โรลส์รอยซ์พร้อมเดินเครื่องเทรนท์ 900 เต็มรูปแบบครั้งแรกเดือนหน้า

25 Feb 2003

กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--เอ็มดีเค คอนซัลแทนส์ (ประเทศไทย)

โรลส์รอยซ์จำลองสถานการณ์ทดสอบเครื่องยนต์ในโครงการพัฒนาเทรนท์ 900 วัดอัตราการปล่อยไอเสียต่ำ ความทนทานของคมใบพัดแบบใหม่และระบบความจุของใบพัด ผลทดสอบผ่านฉลุยทุกขั้นตอน ก่อนลองเครื่องยนต์เต็มรูปแบบครั้งแรกมีนาคมนี้

เอียน คินเนียร์ ผู้อำนวยการโครงการแอร์บัสของโรลส์รอยซ์กล่าวว่า "การทดสอบเหล่านี้ทำให้โรลส์รอยซ์สามารถประเมินผลการทำงานของเครื่องยนต์จริงเทียบกับการทำนายของคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับที่คาดหมายไว้มาก เป้าหมายเดิมของการทดสอบขั้นนี้คือการขจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยการทดสอบระบบและส่วนประกอบเฉพาะส่วน เรามุ่งมั่นที่จะสานต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาเทรนท์500 สำหรับแอร์บัส เอ340-500 และ เอ340-600 ที่พิสูจน์แล้วว่าราบรื่น ที่สุดเท่าที่โรลส์รอยซ์เคยคิดค้นมา"

การสาธิตเทคโนโลยีวัสดุห่อหุ้มน้ำหนักเบาซึ่งได้รับการพัฒนาร่วมกับกูดริช แอร์โรสตรักเจอร์ สำเร็จลุล่วงอย่างดีด้วยการใช้ปีกหมุนของเทรนท์ 500 ปัจจุบันมีการส่งวัสดุห่อหุ้มนี้เพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการพัฒนาเครื่องยนต์เทรนท์ด้วย

เทรนท์ 900 เป็นเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินแอร์บัสซูเปอร์จัมโบ้ เอ380 ซึ่งจะเริ่มออกประจำการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549 เป็นต้นไป เครื่องยนต์รุ่นนี้มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือ ใบพัดรูปโค้งแบบใหม่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 116 นิ้ว พร้อมประสิทธิภาพแอร์โรไดนามิกที่มากขึ้นและเพิ่มความต้านทานการทำลายจากวัตถุแปลกปลอม ณ เมืองเดอร์บี มีการทดสอบความทนทาน โดยกำหนดให้ใบพัดเดี่ยวหมุนตามแนวนอน ปรากฏว่าตัวอย่างใบพัดรุ่นแรกสามารถต้านทานการจู่โจมของกลุ่มนกจำลองซึ่งมีแรงปะทะขนาด 2.5, 5.5 และ 8 ปอนด์ได้อย่างดี นอกจากนี้ เครื่องยนต์เทรนท์ประสบความสำเร็จในการทดสอบการเผาไหม้ ซึ่งประกอบด้วยการวัดระดับไอเสียและการปรับเพดานบิน (altitude relights) โดยอัตราการเผาไหม้ตรงตามความคาดหมาย ทั้งนี้จะมีการนำเครื่องยนต์เทรนท์ 900 จำนวน 7 เครื่องมาใช้ตลอดระยะเวลาการพัฒนา โครงการ ทั้งในส่วนของการทดสอบภาคพื้นดินและโครงการทดสอบบิน

เทรนท์ 900 ได้รับการพัฒนาเป็นพิเศษสำหรับเครื่องบินแอร์บัส รุ่นเอ380 ขนาดบรรทุกผู้โดยสารมากกว่า 550 คน มีกำลังขับเคลื่อนตั้งแต่ 70,000 ถึง 76,500 ปอนด์ ใช้สำหรับเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินขนส่งสินค้า เครื่องยนต์เทรนท์ 900 สมาชิกรายล่าสุดของตระกูลเทรนท์คือผู้นำตลาดเครื่องบินรุ่นเอ380 โดยมีสัดส่วนหุ้นร้อยละ 57 และมีใบสั่งซื้ออะไหล่สำหรับเครื่องบิน 74 ลำ ลูกค้ารายแรกของเทรนท์ 900 คือ สิงคโปร์แอร์ไลน์ นอกจากนี้ สายการบินอีกหลายแห่งได้เลือก ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นนี้ด้วย อาทิ ลุฟท์ฮันซ่า แควนตัส เวอร์จิ้น แอตแลนติก และบริษัทการเงินเพื่อการเช่าระหว่างประเทศ (International Lease Finance Corporation)

