างความปวดหัว และสับสนให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เองก็มีส่วนสำคัญที่สามารถรลดการแพร่กระจายของไวรัสหลอกเหล่านี้ โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือเมื่อคุณได้รับอีเมลแบบนี้ ลบมันไปทิ้งไปจากคอมพิวเตอร์ของคุณ อย่าส่งต่อเป็นอันขาด" คลูลี่ย์กล่าวเสริม
โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซด์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ทันต่อเหตุการณ์อย่างสม่ำเสมอ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ http://www.sophos.com/virusinfo/infofeed/
ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten
ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/safecomputing
ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:
โซโฟส เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัสระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ สินค้าของโซโฟส ได้ถูกจำหน่ายไปยังที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้โซโฟส แอนตี้-ไวรัสยังเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรใหญ่ ๆ อาทิ ธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลอีกด้วย
ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com
สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์
หรือ
คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณธัชพล โภคาชัยพัฒน์
ผู้อำนวยการบริหาร
บริษัท โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore
โทร.0-2260-5820 โทร
สาร.0-2260-5847
ถึง 8
Tel: +65 429 0060
Email: [email protected]
Email: [email protected]
Web Site: www.sophos.com-- จบ--
-ศน-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit