โซโฟสรายงาน “10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ตและไวรัสหลอก ในเดือนมกราคม 2546”

04 Feb 2003

กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)

โซโฟส ( Sophos ) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำ10 อันดับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนมกราคม 2546 ไว้ดังนี้

1. W32/Avril-B (Avril variant) 16.8% เข้ามาใหม่

2. W32/Avril-A (Avril worm)

12.4% เข้ามาใหม่

3. W32/Klez-H (Klez variant)

12.1% ติด 10 อันดับแรก เป็นเดือนที่ 12

4. W32/Sobig-A (Sobig worm)

6.1% เข้ามาใหม่

5. W32/Yaha-K (Yaha variant)

5.7% เข้ามาใหม่

6. W32/Bugbear-A (Bugbear worm) 5.6%

7. W32/Yaha-E (Yaha variant)

3.3%

8. W32/ElKern-C (Elkern)

2.1%

9. W95/Spaces (Spaces virus)

1.5%

10.W32/Flcss (Funlove)

1.2%

อื่นๆ

33.2%

เวิร์ม อาวีล ถูกพบครั้งแรกในช่วงต้นเดือนมกราคม และถูกขึ้นบัญชีไว้สูงถึงร้อยละ 30 ของคำถามทั้งหมดที่โซโฟสได้รับจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยติดชาร์ต 10 อันดับแรกถึง 2 ตัว รวมทั้งเวิร์มที่เข้ามาใหม่ที่ชื่อ Yaha-K และ Sobig

“สิ้นปี 2545 มีไวรัสไม่กี่ตัวที่ยังคงอยู่ในชาร์ตไวรัส และปี 2546 ก็เริ่มต้นด้วยข่าวคนเขียนไวรัส ชื่อ ไซมอน วาลเลอร์ ซึ่งปัจจุบันถูกตัดสินจำคุกนานถึง 2 ปี” เกรแฮม คลูลี่ย์ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเทคโนโลยีของ โซโฟส แอนตี้-ไวรัสกล่าว

“และในเดือนนี้ เราได้พบกับการเข้ามาใหม่ของเวิร์ม สแลมเมอร์ (Slammer worm) ที่จู่โจมจุดอ่อนแอของซอฟต์แวร์ที่ถูกค้นพบมาเป็นเวลานานถึงครึ่งปีแล้ว มันตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์พึงปฏิบัติอยู่สม่ำเสมอ นั่นก็คือการอัพเดทโปรแกรมเสริมเพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง หรือช่องโหว่ในซอฟต์แวร์” คัลลีย์กล่าวเพิ่ม

โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ค้นพบไวรัส เวิร์ม และโทรจัน ฮอร์สใหม่ๆ ถึง 521 ตัวในเดือนมกราคม รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 79,538 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้

โซโฟสได้จัดอันดับ10 อันดับไวรัสหลอกประจำเดือนมกราคม 2546 ไว้ดังต่อไปนี้

1. JDBGMGR

19.7% ติดอันดับ 1 เป็นเดือนที่ 9

2. WTC Survivor

12.2%

3. Budweiser frogs screensaver 8.1%

4. Meninas da Playboy

7.8%

5. Bonsai kitten

5.8%

6. Hotmail hoax

4.5%

7. Applebees Gift Certificate 3.7%

8. A virtual card for you

3.0%

9. Bill Gates fortune

2.5%

10. Elf Bowling

2.1%

อื่นๆ

30.5%

“ไวรัสหลอก JDBGMR ยังคงเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในอีเมลหลอก และเราทุกคนมีส่วนสำคัญที่สามารถรลดการแพร่กระจายของไวรัสหลอกเหล่านี้ โดยวิธีที่ง่ายที่สุดเมื่อคุณได้รับอีเมลแบบนี้ ลบมันไปทิ้งไปจากคอมพิวเตอร์ของคุณ” คลูลี่ย์กล่าวเสริม

โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซด์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ทันต่อเหตุการณ์อย่างสม่ำเสมอ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ http://www.sophos.com/virusinfo/infofeed/

ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่

www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten

ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/safecomputing

ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:

โซโฟส เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัสระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ สินค้าของโซโฟส ได้ถูกจำหน่ายไปยังที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้โซโฟส แอนตี้-ไวรัสยังเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรใหญ่ ๆ อาทิ ธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลอีกด้วย

ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com

สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์

หรือ คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณธัชพล โภคาชัยพัฒน์

ผู้อำนวยการบริหาร

บริษัท โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore โทร.0-2260-5820 โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8

Tel: +65 429 0060

Email: [email protected]

Email: [email protected]

Web Site: www.sophos.com-- จบ--

-ศน-