นอกจากการทดสอบข้างต้นแล้ว ระหว่างนี้ยังมีการทดสอบหน่วยควบคุมเครื่องยนต์อิเล็กทรอนิกส์ชุดแรก (Electric Engine Control Units-EECs) ที่โรลส์รอยซ์ ก่อนที่เฮมิลตัน ซันส์สแตรนด์จะส่งมอบและกำหนดรายละเอียดหน่วยควบคุม ทั้งนี้มีการติดตามการรวมซอฟแวร์เพื่อให้สอดคล้องกับการติดตั้งเครื่องยนต์เต็มรูปแบบครั้งแรกซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงาน

เฮมิลตัน ซันส์แตรนด์เป็นหนึ่งในพันธมิตรผู้สร้างสรรค์เทรนท์ 900 ซึ่งร่วมแบ่งผลประโยชน์และความเสี่ยงกับเฟียตเอวิโอ กูดริช ฮันนี่เวลล์ มารูเบนิ และวอลโว่ กลุ่มพันธมิตรนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการร่วมระหว่างอิชิคาวาจิมา ฮาริมา เฮฟวี่ อินดัสตรี้ส์ (Ishikawajima Harima Heavy Industries-IHI) ของญี่ปุ่นและซัมซุง เทควินของเกาหลี

ข้อมูลสำหรับกองบรรณาธิการ

โรลส์รอยซ์เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ซึ่งมีการเติบโตทางธุรกิจอย่างแข็งแกร่งในตลาดอุตสาหกรรม 4 ประเภท

ได้แก่ การบินพาณิชย์ การบินทหาร การเดินเรือ และการพลังงาน มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีและสมรรถนะซึ่งนำไปใช้ประโยชน์และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพโดดเด่นสำหรับธุรกิจแต่ละประเภท ความสำเร็จของผลิตภัณฑ์เหล่านี้วัดได้จากส่วนแบ่งการตลาดของโรลส์รอยซ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมั่นคงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันโรลส์รอยซ์มีเครื่องยนต์ ก๊าซเทอร์ไบน์ให้บริการอยู่กว่า 54,000 เครื่องทั่วโลก ทั้งนี้การลงทุนด้านผลิตภัณฑ์ สมรรถนะ และโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้โรลส์รอยซ์สามารถคงตำแหน่งผู้นำในตลาดเครื่องยนต์เหนือคู่แข่งรายอื่น

โรลส์รอยซ์มีลูกค้าหลายกลุ่ม ได้แก่ ลูกค้าสายการบินกว่า 500 แห่ง บริษัทให้เช่าเครื่องบินสำหรับองค์กรและผู้ประกอบการสาธารณูปโภคอีก 4,000 ราย กองทัพนานาชาติ 160 แห่ง ผู้ประกอบการเดินเรือพาณิชย์ 2,000 ราย และ กองทัพเรืออีกกว่า 50 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทยังมีลูกค้ากลุ่มพลังงานในเกือบ 120 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันโรลส์รอยซ์มีพนักงานกว่า 40,000 คนประจำการอยู่ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงทีมงานกว่า 25,000 คน ในสหราชอาณาจักร พนักงาน 5,000 คนในยุโรป และอีกกว่า 8,000 คนในอเมริกาเหนือ

เครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ที่ใช้ประจำการอยู่ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดความต้องการบริการหลังการขายที่แน่นอน ทั้งในส่วนของการจัดหาอะไหล่สำรองและบริการอื่นๆ ดังนั้นบริษัทจึงดำเนิน

กลยุทธ์พัฒนาประสิทธิภาพของบริการครบวงจร เพื่อเพิ่มรายได้ในส่วนของบริการหลังขาย

โรลส์รอยซ์มีรายได้รวมต่อปีประมาณ 6 พันล้านยูโร หรือประมาณ 255 พันล้านบาท โดยร้อยละ 40 ของรายได้ ทั้งหมดมาจากธุรกิจบริการหลังการขาย ทั้งนี้ยอดสั่งซื้อเครื่องยนต์มูลค่าสูงกว่า 19 พันล้านบาทหรือประมาณ 806.3 พันล้านบาท ผนวกกับความต้องการบริการหลังการขายแสดงให้เห็นแนวทางธุรกิจของโรลส์รอยซ์ในอนาคต--จบ--

-ศน-

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit